ไดคลอร์พรอพ – พี
(dichlorprop – P)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความใกล้เคียงกับ 2,4-ดี
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 825 มก./กก. แต่น้อยกว่า 1,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 4,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้าง ไม้พุ่มและวัชพืชน้ำ
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ธัญพืช ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และตามไหล่ทาง-ถนน
สูตรผสม 60% เอเอส
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานมาก ๆ แล้วไปพบแพทย์ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วรักษาตามอาการ
ไดมีฟูรอน
(dimefuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช oxadiazole ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งในแบบก่อนงอก และภายหลังงอกดูดซึมเข้าลำต้นได้โดยทางราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ พืชตระกูลกะหล่ำ ถั่วและสัปปะรด
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ นิยมใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นเพื่อให้สามารถกำจัดวัชพืชได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ไดเม็ทธามีทริน
(dimethametryn)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก ดูดซึมได้ทางรากและใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,150 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าวและไร่อ้อย
ไดไนตรามีน
(dinitramine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืชและกำจัดแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 6,800 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วลิสง ถั่วเหลืองและทานตะวัน
สูตรผสม 25% อีซี
ไดยูรอน
(diuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,400 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าตีนติด หญ้าไม้กวาด หญ้ารังนก หญ้านกสีชมพู ผักเบี้ยใหญ่ ผักโขม หญ้าอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างอีกเป็นจำนวนมาก
พืชที่ใช้ สัปปะรด อ้อย ชา กาแฟ มะละกอ ส้ม กล้วย มันสำปะหลัง ปาล์ม ยางพารา ฝ้าย องุ่น แอสพารากัส และพืชที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 365-725 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ทันที ภายหลังจากปลูกพืชเสร็จและก่อนที่วัชพืชจะงอก
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนทันทีแล้วให้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – อย่าใช้ในขณะที่มีแสงแดดจัดหรือกับดินปนทราย
– อย่าปลูกพืชที่อ่อนแอต่อไดยูรอน ภายใน 12 เดือนหลังจากใช้
– เป็นสารไม่กัดกร่อนและไม่ระเหย
ดีพีเอกซ์ – แอล – 5300
(DPX – L – 5300)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช sulfon , urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์
สูตรผสม 75% เอสซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ และถ้ามีอาการระคายเคืองให้ปรึกษาแพทย์
ดีเอสเอ็มเอ
(DSMA)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organoarsenic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกโดยทางสัมผัส
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,800 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าชนิดต่าง ๆ โดยกำจัดแบบภายหลังงอก
พืชที่ใช้ ฝ้าย ส้ม และกำจัดวัชพืชในพื้นที่มิได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 80% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ต้นวัชพืชโดยตรง กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ควรให้ฝ้ายมีความสูงประมาณ 3-4 นิ้ว จนถึงระยะออกดอก และไม่ควรใช้เกิน 2 ครั้ง ต่อหนึ่งฤดูปลูก
ยาแก้พิษ ยาบีเอแอล (BAL)
ข้อควรรู้ – ไม่กัดกร่อนโลหะ
– ใช้ผสมกับ 2,4-ดี ได้
– ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดวัชพืชที่อยู่ในระยะที่เป็นต้นอ่อนและกำลังเจริญเติบโต
อีพีทีซี
(EPTC)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,630 มก./กก. (Technical grade)
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบประเภทล้มลุกและยืนต้น เช่น หญ้านกสีชมพู กกขนาก ขาเขียด และวัชพืชใบกว้างบางชนิด เช่น ผักปอดนา เป็นต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว สวนส้ม ข้าวโพด ฝ้าย องุ่น ถั่ว มันฝรั่ง ทานตะวันและมะเขือเทศ
สูตรผสม 72% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 200-400 ซีซี ผสมน้ำ 40-60 ลิตร ฉีดพ่นให้คลุมพื้นที่ 1 ไร่ ก่อนปลูกพืช 2-4 วัน หรือภายหลังปลูก 6-8 วัน
อาการเกิดพิษ ถ้าเข้าตาจะทำให้น้ำตาไหล มองแสงสว่างไม่ได้ แสบตา ตาแดง และแก้วตาอักเสบ ถ้าถูกผวิหนังอาจทำให้อักเสบ เจ็บร้อน คัน พิษจากการสูดดมจะมีอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก จาม ไอ น้ำมูกไหล มีเสมหะ เจ็บคอ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป จะมีอาการแสบตามทางเดินอาหาร ปวดท้อง อาเจียน เวียนศีรษะ ชักและหมดสติ
