การพ่นสารเคมีเกษตรไม่ว่าจะเป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช เช่น สารฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช สารฆ่าไร เชื้อไวรัส เอ็น พี วี (NPV) เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรากำจัดแมลง ปุ๋ย และฮอร์โมนพืช ล้วนมีเป้าหมายที่ต้นพืช แมลงศัตรูพืช เชื้อราสาเหตุโรคพืช ที่อาศัยอยู่บนส่วนต่างๆ ของพืช หรือภายในต้นพืช ขณะเดียวกันผิวของใบและต้นพืชซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนที่สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะตกกระทบโดยตรงจะมีไขปกคลุมอยู่ซึ่งมากหรือน้อยจะขึ้นกับชนิดของพืช แม้แต่ผนังลำตัวของแมลงก็แบ่งเป็นชั้นๆ และมีคุณสมบัติมีไขมันเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น องค์ประกอบที่เป็นไขมันนี้จะไม่ละลายน้ำ หรือมีคุณสมบัติเป็น hydrophobic ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตมักจะทำรูปแบบของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีส่วนผสมของตัวพาหะ (carriers)หรือส่วนที่ไม่ใช่สารออกฤทธิ์ (inert ingredient) ที่จะนำพาสารออกฤทธิ์ (Active ingredient) ให้เข้าถึงเป้าหมายคือ ผนังลำตัวของแมลง หรือเซลล์ เนื้อเยื่อของพืช ซึ่งตัวนำพาจะต้องมีความสามารถในการแทรกซึมให้ถึงจุดเป้าหมาย( site of action) ในกรณีของสารฆ่าแมลงที่ออกฤทธิ์แบบถูกตัวตายส่วนมากก็คือให้สารออกฤทธิ์เข้าถึงระบบประสาทของแมลง โดยที่บริษัทผู้ผลิตมักผสมสารนำพาแตกต่างกันไปตามสูตร (formulations) เช่น สารอีมัลซิไฟเออร์ (emulsifiers), สารแพร่หรือแผ่กระจาย (dispersing agents, spreaders) เป็นต้น อย่างไรก็ตามสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดหลังจากการพ่นสารไปแล้วมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการคือ

Read More

การปลูกพืชในปัจจุบันเกษตรกรมักจะหวังผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในการเพาะปลูกพืช จำเป็นจะต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้นอกจากจะให้ได้ผลิตในปริมาณและคุณภาพตามที่ต้องการของตลาดแล้ว ยังจะต้องมีต้นทันในการผลิตที่ต่ำลงด้วยเพื่อที่เกษตรกร จะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นได้ด้วย ในการเพาะปลูกพืชปัจจุบันเกษตรกร นิยมใช้วิธีการให้น้ำพืชสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการให้น้ำ ทำให้ประหยัดแรงงาน ประหยัดน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้น้ำเป็นการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลิต ข้อดีของระบบให้น้ำอีกอันหนึ่งก็คือเราสามารถประยุกต์ใช้วิธีการให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำพืชได้ ซึ่งนอกจากจะประหยัดเวลา ลดแรงงานในการใส่ปุ๋ยแล้ววิธีการให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืชยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชด้วย นั่นคือพืชทุกต้นจะได้รับปุ๋ยในปริมาณที่ใกล้เคียงกันเกือบทุกต้น ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน

Read More