สารเคมีชนิดผงกับสารจับใบ

สารเคมีชนิดผงเป็นสารเคมีที่เราใช้อยู่เป็นประจำสำหรับสวนมะนาวยกตัวอย่างเช่น คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ ที่ใช้ในการป้องกันโรคแคงเกอร์ สารเคมีแบบนี้จะอยู่ในรูปไมโครไนซ์ ซึ่งมีอนุภาคเป็นผลึกและมีขนาดเล็กมากๆประมาณ 2-4 ไมครอน แต่สารเคมีแบบนี้ย่อมมีน้ำหนักในตัวเอง และสามารถยึดเกาะกับใบของมะนาวได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่มีเกษตรกรหลายท่านยังเข้าใจผิดและใช้สารจับใบเป็นตัวผสมเพื่อจะให้ตัวยายึดเกาะกับใบหรือต้นของมะนาว หากสังเกตดีๆแล้วจะพบว่า เมื่อใช้สารจับใบผสมตัวอยาชนิดผงจะพบว่าใบของมะนาวเปียกทั่วถึงดีมากเนื่องจากสารจับใบจะช่วยลดแรงตึงผิวลง ทำให้สามารถน้ำและสารเคมีจะกระจายตัวไปเปียกบนใบและส่วนต่างของมะนาวอย่างทั่วถึง แต่ตัวสารเคมีชนิดผงนั้นจะเป็นอนุภาคที่มีน้ำหนัก ดังนั้นจึงย่อมหนีไม่พ้นหลักการของแรงโน้มถ่วงคือ เฉพาะตัวสารเคมีร้อยละ 80 จะไหลไปกองรวมอยู่บริเวณส่วนที่ต่ำกว่าเสมอ จึงทำให้ตัวสารเคมีนั้นไม่ยึดเกาะแบบกระจายทั่วถึงแต่จะไปกองรวมกันอยู่ในส่วนที่ต่ำกว่า ลองให้เกษตกรที่ใช้สารเคมีที่เป็นชนิดผงสังเกตดูได้ หากฉีดพ่นโดยไม่ใช้สารจับใบจะพบว่าในส่วนของใบหรือลำต้นของมะนาวนั้นจะมีตัวอยากระจายติดอยู่สม่ำเสมอ สารจับใบจะใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงจะสามารถใช้กับสารเคมีที่เป็นน้ำ เช่นอะบาแม๊กติน เป็นต้น เนื่องจากสารเคมีน้ำจะสามารถทำละลายกับน้ำได้เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อฉีดพ่นแล้วจะเปียกทั่วถึง

ดังนั้นสารจับใบควรเลือกใช้กับสารเคมีในรูปแบบและชนิดที่เหมาะสมเท่านั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงมา การใช้สารจับใบควรใช้ในบริมาณที่กำหนดตามฉลาก อย่าใช้มากเกินไปเนื่องจากอาจทำให้ใบมะนาวอ่อนๆเกิดอาการแพ้ได้และทำให้ใบใหม้หรือหงิกงอได้