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน นำผู้ป่วยส่งแพทย์ เพื่อล้างท้องด้วยสารละลาย โซเดียม ไบคาร์โบเนท แล้วให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล หรือแม็กนีเซียม ซัลเฟท แล้วรักษาตามอาการ ห้ามคนไข้ดื่มนมและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
ข้อควรรู้ – ขณะใช้ถ้าหน้าดินเปียกชื้น ตัวอีพีทีซีจะสูญหายไปด้วยการระเหย
– ห้ามใช้กับพืชอื่นที่ไม่ได้แนะนำ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วตาดำ ลิมาบีน และถั่วฝักอื่น
– มีประสิทธิภาพในการกำจัดหญ้าได้มากกว่าวัชพืชใบกว้าง
– สลายตัวหมดภายใน 4-6 สัปดาห์ ในสภาพที่ดินร้อนชื้น
– ไม่กัดกร่อนโลหะและยาง
ฟีโนซาพรอพ – เอ็ทธิล
(fenoxaprop – ethyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,310 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย และดวงตาระคายเคืองปานกลาง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา มันฝรั่ง ยาสูบและพืชใบกว้างอีกหลายชนิด
สูตรผสม อยู่ในรูปผสมน้ำมัน (อีซี)
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ฉีดพ่นเมื่อหญ้างอกแล้วเป็นส่วนมาก
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะไม่มี ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ทันที เป็นเวลานาน 1 นาที ถ้ากินเข้าไป อย่าทำให้คนไข้อาเจียน นำคนไข้ส่งแพทย์ทันที
ฟีนูรอน
(fenuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 6,400 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ ไม้ยืนต้นและต้นไม้ที่มีรากหยั่งลึก
ฟลูอะซีฟอพ-บูทิล
(fluazifop-butyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phenoxy , trifluoromethyl , pyridine ประเภทเจาะจงพืชและดูดซึมกำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,328 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 2,420 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ฝ้าย มันฝรั่ง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ส้ม องุ่น กาแฟ หอม กล้วย ผักต่าง ๆ และพืชใบกว้างทั่วไป
สูตรผสม 35% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำและฉีดพ่นที่วัชพืชโดยตรง จะให้ผลดีในระยะที่วัชพืชมีใบ 2-4 ใบ
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – เป็นพิษต่อปลา
– ออกฤทธิ์ช้า เคลื่อนย้ายในลำต้นจากใบไปสู่ราก
ฟลูโอมีทูรอน
(fluometuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช trifluoromethyl;urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 8,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 10,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาระคายเคืองปานกลาง แต่ผิวหนังจะไม่ระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ฝ้ายและอ้อย
สูตรผสม 50% และ 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นควบคุมการงอกและกำจัดวัชพืชในระยะเริ่มงอก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – กำจัดวัชพืชยืนต้นไม่ได้
– เมื่อใช้กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ห้ามปลูกพืชอย่างอื่นภายหลังปลูกฝ้ายในปีเดียวกัน
– พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้ ได้แก่ ถั่วเหลือง มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่วและแตง
– อย่าใช้เกินกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี บนพื้นที่เดียวกัน
– เมื่อใช้กับฝ้าย อย่าใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงประเภทดูดซึม
– ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์
ฟลูโรซี่เพอร์
(fluroxypyr)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช pyridine
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและวัชพืชยืนต้นที่มีรากหยั่งลึก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว ในสวนผลไม้ องุ่นและทุ่งหญ้าและเลี้ยงสัตว์
สูตรผสม 20% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ฟอร์มีซาเฟน
(formesafen)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช nitro compound : bridged diphenyl , trifluoromethyl กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,250 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 1,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าตีนตุ๊กแก หญ้าลิ้นงู กกทราย ปอป่าน สาบแร้งสาบกา กะเม็ง บัวบก หญ้าขาวนก หญ้านกสีชมพู ผักโขมหนาม ผักโขมทราย ผักโขมหินและผักโขมอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง กระเทียม
สูตรผสม 25% เอสซี
อัตราใช้และวิธีใช้ โดยทั่วไปใช้อัตรา 240 ซีซี ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ หรือจะใช้อัตรา 60 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นก็ได้ ควรใช้ในระยะที่วัชพืชมีความสูง 1-3 นิ้ว
