ข้อควรระวังกับสารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 3

ไนโตรเฟน

(nitrofen)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  diphenyl  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอกในธัญพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  ประมาณ  3,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ธัญพืช  ข้าว  ผัก  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 8%  จี  และ  25%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้  คือ  ผักกาดหอม  มะเขือเทศ  ผักโขม  มะเขือ  และพริกไทย

– เป็นพิษต่อปลา

– ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

อ๊อกซาไดอะโซน

(oxadiazon)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  oxadiazon  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ดูดซึมเข้าไปในลำต้นได้โดยส่วนต่าง ๆ  ของพืชที่อยู่เหนือพื้นดิน  ออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อมีแสงแดด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  8,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  8,000  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้                    ผักแว่น  ผักปอดนา  แพงพวยน้ำ  ขาเขียด  หญ้านกสีชมพู  หญ้าตีนติด  หญ้าตีนกา  หญ้าโขย่ง  กกขนาก  กกทราย  วัชพืชใบแคบและวัชพืชใบกว้างล้มลุกอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าว  ถั่วเหลือง  กะหล่ำปลี  กระเทียม  หอมและมะเขือเทศ

สูตรผสม                                 25%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  สำหรับกำจัดวัชพืชในนาข้าว  ใช้อัตรา  320-640  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20-60  ลิตร/ไร่  ฉีดพ่นลงในนาข้าวให้ทั่วแปลง  สำหรับพืชอื่น ๆ  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

อาการเกิดพิษ                          ถ้าเข้าตา  จมูกหรือผิวหนัง  จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง  ถ้าเข้าปากอาจจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน

การแก้พิษ                               ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือ  1%  ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปและผู้ป่วยมีสติดีอยู่ ห้ามทำให้อาเจียน  ใช้น้ำล้างปากมาก ๆ  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  เพื่อทำการล้างท้อง  แล้วรักษาตามอาการ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ

ข้อควรรู้                                  – กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ

– มีความคงตัวในดินปานกลาง  จึงสามารถควบคุมวัชพืชได้ตลอดฤดูปลูก

– ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  เมื่อใช้กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก

 

อ๊อกซี่ฟลูออร์เฟน

(oxyfluorfen)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  diphenyl  ether : trifluoromethyl  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อถูกแสงแดด  ดูดซึมผ่านทางใบหรือทางหน่อได้มากกว่าทางราก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  10,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    หญ้าตีนติด  หญ้าตีนนก  หญ้าตีนกา  หญ้าปากควาย  หญ้าไม้กวาด หญ้าเขมร  ไมยราบ  วัชพืชใบแคบและใบกว้างล้มลุกอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   หอม  หอมใหญ่  กระเทียม  พืชตระกูลถั่ว  ข้าวไร่  พืชตระกูลกะหล่ำ พริก  ยาสูบ  มะเขือเทศ  ขิง  มันสำปะหลังและอ้อย

สูตรผสม                                 23.5%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  โดยทั่วไปใช้อัตรา  40-80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นคลุมดินที่เตรียมไว้เพื่อปลูก  ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษจะมีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง  ตา  ทางเดินหายใจ คลื่นไส้  วิงเวียน  และอาเจียน

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ  ครั้ง  ถ้าเข้าปากห้ามทำให้คนไข้อาเจียน  ควรนำคนไข้ส่งแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ

– เมื่อวัชพืชสัมผัสถูกกับสารกำจัดวัชพืชนี้ในระหว่างการงอกจะถูกฆ่าตาย

 

โอรีซาลิน

(oryzalin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  dinitroanilide  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  10,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบและใบกว้างประเภทล้มลุก

พืชที่ใช้                                   ถั่วเหลือง  ถั่วลันเตา  ฝ้าย  มันฝรั่งและพื้นที่ ๆ  ไม่ได้ทำการเพาะปลูก

สูตรผสม                                 70%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– อย่าใช้กับดินที่มีอินทรียวัตถุสูงกว่า  5%

– ให้ใช้เพียงหนึ่งครั้งต่อหนึ่งฤดูปลูก

– อย่าปลูกพืชหัวในพื้นที่ที่ใช้สารนี้ภายในระยะเวลา  12  เดือน หลังจากใช้

 

