เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด

Read More

ใช้สำหรับเตรียมสารละลาย 1000 ลิตร

สูตรที่ 1 ผักสลัด

A กรัม
แคลเซียมไนเตรท 656
เหล็กคีเลท 40
B
โปแตสเชียมไนเตรท 606
แมกนีเซียมซัลเฟต 490
แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 115
แมงกานีสคลอไรด์ 1.81
กรดบอริก 2.86
ซิงค์ซัลเฟต 0.22
คอบเปอร์ซัลเฟต 0.05
โมลิบดินัม 0.02

Read More



สูตรปุ๋ยไฮโดรโพนิคส์เมล่อนเพื่อการค้า ปลูกในระบบวัสดุปลูก (substrate culture) 

วิธีการผสมปุ๋ยครั้งเดียวใช้ได้ตอลดทั้ง 4 ระยะการเจริญเติบโต 

Read More

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หมายถึง วิธีการปลูกพืชเพื่อให้พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารจากทางรากพืช โดยที่สารละลายธาตุอาหาร จะประกอบไปด้วยน้ำผสมกับธาตุอาหารที่พืชต้องการ  สามารถจำแนกการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้ 2 ระบบหรือวิธีการปลูก คือ

1. ซับสเตรทคัลเจอร์ (Substrate Culture) เป็นการปลูกพืชลงบนวัสดุปลูกชนิดต่างๆที่ไม่ใช่ดินซึ่งวัสดุที่ใช้ปลูกแทนดินมีหลายชนิด เช่น วัสดุปลูกเป็น “อนินทรียสาร” และ “อินทรียสาร” โดยพืชสามารถเจริญเติบโตบนวัสดุปลูกจากการได้รับสารละลายธาตุอาหาร ที่มีน้ำผสมกับธาตุอาหารที่พืชต้องการทางรากพืช

2. ไฮโดรโพนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกพืชที่ไม่ใช้วัสดุปลูก โดยที่จะปลูกพืชให้รากพืชสัมผัสลงบนสารละลายธาตุอาหารพืชโดยตรง

ขั้นตอนและวิธีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน

Read More

EC TDS ความสัมพันธ์

ค่า EC และ TDS สัมพันธ์กันอย่างไร

ค่า ความนำไฟฟ้า (EC) และ ค่าทีดีเอส (TDS) มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างมาก แต่มันไม่ใช่ค่าเดียวกัน  Total Dissolved Solids (TDS) และ Electrical Conductivity (EC) แตกต่างกันคือ TDS คือค่าผลรวมของของแข็งทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ ส่วนค่า EC คือ ความสามารถในการนำไฟฟ้า ในที่นี้ คือ ความสามารถของน้ำในการนำไฟฟ้า

วิธีสำหรับการวัดค่า TDS คือ การทำให้น้ำระเหยออกแล้วชั่งน้ำหนักสิ่งที่เหลือหลังจากการระเหย เราจะเห็นสิ่งที่แห้งติดอยู่บนกระจกหลังน้ำระเหย นั่นคือค่า TDS ซึ่งสามารถชั่งน้ำหนัก เพื่อคำนวนค่าออกมา แต่วิธีการนี้ไม่ง่ายหากไม่ได้ทำในห้องปฎิบัติการณ์

Read More

“น้ำอ่อน” เป็นน้ำที่มีค่า EC ต่ำกว่า 0.2 ลงไปน้ำที่จัดอยู่ ในกลุ่มน้ำอ่อนมี ดังนี้
1.น้ำฝนมีค่า EC ประมาณ 0.1
1.1 น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วไหลเป็นน้ำตกมีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2
1.2 น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วซึมลงใต้ดินหรือบาดาล ซึ่งเรียก ว่า “น้ำบาดาล” ที่เราดูดขึ้นมาใช้มีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2
1.3 น้ำฝนที่เรารองเก็บไว้ตามบ่อเก็บน้ำมีค่า EC ประมาณ 0.1-0.2

Read More

ค่า pH (Potential of Hydrogen ion)

ค่า pH  ในความหมายของการปลูกพืชไร้ดิน คือค่าความเป็นกรด-เบส ของสารละลาย (น้ำผสมธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกพืช)  โดยค่า pH จะมีช่วงการวัดอยู่ที่ 1 – 14  โดยจะนับค่าที่ 7 เป็นกลาง กล่าวคือ หากวัดค่าได้ต่ำกว่า 7 แสดงว่าของเหลวนั้นเป็นกรด หากวัดได้สูงกว่า 7 ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบส

สำหรับการปลูกพืชด้วยน้ำนั้นค่า pH มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำปฎิกิริยาทางเคมีกับธาตุอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช โดยธรรมชาติน้ำที่มีความเป็นกรดจะทำให้ธาตุอาหารพืชละลายตัวได้ดี และพืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้อย่างสะดวก  แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้ผสมธาตุอาหารพืชมีความเป็นเบสสูงจะทำให้ธาตุอาหารพืชตกตะกอนจนพืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้งานได้

ดังนั้น การปรับค่า pH ผู้ปลูกจะต้องปรับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอายุการปลูกและชนิดของพืชนั้นๆ ด้วย โดยปกติค่า pH ที่ใช้ในการปลูกพืชจะมีค่าอยู่ในช่วง 5.5 – 7.0 แต่ค่าที่ดีที่สุดต่อการละลายตัวของธาตุอาหารพืชจะอยู่ที่ 5.8 – 6.3
การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์นั้นจะมีการกำหนดค่า pH ของการปลูกพืชเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (ระยะเจริญเติบโต)              อยู่ในช่วงวันที่   1 – 28      กำหนดค่า pH อยู่ที่ 5.8 – 6.5
ระยะที่ 2 (ระยะสร้างผลผลิต)            อยู่ในช่วงวันที่ 29 ขึ้นไป    กำหนดค่า pH อยู่ที่ 6.5 – 7.0

Read More