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปาก ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน ให้รีบนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – กำจัดวัชพืชพวกหญ้าไม่ได้
โฟซามีน-แอมโมเนียม
(fosamine-ammonium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช carbamate กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช โดยซึมผ่านทางใบไปสู่ลำต้น ไม่เคลื่อนย้ายและออกฤทธิ์เฉพาะจุดที่ถูกฉีดพ่น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 24,200 มก./กก. (41.5%) ทางผิวหนัง มากกว่า 1,683 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชที่เป็นต้นไม้ทรงพุ่ม เช่น ไมยราบยักษ์
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก ตามทุ่งเลี้ยงสัตว์ ตามไหล่ถนน ทางรถไฟ ริมคลองชลประทาน
สูตรผสม 48% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืช พืชจะหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ห้ามใช้กับพืชที่เป็นอาหาร
– ถ้ามีฝนตกภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากใช้ ประสิทธิภาพจะลดลง
– ปลอดภัยต่อปลาและสัตว์ป่า
– ไม่ได้ผลเมื่อใช้ฉีดพ่นที่ดิน
กลูโฟซิเนท – แอมโมเนียม
(glufosinate – ammonium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organophosphorous ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกโดยทางสัมผัสและมีฤทธิ์ในทางดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,625 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชล้มลุกและยืนต้นทั่วไป รวมทั้งวัชพืชตระกูลหญ้า
พืชที่ใช้ สวนผลไม้ สวนองุ่น สวนผัก สวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน
สูตรผสม 18% และ 20% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยฉีดพ่นที่ใบและส่วนที่กำลังเจริญเติบโตโดยตรง
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – อย่าใช้ ถ้าคาดว่าจะมีฝนตกภายใน 6 ชั่วโมง
– ในสภาพที่มีอากาศร้อน กลูโฟซิเนทจะออกฤทธิ์ได้มากกว่า
– ในการกำจัดวัชพืชใบกว้าง ควรใช้ในระยะเริ่มเจริญเติบโต สำหรับหญ้า ควรใช้กำจัดในระยะเริ่มแตกหน่อ
– ไม่มีพิษต่อปลา
– วัชพืชจะแสดงอาการตายภายใน 2-5 วัน
– กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ
– ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วกว่า ไกลโฟเสท แต่ช้ากว่า พาราคว๊อท
ไกลโฟเสท
(glyphosate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organophosphorous ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์โดยทางดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 4,320 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าคา หญ้าแห้วหมู หญ้าขน หญ้าชันอากาศ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าปล้อง หญ้าใบไผ่ หญ้าลูกเห็บ สาปแร้งสาปกา ผักตบชวา ไมยราบยักษ์ วัชพืชใบกว้างอื่น ๆ และใบแคบทั่วไปทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตรทั่วไป
สูตรผสม 10% , 15% , 16% , 41% และ 48% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำสะอาดฉีดพ่นที่ใบพืชและต้นพืชโดยตรง ศึกษารายละเอียดการใช้เพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังและดวงตา อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้ากินเข้าไปจำนวนมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังหรือดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้ากินเข้าไปควรล้างท้องคนไข้ตามวิธีทางการแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ภายหลังจากใช้ 6 ชม. ถ้ามีฝนตกลงมา จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง
– อย่าใช้น้ำสกปรกผสมฉีดพ่น เพราะจะทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ
– ผลการกำจัดวัชพืชจะน้อยลง ถ้าใบพืชที่ฉีดพ่นนั้นปกคลุมด้วยฝุ่นละออง
– การเริ่มต้นออกฤทธิ์จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ภายหลังจากใช้ จะสังเกตเห็นได้หลังจากหลายวันผ่านไปแล้ว
ฮาโลซี่ฟอพ – เอ็ทธอกซี่เอ็ทธิล
(haloxyfop – ethoxyethyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช pyridine : phenoxy : trifluoromethyl ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ดูดซึมผ่านทางใบและรากเข้าสู่ลำต้น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 518-531 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ปลูกพืชทั่วไป
สูตรผสม 12.5% อีซี
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ
ฮาโลซี่ฟอพ – เม็ทธิล
(haloxyfop – methyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์ดูดซึมและเคลื่อนย้ายไปทั่วทุกส่วนของวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 2,398 มก./กก. (หนูตัวเมีย) 2,179 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 3,536 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ ทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น เช่น หญ้าแพรก หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้าตีนกา หญ้าไข่แมงดา หญ้าปากควาย หญ้าตีนนก หญ้าขจรจบและหญ้าดอกขาว