พาราคว๊อท

(paraquat)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  bipyridium  ประเภทไม่เจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  มีคุณสมบัติเป็นตัวดูดน้ำและหมดฤทธิ์อย่างรวดเร็วเมื่อถูกกับดิน

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  150  มก./กก.  ทางผิวหนัง  236  มก./กก.  จะตายเมื่อกลืนกินเข้าไป

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชทุกชนิด  โดยเฉพาะจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดส่วนที่มีสีเขียวของพืช

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชตามไร่มันสำปะหลัง  อ้อย  ข้าวโพด  สวนผลไม้ กล้วย  ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  ตามคันนา  บริเวณโรงงาน  ริมทางรถไฟและคันคูคลอง

สูตรผสม                                 27.6%  แอล

อัตราใช้และวิธีใช้                  โดยทั่วไปใช้อัตรา  60-80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืชโดยตรงควรใช้ในขณะที่มีแสงแดดซึ่งจะช่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

อาการเกิดพิษ                          พิษจากการสูดดมจะมีอาการแน่นหน้าอกและในช่องท้อง  คลื่นไส้ อาเจียน  อ่อนเพลีย  วิงเวียน  หายใจขัด  ปอดบวมและอาจตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว  ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอักเสบ  ถ้าวัตถุมีพิษเข้มข้นมาก ๆ  อาจทำให้เล็บหลุด  ถ้าเข้าตา  แก้วตาจะหลุดออกมาทำให้เกิดอาการรุนแรงตามมา  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ภายในปากจะระคายเคืองตลอดถึงลำคอ  ทางเดินอาหารอักเสบและแสบร้อนคลื่นไส้ อาเจียน  ท้องปั่นป่วน  ไม่สบายและท้องเสีย  เหงื่อออกมาก  ประสาทส่วนกลางได้รับผลกระทบกระเทือน  มีอาการกระสับกระส่าย  ระบบหายใจล้มเหลว  เซลตับและไตถูกทำลายและตายในที่สุด

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ควรรีบทำให้อาเจียนทันทีด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – จะหมดฤทธิ์ทันทีเมื่อถูกกับดิน  ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง

– มีพิษต่อปลาน้อย

 

พีบูเลท

(pebulate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  thiocarbamate  ประเภทเจาะจงพืช  ใช้กำจัดวัชพืชก่อนปลูกหรือภายหลังงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  921-1,900  มก./กก.  ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  4,640  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างและวัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   มะเขือเทศ  ยาสูบ

สูตรผสม                                 อยู่ในรูปน้ำมันผสมน้ำ  (อีซี)  และ  10%  จี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก

ข้อควรรู้                                  – เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความใกล้เคียงกับอีพีทีซี

– ให้ผลในการกำจัดหญ้าเป็นส่วนใหญ่

– วัชพืชใบกว้างจะถูกฆ่า  ถ้าสภาพการใช้เหมาะสมแก่การงอกของเมล็ด

– ไม่มีฤทธิ์ในทางสัมผัส  ฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ  6-8  สัปดาห์

 

เพ็นดิเม็ทธาลิน

(pendimethalin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  dinitroanilide  ประเภทเจาะจงพืช  ใช้ก่อนปลูกเพื่อกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกหรือเริ่มงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,250  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  5,000  มก./กก.  (กระต่าย)  (Techn.)

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว  ถั่วลันเตา  ถั่วเขียว  มันฝรั่ง  และพืชอื่น ๆ  อีกหลายชนิด

สูตรผสม                                 31.7%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยใช้ก่อนปลูกหรือก่อนวัชพืชงอก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ถ้ากลืนกินเข้าไปห้ามทำให้อาเจียน  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ข้าวโพดจะเป็นอันตรายถ้าใช้แบบก่อนปลูก

– อาจผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้

 

ฟีโนไธโอล

(phenothiol)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  phenoxy  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  790  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้าง

พืชที่ใช้                                   ข้าวและธัญพืช

สูตรผสม                                 20%  อีซี  และ  1.4%  จี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  สำหรับข้าวให้ใช้ภายหลังตกกล้า  7-10  สัปดาห์  หรือเมื่อข้าวแตกกอเต็มที่และสูงเหนือน้ำ  15-20  ซม.

