7 ขั้นตอนการทำสเปรย์แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรค 

  1. เทเอทิลแอลกอฮอล์ 95% ลงภาชนะ ปริมาณ 85 มิลลิลิตร
  2. เติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% ปริมาณ 5 มิลลิลิตร ตามลงไป
  3. เติมกลีเซอรีน 98% ปริมาณ 3 มิลลิลิตร ตามลงไป
  4. เติมน้ำมันหอมระเหย / สารแต่งกลิ่น 2-3 หยด
  5. เติมน้ำกลั่นหรือน้ำ RO ลงไปให้ครบ 100 มิลลิลิตร พอดี
  6. คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  7. บรรจุใส่ขวดสเปรย์

Read More

สูตรที่ 1

  • แอลกอฮอล์ 70% 60 มิลลิลิตร
  • กลีเซอรีน 2.5 มิลลิลิตร

นำแอลกอฮอล์ 70% 60 มิลลิลิตร ผสมกับ กลีเซอรีน 2.5 มิลลิลิตร พร้อมเขย่าเบา ๆ สลับไปมาจนส่วนผสมเข้ากันดี จากนั้นเทใส่ขวดสเปรย์แบบพกพา การใช้กลีเซอรีนมาผสมด้วย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับมือ ไม่ให้คะคายเคืองหรือแห้งเกินไปเพราะไม่ควรใช้แอลกอฮอล์อย่างเดียวสำหรับฉีดบนมือ

Read More

แอลกอฮอล์ เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ (antimicrobial agent) โดยสามารถฆ่า (microbicide) หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโต (microbiostasis) ของเชื้อได้ แอลกอฮอล์มีสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย (disinfectant) และไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสิ่งของต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ

 

Read More

สูตรเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำเองได้ 4 สูตร ดังนี้

สูตร 1 ดัดแปลงจากองค์การอนามัยโลก วิธีทำ นำเอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol 95% v/v) 833.3 มิลลิลิตร ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide 3%) 41.7 มิลลิลิตร และกลีเซอรีน (Glycerin 98%) 14.5 มิลลิลิตรผสมให้เข้ากันในภาชนะที่มีปริมาตรบอกขนาด 1000 มิลลิลิตร แล้วเติมน้ำกลั่นหรือน้ำต้มสุกที่ทิ้งให้เย็นแล้ว จนครบ 1000 มิลลิลิตร คนเบา ๆ ให้เข้ากัน

สูตรที่ 2 จากองค์การอนามัยโลก วิธีทำ นำไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol 75% v/v) 751.5 มิลลิลิตร ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide 3%) 41.7 มิลลิลิตร และกลีเซอรีน (Glycerin 98%) 14.5 มิลลิลิตร ผสมให้เข้ากันในภาชนะที่มีปริมาตรบอกขนาด 1000 มิลลิลิตร แล้วเติมน้ำกลั่นหรือน้ำต้มสุกที่ทิ้งให้เย็นแล้ว จนครบ 1000 มิลลิลิตร คนเบา ๆ ให้เข้ากัน

Read More

เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของโอโซนอย่างเต็มที่ คุณจำเป็นต้องแยกเรื่องจริงออกจากเรื่องแต่ง โอโซนสามารถเป็นได้ทั้งสิ่งดีและสิ่งไม่ดีขึ้นอยู่กับว่าอยู่ที่ไหนในชั้นบรรยากาศของเรา เช่นเดียวกับที่ผลิตภัณฑ์บางอย่างสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงได้โดยขึ้นกับว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเพิ่มโอโซนที่ระดับพื้นดินซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพให้อากาศภายในอาคารของคุณหรือไม่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องของ Blueair และการทดสอบโอโซน ‘ 

โอโซนคืออะไรและทำไมจึงมีความสำคัญ

โอโซน (O3) เป็นรูปแบบที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่ายของออกซิเจน แก๊สสีฟ้าอ่อนที่เป็นพิษ ซึ่งมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่แหลมคล้ายคลึงกับคลอรีนและมีคุณสมบัติในทำให้การเกิดปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจนที่รุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติหรือถูกมนุษย์สร้างขึ้น

เมื่อพูดถึงการทำความเข้าใจผลกระทบด้านบวกหรือด้านลบของโอโซน คำโปรยของ EPA (สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ) ที่ว่า “ดีเมื่ออยู่สูง แย่เมื่ออยู่ใกล้” เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี นั่นเพราะว่าขึ้นอยูกับว่าอยู่ที่ไหนในชั้นบรรยากาศ โอโซนสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตบนพื้นโลกได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี

Read More

N 70 สารปริศนา

N70 มาจาก Texapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate เป็นสารประเภท สารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดได้ดีทำให้เกิดฟองได้เร็ว

Sodium Lauryl Ether Sulfate(SLES) ถ้าเรียกตาม INCI Name ก็ Sodium laureth sulfate ครับ เป็นสารคนละตัวกับ Sodium Lauryl Sulfate (SLS)นะ สังเกตง่ายๆ ตรงที่มี E ซึ่งหมายถึงผ่านการ Ethoxylation โดยนำสารตั้งต้น คือ SLS มาทำปฎิกิริยากับ ethylene oxide ภายใต้แรงดัน และความร้อนสูง + catalyst ผลที่ได้คือ ได้ surfactant ที่ระคายเคืองน้อยกว่า SLS จึงเอามาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายได้ดีกว่า ในขณะที่ SLS ที่มีความสามารถในการชะล้างไขมันสูงปรี๊ด จึงเอาไปใช้ในผลิตภัณฑ์ซักล้างซะมากกว่า แต่ก็ไม่ทั้งหมดทีเดียว เพราะเห็นกล่องยาสีฟันในบ้านเราก็ยังมีใช้ SLS อยู่นะ