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืชใบกว้างทั่วไป
สูตรผสม 25.5% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่วัชพืชโดยตรง ให้ทั่วพื้นที่ปลูก
อาการเกิดพิษ อาจทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังหรือดวงตา ให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปควรทำให้คนไข้อาเจียนทันที รักษาตามอาการ
เฮ็กซาซิโนน
(hexazinone)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ซึมผ่านเข้าลำต้นได้ทั้งทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,690 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,278 มก./กก. ทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าตีนนก หญ้าหางหมา หญ้าตีนติด หญ้าพง หญ้าชันอากาศ หญ้าดอกขาว หญ้าแพรก หญ้าโขย่ง วัชพืชใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักเบี้ยและวัชพืชอื่น ๆ ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย และสัปปะรด
สูตรผสม 90% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 135-180 กรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืชโดยตรงให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ – ควรใช้ในขณะที่วัชพืชกำลังเจริญเติบโตหรือสูงอย่างน้อย 2 นิ้ว
– อย่าให้รากของพืชที่ปลูกถูกกับสารกำจัดวัชพืชชนิดนี้
– อย่าให้ละอองปลิวไปถูกกับพืชที่ปลูก
– ให้ผลดีในการกำจัดวัชพืชประเภทไม้พุ่มและไม้ยืนต้น
– ประสิทธิภาพในการกำจัดจะมากขึ้นตามสภาพอุณหภูมิที่สูงขึ้น
อิมาซาเพอร์
(imazapyr)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช imidazolinone ประเภทไม่เจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม โดยผ่านทางใบและราก สามารถเคลื่อนย้ายในต้นวัชพืชได้
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น รวมทั้งไม้พุ่ม และไม้ผลัดใบทุกชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในพื้นที่ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม 10% เอสแอล
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
อิมาเซ็ทธาเพอร์
(imazethapyr)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช imidazolinone กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง
สูตรผสม 50% อีซี , 5.3% เอเอส
ไออ๊อกซีนิล
(ioxynil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช nitrile ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและดูดซึมได้ทางใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 110 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก โดยกำจัดในระยะเริ่มงอก
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว ในไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่างและธัญพืชอื่น ๆ
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ไอโซโปรทูรอน
(isoproturon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์โดยการดูดซึมผ่านทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,800 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่ปลูกธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวไรย์ รวมทั้งอ้อยและถั่วลิสง
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
แล็คโตเฟน
(lactofen)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชใบกว้างแบบภายหลังงอกและก่อนงอกได้เล็กน้อย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,533 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ ผักเสี้ยนผี ผักเบี้ยหิน โทงเทง กะเมง ปอวัชพืช ฝักยาว และวัชพืชใบกว้างทั่วไป
พืชที่ใช้ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย มันฝรั่ง
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 60-80 ลบ.ซม.ต่อไร่ หรือ 15-20 ลบ.ซม.ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ต้นวัชพืช
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำนาน 15 นาที หากกลืนกินเข้าไปและยังมีสติอยู่ ให้ผู้ป่วยดื่มนมหรือไข่ขาวหรือน้ำจำนวนมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียน และห้ามให้อาหารหรือเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ผสม นำผู้ป่วยส่งแพทย์ต่อไป
ลีนาซิล
(lenacil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช uracil ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนปลูกหรือก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 11,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ ธัญพืช สตรอเบอร์รี่และไม้ประดับ
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ถ้าต้องการกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกหรือคุมวัชพืช ให้ฉีดพ่นหน้าดินทันทีภายหลังจากปลูกเสร็จ ถ้าใช้แบบก่อนปลูกให้ใช้คลุกกับดินลึกจากหน้าดิน 2 นิ้ว