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

 

พิโคลแรม

(picloram)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  pyridine  ประเภทเจาะจงพืช  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  โดยผ่านทางรากและใบได้อย่างรวดเร็ว

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  8,200  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  4,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและยืนต้น

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชในพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเกษตรและทุ่งหญ้า

สูตรผสม                                 24%  เอสแอล  และ  34.7%  เอสแอล

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก

ข้อควรรู้                                  – อย่าใช้เครื่องมือฉีดพ่นสารนี้ไปใช้ฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น

– สารตกค้างออกฤทธิ์กำจัดวัชพืชอยู่ในดินได้เป็นเวลานานมาก

– ฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืชเป็นผลมาจากการดูดซึมผ่านทางใบ  และดูดซับทางราก

 

ฟิเปอร์โรฟอส

(piperophos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  piperidine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  324  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,150  มก./กก.  (หนู)

วัชพืชที่กำจัดได้                    หญ้านกสีชมพู  หญ้าดอกขาว  หญ้าหนวดแมว  กกชนิดต่าง ๆ  และวัชพืชใบแคบอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าวนาดำ

สูตรผสม                                 นิยมใช้ผสมร่วมกับไดเม็ทธามีทริน  เพื่อกำจัดวัชพืชใบกว้าง  วัชพืชตระกูลหญ้า  และกกต่าง ๆ  ในนาข้าว

 

พรีติลาคลอร์

(pretilachlor)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  acetanilide  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  6,100  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  3,100  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้าง  กกต่าง ๆ  และหญ้าทรงกระเทียม

พืชที่ใช้                                   ข้าวนาดำ

สูตรผสม                                 30%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

อาการเกิดพิษ                          ทำให้ผิวหนังระคายเคืองปานกลางและทำให้ดวงตาระคายเคืองเล็กน้อย

 

โปรพาคลอร์

(propachlor)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  anilide  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  710  มก./กก.  ทำให้ดวงตาระคายเคืองปานกลาง

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบและใบกว้างประเภทล้มลุก

พืชที่ใช้                                   ข้าวโพด  ฝ้าย  ถั่วลันเตา  ฟักทอง  ข้าวฟ่างและถั่วเหลือง

สูตรผสม                                 20%  จี  และ  65%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  หรือด้วยการฉีดพ่นหน้าดินปลูกก่อนวัชพืชและพืชที่ปลูกจะงอก  น้ำฝนจะช่วยเร่งให้สารเคมีออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น

ข้อควรรู้                                  – ถ้ามีฝนไม่เพียงพอหรือไม่มีฝนภายหลังฉีดพ่นแล้ว  จะทำให้ผลในการควบคุมวัชพืชน้อยลง

– เป็นพิษต่อปลา

– อาจใช้ผสมร่วมกับปุ๋ยน้ำและสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้

 

โปรพานิล

(propanil)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  acetamide  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกโดยทางสัมผัสในช่วงระยะเวลาอันสั้น

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,385  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 7,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู  หญ้าหนวดปลาดุก  กกขนาก  หญ้าทรงกระเทียม  ผักแว่น  วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  มันฝรั่ง  ข้าวสาลี

สูตรผสม                                 36%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  โดยทั่วไปใช้อัตรา  1.5-2  ลิตร  ผสมกับน้ำ  80  ลิตร  ฉีดพ่นให้คลุมพื้นที่  1  ไร่  โดยใช้ในช่วงระยะที่พืชงอกแล้วและมีใบ  2-4  ใบ

อาการเกิดพิษ                          เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง  ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้หายใจไม่ออก  ถ้ากลืนกินเข้าไป  จะร้อนภายในปาก  ลำคอ  กระเพาะ ไอ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  วิงเวียน  ง่วงและหมดสติ

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ทันที  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนทันที  จนเหลือแต่น้ำหรือของเหลวใส  แล้วรักษาตามอาการ  ห้ามให้อาหารประเภทที่มีไขมัน  น้ำมัน แอลกอฮอล์  กับคนไข้