สำหรับส่วนประกอบของ N-70 ของ cognis ก็มี SLES เป็น active ingredient ประมาณ 70% (ถึงเรียก N-70 ไง) ส่วนอีก 30 % ที่เหลือ ก็จะเป็นน้ำ กับ Impurities อื่นๆ เช่น Sodium Chloride (NaCl), Sodium Sulfate (Na2SO4) เป็นต้น

Read More

น้ำยาล้างจาน หมายถึง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ทำความสะอาดจาน ชาม รวมถึงภาชนะอื่นๆที่ใช้ในครัวเรือนเพื่อช่วยกำจัดคราบไขมัน และเศษอาหารให้ออกได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น ยังใช้เพื่อทำความสะอาดในด้านอื่นๆ เช่น ใช้ทำความสะอาดภาชนะต่างๆ ใช้ทำความสะอาดมือเท้า เป็นต้น

ชนิดของน้ำยาล้างจาน
1. น้ำยาล้างจานจากพืช เป็นน้ำยาล้างจานที่ผลิตได้จากส่วนผสมของพืชเป็นหลัก เช่น น้ำมะกรูด น้ำมะนาว เป็นต้น มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตในภาคครัวเรือนเพื่อใช้เองหรือผลิตเพื่อการจำหน่ายขนาดเล็กเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
2. น้ำยาล้างจานจากสารเคมี เป็นน้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของสารเคมีเป็นหลัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตมากในภาคอุตสาหกรรม
3. น้ำยาล้างจานจากสารเคมี และจากพืช เป็นน้ำยาล้างจานที่มีส่วนผสมของสารเคมี และสารสกัดจากพืชเป็นหลัก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิต และใช้มากในปัจจุบัน ทั้งในภาคอุตสาหกรรม และครัวเรือน

Read More

น้ำยาล้างจาน  เป็นการประยุกต์ใช้ที่สำคัญอย่างหนึ่งของสารลดแรงตึงผิว โดยมัน ทำหน้าที่ ในการ ขจัดสิ่งสกปรก จากพื้นผิว   เช่น ถ้วยชาม เฟอร์นิเจอร์ พื้นบ้าน ห้องน้ำ ฯลฯ การทำความสะอาดถ้วยชาม หรือเครื่องครัวนั้น ต้องการกำจัด คราบอาหารออกไป ส่วนการทำความาสะอาดพื้นผิว อื่นๆ นั้น ก็ต้องการกำจัด สิ่งสกปรก ชนิดตแตกต่างกันไป เช่น คราบฝุ่น บนพื้นบ้าน คราบน้ำมัน บนเตา หรือ คราบสบู่ หรือหินปูนตามพื้นห้องน้ำ ดังนั้น เราต้อง มีน้ำยาทำความสะอาด หลายๆ รูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับคราบสกปรก และพื้นผิว เช่น น้ำยาถูพื้น น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาล้างห้องน้ำ ฯลฯ

น้ำยาล้างจาน นั้น เป็นน้ำยาทำความสะอาดประเภทหนึ่ง ที่ประสิทธิภาพในการทำงานนั้น จะต้องอาศัยความสามารถของ สารลดแรงตึงผิว เป็นส่วนสำคัญ สารเหล่านี้ ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำใหน้ำ้สามารถแทรกซึมเข้าไปใน พิ้นที่ระหว่างจานกับสิ่งสกปรก (คราบอาหาร คราบน้ำมัน) และขจัดคราบพวกนี้ออกมาจากจานได้ การขจัดคราบอาหาร เพียง อย่าง เดียวอาจไม่เพียงพอ ที่จะให้ผลอย่างน่าพอใจ ในการทำความสะอาดจาน เราต้องทำให้ คราบน้ำมันที่ ูที่ถูกชะออกไป ไมสามารถคืนกลับมาติดจาน ได้อีก เมื่อเรายกจานขึ้นจากน้ำ  ในกรณีสารลดแรงตีงผิว จะทำหน้าที่ละลาย น้ำมัน ให้ คงตัวอยู่ในน้ำ และไม่ให้มันกลับมาติดจานอีก นอกจากนี้ ถ้วยชามที่ล้างแล้ว ต้องใสสะอาดไม่มีคราบใดๆ หลงเหลือเมื่อแห้งแล้ว

Read More

สูตรการหาจํานวนสมาชิกของเซต เมื่อ A , B และ C เปนสับเซตของ U ( เอกภพสัมพัทธ ) คือ
1. n(A − B) + n(A∩ B) = n(A)
2. n(B − A) + n(A∩ B) = n(B)
3. n(A∪ B) = n(A − B) + n(A∩ B) + n(B − A)
4. n(U) = n(A) + n(A’)
5. n(A∪B) = n(A) + n(B) – n(A∩B)
6. n(A−B) = n(A) – n(A∩B)
7. n(A′) = n(U) – n(A)
8. n(A∪B∪C) = n(A) + n(B) + n(C) – n(A∩B) – n(A∩C) – n(B∩C) + n(A∩B∩C)