ลินูรอน
(linuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตา จมูก คอและผิวหนัง เกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ ที่เป็นประเภทล้มลุก และกล้าของวัชพืชยืนต้นบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง แอสพารากัส ฝ้าย มันฝรั่งและองุ่น
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ห้ามปลูกพืชอื่นภายใน 4 เดือน หลังจากใช้
– ห้ามฉีดพ่นบนยอดข้าวโพดโดยตรง
เอ็มซีพีเอ
(MCPA)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดพืช phenoxy ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 700 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น รวมทั้งวัชพืชใบกว้างที่เจริญเติบโตได้ในน้ำ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ในไร่ถั่วเขียวและทุ่งหญ้า เลี้ยงสัตว์
สูตรผสม 40% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
มีโคพรอพ-พี
(mecoprop-P)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phenoxy ประเภทเจาะจงพืช ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 930 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 900 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในสนามหญ้าและในไร่ปลูกธัญพืช
สูตรผสม 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ในระยะที่วัชพืชกำลังเจริญเติบโต
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – อย่าใช้ในสภาพอากาศที่มีความร้อนหรือเปียกชื้นสูง
– อาจใช้ผสมกับ 2-4-ดี เพื่อเพิ่มขอบเขตการกำจัดวัชพืชให้มากยิ่งขึ้น
– ออกฤทธิ์ช้า อาจใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล
– มีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชใบกว้างเท่านั้น
เมตาซาคลอร์
(metazachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช acetanilide กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,150 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและวัชพืชใบแคบล้มลุก
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ยาสูบ ถั่วลิสง มันฝรั่ง
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้คุมวัชพืชก่อนงอก ฝนและความชื้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดให้สูงขึ้น
ข้อควรรู้ – สารกำจัดวัชพืชนี้กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง
– ไม่กำจัดวัชพืชใบแคบประเภทยืนต้น
เมธาเบ็นซ์ไธอายูรอน
(methabenzthiauron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 2,500 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 500 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ และวัชพืชพวกหญ้า
พืชที่ใช้ ถั่ว กระเทียม มันฝรั่งและหอม
สูตรผสม อยู่ในรูปผงผสมน้ำ (ดับบลิวพี)
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ – ไม่เป็นพิษต่อผึ้งและปลา
– อย่าใช้ผสมกับยูเรียและปุ๋ยน้ำอย่างอื่น
– ขณะที่ใช้ดินควรมีความชื้น
– ภายหลังจากใช้ 14-20 วัน วัชพืชจึงจะตาย
– ไม่กำจัดวัชพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยราก
เมโตลาคลอร์
(metolachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช acetanilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,780 มก./กก. ทางผิวหนัง 3,100 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบหรือหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย กะหล่ำปลี หอม กระเทียม ข้าวฟ่าง ทานตะวัน มะเขือเทศ ปอ มันฝรั่งและพืชที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 40% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ได้ทั้งก่อนปลูกและก่อนงอก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – เป็นพิษกับปลา
เมทริบูซิน
(metribuzin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก และภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,200 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 20,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กกต่าง ๆ หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย หญ้ารังนก ผักปราบ ผักเบี้ยหิน ผักโขมหนาม โคกกระสุน หญ้าและวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง มะเขือเทศ อ้อย กาแฟ ชา ข้าวโพด แอสพารากัส ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ มันฝรั่ง และสัปปะรด
สูตรผสม 70% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 80-120 กรัม ผสมกับน้ำ 40-60 ลิตร/ไร่ ฉีดพ่นหน้าดินทันทีที่ปลูกพืชเสร็จ ในขณะฉีดพ่นดินควรมีความชื้นและวัชพืชยังไม่ทันงอก ก่อนใช้ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติม
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการหายใจขัด เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งในช่องท้อง
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้ากินเข้าไป ให้ล้างท้องคนไข้ แล้วรักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ – อย่าใช้กับดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 2%
– พืชที่อ่อนแอต่อสารนี้ คือ พืชตระกูลกะหล่ำปลี แตงกวา สตรอเบอร์รี่ ทานตะวันและยาสูบ
– อย่าปลูกพืชอื่นนอกจากพืชแนะนำในพื้นที่ ๆ ฉีดพ่นสารนี้แล้วอย่างน้อยเป็นเวลา 4 เดือน
– ดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ให้ใช้อัตราเพิ่มขึ้น
– ควบคุมวัชพืชได้นาน 3-4 เดือน
– อาจใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้
เม็ทซัลฟูรอน – เม็ทธิล
(metsulfuron-methyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea , triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ สาบเสือ มังเคร่ ผกากรอง ไม้พุ่มและวัชพืชใบกว้างยืนต้นอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ตและกำจัดวัชพืชตามบริเวณพื้นที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก ริมทางรถไฟ ถนนหลวง ริมคลองชลประทาน สนามบิน ในป่าและพื้นที่อุตสาหกรรม
สูตรผสม 20% ดีเอฟ และ 60% ดีเอฟ
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
อาการเกิดพิษ อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองเมื่อเข้าตา จมูก คอหรือเมื่อถูกผิวหนัง
การแก้พิษ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ หลายครั้ง ถ้ากินเข้าไปให้คนไข้ดื่มน้ำแล้วทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ แล้วนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
โมลิเนท
(molinate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate : azipine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมโดยผ่านทางรากได้อย่างรวดเร็ว
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 720 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง (กระต่าย) 3,536 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 10% จี
เอ็มเอสเอ็มเอ
(MSMA)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organoarsenic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและดูดซึมเข้าไปในต้นพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 700 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าขน หญ้ามาเลย์เซีย หญ้าปล้อง หญ้าตีนติด หญ้ารังนก หญ้าดอกขาว หญ้าใบใหญ่ สาบเสือ สาบแร้งสาบกา หญ้ายาง ไมยราบ สะอึก วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ยางพารา ปาล์ม สวนผลไม้ยืนต้น
สูตรผสม 66% แอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 600-800 ซีซี ผสมกับน้ำ ฉีดพ่นให้ได้พื้นที่ 1 ไร่
อาการเกิดพิษ ถ้ากลืนกินเข้าไปจะแสบร้อนลำคอ ลมหายใจจะมีกลิ่นคล้ายกระเทียม ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสียและมึนงง
การแก้พิษ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้รีบล้างท้องด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ แล้วให้กินถ่านยาพวกซาลีนคาธาลิค เช่น โซเดียม ซัลเฟท ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
นาโปรพาไมด์
(napropamide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช anilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม ยับยั้งการงอกของราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. (10% จี)
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและวัชพืชใบแคบพวกกก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในสวนองุ่น แปลงกล้ายาสูบ พริกไทย มะเขือเทศ มะเขือ แอสพารากัสและส้ม
สูตรผสม 10% จี และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – เป็นพิษต่อปลา
แนพทาแลม
(naptalam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phthalic-acid ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก โดยยับยั้งการงอกของเมล็ดวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,770 มก./กก. ทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง องุ่น แคนตาลูป แตงกวาและแตงโม
สูตรผสม 23% อีซี , 50% ดับบลิวพี และ 10% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามอัตราและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ – ไม่กำจัดวัชพืชที่งอกแล้ว
– มะเขือเทศและผักกาดหอม อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้มาก
– ห้ามใช้กับถั่วเหลืองที่งอกแล้ว
– มีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน 3-8 สัปดาห์ และจะสลายตัวหมดภายใน 6-8 สัปดาห์
– อาจผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นได้
ไนตราลิน
(nitralin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช nitro compound ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า 2,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแขก ถั่วลิสง และยาสูบ
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ ปัจจุบัน ไม่มีจำหน่ายในประเทศ