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ละอองโปรพานิลจะทำความเสียหายให้กับฝ้าย  ข้าวโพด  มะเขือเทศ  ถั่วเหลือง  ทานตะวัน  ผักต่าง ๆ  แตงกวา  พืชพวกถั่วและใบพืชกว้างอื่น ๆ

– อย่าใช้ในช่วงที่มีอากาศร้อนหรือเย็นจัด

– อย่าใช้ถ้าคาดหมายว่าจะมีฝนตกภายใน  5-6  ชั่วโมง

– อย่าใช้สารคาร์บาริลหรือสารกำจัดแมลงพวกฟอสเฟทอื่น ๆ กับพืชที่ถูกฉีดพ่นด้วยโปรพานิลแล้ว  ภายใน  14  วัน

– อย่าใช้ผสมกับปุ๋ยน้ำ

– ไม่มีฤทธิ์ตกค้าง

– ความรวดเร็วในการฆ่าวัชพืชจะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น

 

โปรปาควิซาฟอพ

(propaquizafop)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืชภายหลังงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชประเภทใบแคบพวกหญ้า  ได้แก่  หญ้าข้าวนก  หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา  หญ้าตีนนก  หญ้าดอกขาว

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงถั่วเหลือง

สูตรผสม                                 10%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตรา  20-30  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงถั่วเหลืองในพื้นที่  1  งาน  พ่นเมื่อถั่วเหลืองอายุอยู่ในช่วง  14-21  วัน  หลังปลูกและวัชพืชมีใบไม่เกิน  2-3  ใบ

อาการเกิดพิษ                          ยังไม่ทราบอาการเกิดพิษที่เกิดกับคน

การแก้พิษ                               รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีการใช้  ให้พักผ่อนในที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี  หากเกิดอาการที่ผิวหนัง  ให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจำนวนมาก ๆ  หากเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำ  และรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที  หากกลืนกินเข้าไปให้ดื่มสารละลายถ่าน  ultra  carbon  ถ้าผู้ป่วยหมดสติ  ห้ามให้ยาทางปาก  รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

 

ไพริเดท

(pyridate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  pyridazine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  โดยทางสัมผัสดูดซึมได้ทางใบ

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  ประมาณ  2,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  3,400  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างและหญ้าบางชนิด  (โดยเฉพาะที่มีความต้านทานต่อสารอะทราซีน)

พืชที่ใช้                                   ข้าวโพด  ข้าว  ธัญพืชและถั่วลิสง

สูตรผสม                                 5%  อีซี  และ  50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยใช้กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ในขณะที่วัชพืชอยู่ในระยะที่มีใบไม่เกิน  4  ใบ

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ออกฤทธิ์ช้า

– ฝนตกภายหลังใช้  จะไม่ทำให้ระดับการควบคุมวัชพืชลดลง

– ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่จะปลูกตามมาภายหลัง

 

ควินซาโลฟอพ-เอ็ทธิล

(quinzalofop-ethyl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  quinoxaline : phenoxy  ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,670  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  10,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบล้มลุกและยืนต้น

พืชที่ใช้                                   พืชใบกว้าง  เช่น  ทานตะวัน  ถั่วเหลือง  ฝ้าย  และพืชผักอื่น ๆ

สูตรผสม                                 10%  อีซี

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

 

ควินซาโลฟอพ-พี-เทฟูริล

(quinzalofop-p-tefuryl)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชใบแคบที่งอกจากเมล็ด  และใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก

พืชที่กำจัดได้                         หญ้านกสีชมพู  หญ้าข้าวนก  หญ้าปากควาย  หญ้าลูกเห็บ  หญ้าแพรก  หญ้ารังนก  หญ้าขจรจบ  และพืชตระกูลหญ้าอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ถั่วเหลือง  ถั่วทุกชนิด  ฝ้าย  และมันสำปะหลัง

สูตรผสม                                 6%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  ผสมให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่  1  งาน  หรือจะใช้  160-240  ซีซี  ผสมน้ำ  80  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1  ไร่  เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรฉีดพ่นวัชพืชที่งอกใบแล้ว  3-6  ใบ  หรือมีขนาดสูงประมาณ  15  ซม.

อาการเกิดพิษ                          อาจทำให้ผิวหนัง  ดวงตา  เกิดอาการระคายเคืองได้

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากให้รีบทำให้อาเจียน  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ

 

เซ็ทท๊อกซี่ดิม

(sethoxydim)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  cyclohexene  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมโดยผ่านทางใบ

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  3,500  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  5,000  มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบล้มลุกและยืนต้น

พืชที่ใช้                                   ถั่วเหลือง  ฝ้าย  ถั่วเขียว  ถั่วลิสง  ยาสูบ  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง แตงกวา  ฟักทอง  หอม  กระเทียม  แอสพารากัส  ผักต่าง ๆ  และพืชใบกว้างอื่น ๆ

สูตรผสม                                 12.5%  อีซี  และ  20%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ฉีดพ่นกำจัดวัชพืชภายหลังงอก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ไม่กำจัดวัชพืชใบกว้าง  กกและหญ้าทรงกระเทียม

– อย่าใช้  ถ้าคาดว่าจะมีฝนตกภายใน  1  ชั่วโมง

– มีความคงตัวในดินสั้นมาก

– อาจผสมใช้ร่วมกับบาซาเกรนได้

 

ซิมาซีน

(simazine)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  3,100  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบหรือหญ้าล้มลุกเกือบทุกชนิด  และวัชพืชใบกว้างบางอย่าง

พืชที่ใช้                                   แอสพารากัส  กล้วย  สตรอเบอร์รี่  ส้ม  ข้าวโพด  องุ่น  สัปปะรด อ้อย

สูตรผสม                                 50%  และ  80%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยใข้กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – เมื่อจะใช้กำจัดวัชพืชในสวนองุ่น  องุ่นจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า  3  ปี

– พืชที่อ่อนแอต่อสารนี้  คือ  มะเขือเทศ  ยาสูบ  ผักโขม  พืชตระกูลแตง  หอม  แครอท  ข้าว  ถั่วเหลืองและผักกาดหอม

– มีฤทธิ์ตกค้างนานจึงห้ามปลูกพืชอื่นที่มิได้แนะนำในพื้นที่ที่ใช้สารนี้ในฤดูเดียวกัน

– ไม่ได้ป้องกันการงอกแต่จะทำลายต้นกล้าภายหลังจากเข้าไปในรากแล้ว

– ฝนจะช่วยเร่งให้สารนี้ออกฤทธิ์ได้เร็วและได้ผลมากขึ้น

 

โซเดียม  อาร์ซีไนท์

(sodium  arsenite)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  inorganic  ประเภทไม่เจาะจงพืช  ดูดซึมเข้าไปในต้นได้  โดยผ่านทางรากและใบ  เข้าไปทำลายการงอกของเมล็ดและยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,200  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    พืชทุกชนิด

พืชที่ใช้                                   กำจัดวัชพืชในสวนยางพาราและตามพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก

สูตรผสม                                 99%  ผง

ข้อควรรู้                                  ปัจจุบันทางราชการไม่อนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ

 

เทอร์บาซิล

(terbacil)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  uracil  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกส่วนมากและวัชพืชใบกว้างบางชนิด

พืชที่ใช้                                   แอสพารากัส  สตรอเบอร์รี่  อ้อยและส้ม

สูตรผสม                                 80%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยใช้กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  หรือในช่วงระหว่าง  ระยะที่วัชพืชกำลังจะงอกเป็นต้นกล้า

ข้อควรรู้                                  – ห้ามใช้กับดินทรายหรือดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า  1%

– ห้ามปลูกพืชที่มิได้แนะนำในพื้นที่ที่ใช้สารนี้แล้วอย่างน้อย  2  ปี

 

เทอร์บูทริน

(terbutryn)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  และภายหลังงอกกับพืชบางชนิด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,500  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก

พืชที่ใช้                                   ข้าวสาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวโอ๊ต  ธัญพืช  อ้อย  มันฝรั่ง  ทานตะวัน ข้าวโพด  และกำจัดวัชพืชตามพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก

สูตรผสม                                 50%  และ  80%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยการฉีดพ่นทับหน้าดินภายหลังจากปลูกพืชแล้วไม่ว่าจะหลังหรือก่อนเมล็ดงอกก็ได้  สำหรับการใช้กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกถ้าเป็นข้าวสาลี  ให้ใช้ในระยะที่มีใบแล้ว  3  ใบ  หรือมีหน่อ  1-2 หน่อ  และวัชพืชไม่ควรสูงเกิน  4  นิ้ว

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– อย่าใช้กับข้าวฟ่างที่งอกแล้ว

– ดูดซึมได้ทั้งทางใบและทางราก

– ผสมใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำได้

 

ไธโอเบ็นคาร์บ

(thiobencarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  carbamate  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอกในระยะแรก ๆ

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,300  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  2,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    หญ้าข้าวนก  หญ้าไม้กวาด  กกขนาก  ผักปอดนา  สาหร่ายไฟ  วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ข้าว  (ทั้งนาดำและนาหว่าน)

สูตรผสม                                 8%  จี  และ  50%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ชนิด  8%  จี  ใช้อัตรา  4  กก./ไร่  โดยหว่านให้ทั่วแปลงนา  ชนิด 50%  อีซี  ใช้อัตรา  320-640  ซีซี  ผสมกับน้ำ  60  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนาหลังจากปักดำหรือหว่าน  เมื่อข้าวงอกแล้ว  1-5  วัน

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – คงฤทธิ์อยู่ในดินได้นาน  30-40  วัน

– เป็นพิษต่อปลาค่อนข้างน้อย

– อาจผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

 

ไตรโคลเพอร์

(triclopyr)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  pyridine : organochlorine  ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  710  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,000  มก./กก.  ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้                    สาบแร้งสาบกา  สาบเสือ  หญ้าละออง  ลูกใต้ใบ  หญ้าลูกเห็บ  ต้นขี้ไก่ย่าน  วัชพืชใบกว้างและพืชไม้ต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  พื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตร

สูตรผสม                                 34.7%  อีซี  และ  6.8%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตรา  120-150  ซีซี  ผสมน้ำ  40-60  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่  1  ไร่

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ  ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – อย่าใช้กำจัดวัชพืชตามคู-คลองส่งน้ำ

– ดูดซึมได้ทั้งทางใบและราก  เคลื่อนย้ายได้ทั่วต้นพืช

– สลายตัวในดินได้อย่างรวดเร็ว

 

ไตรดิแฟน

(tridiphane)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  organophosphate  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างล้มลุก

พืชที่ใช้                                   ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  (อยู่ในระหว่างการทดลองใช้)

สูตรผสม                                 4%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  กำจัดวัชพืชในระยะเริ่มงอก  ถ้าเป็นหญ้าควรมีความสูงตั้งแต่  0.5-2  นิ้ว  หรือใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอกแล้ว  ซึ่งมีความสูงตั้งแต่  2-4  นิ้ว

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– มีความคงตัวอยู่ในดินได้นานประมาณ  28  วัน

 

ไตรฟลูราลิน

(trifluralin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  dinitroanilide  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  ออกฤทธิ์ด้วยการฆ่าเมล็ดในขณะที่กำลังงอก

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  10,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบแคบพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างล้มลุก

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ถั่วเหลืองและถั่วอื่น ๆ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่างและผักต่าง ๆ

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ด้วยการคลุกดินให้ลึก  2-4  นิ้ว  ก่อนปลูกพืช  หรือใช้วิธีอื่นตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ฆ่าเมล็ดวัชพืชในขณะที่งอก

– ไม่ต้องใช้ฝนช่วยเร่งให้ออกฤทธิ์กำจัดวัชพืช

– การใช้แบบคลุกดินจะทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

– อาจผสมใช้ร่วมกับปุ๋ยแห้งหรือปุ๋ยน้ำก็ได้

 

เวอร์โนเลท

(vernolate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  thiocarbamate  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกหรือคลุมการงอกของเมล็ด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,780  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  5,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ถั่วลิสง  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ยาสูบและถั่วเหลือง

สูตรผสม                                 5% , 10%  จี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  ด้วยการคลุกกับดินก่อนปลูกหรือก่อนงอก

การแก้พิษ                               ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการ