อะบาเม็คติน

(abamectin)

การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดไรและแมลงที่ประกอบด้วยสาร  macrocyclic  lactone  glycoside  ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการหมัก  (fermentation)  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส

ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  10  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคืองได้เล็กน้อย

ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนใยผัก  หนอนม้วนใบ  ไรสนิม  ไรแดงและไรอื่น ๆ  ด้วงมันฝรั่ง  มดคันไฟ  และแมลงอื่น ๆ

พืชที่ใช้                             ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  ฝ้าย  มันฝรั่ง  พืชผักและไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                  1.8%  อีซี

อัตราการใช้               กำจัดแมลงศัตรูผักใช้อัตรา  20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

กำจัดแมลงศัตรูส้ม  ใช้อัตรา  10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

กำจัดแมลงศัตรูพืชอื่น ๆให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช      เมื่อตรวจพบว่ามีศัตรูพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ            จะมีอาการม่านตาหรี่  หายใจไม่ออก  ไม่ค่อยรู้สึกตัว  ในรายที่มีอาการรุนแรง  ผู้ป่วยอาจเซื่องซึม  กล้ามเนื้อกระตุกและเกิดอาการชัก

การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ  1-2  แก้วทันทีและรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว  ห้ามทำให้อาเจียนหรือให้สิ่งของทางปาก  รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ต้องรักษาตามอาการที่ปรากฏ  หากผู้ป่วยกินวัตถุมีพิษเข้าไป  ทำให้อาเจียนภายใน  30  นาที  หลีกเลี่ยงการให้ยา  barbiturates,benzodiazepines,  และ  valproic  acid

ข้อควรรู้                    – เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

– เป็นสารที่ได้จากการหมักเชื้อจุลินทรีย์ในดิน  ชื่อ  Steptomyces  avermitilis

– ออกฤทธิ์ได้ช้า  ไรจะเคลื่อนไหวไม่ได้ภายหลังจากที่ถูกกับสารนี้

– มีความคงตัวและติดกับใบพืชได้แน่น

Read More

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนใยผัก เป็นหนอนศัตรูที่สำคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับพืชตระกูลกะหล่ำ มักพบระบาดทั่วไปตามแหล่งปลูกผักทั่วโลก แม้ว่าหนอนใยผักมีต้นกำเนิดมาจากเขตร้อนแต่ก็สามารถพบหนอนใยผักมีชีวิตอยู่ ได้ในเขตหนาวโดยไม่มีการพักตัว สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบหนอนใยผักระบาดเป็นประจำตามแหล่งปลูกผักทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากหนอนชนิดนี้มีวงจรชีวิตสั้น มีการแพร่พันธุ์และขยายพันธุ์รวดเร็ว และมีการพัฒนาการวางไข่ได้เร็ว คือ หลังออกจากดักแด้ภายใน 1 วัน สามารถวางไข่ได้ทันทีและวางไข่ได้ตลอดชีวิต ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมและมีพืชอาหารตลอดปี จึงเป็นสาเหตุให้พบการระบาดของหนอนใยผักตระกูลกะหล่ำดังกล่าวอยู่เสมอ ๆ ปัจจุบันหนอนใยผักได้มีการพัฒนาสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้รวดเร็วและ หลายชนิด จึงเป็นการยากต่อการป้องกันกำจัดด้วยการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเป็นประจำเพียง อย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกันจึงสามารถลดการระบาดของหนอนใยผักลงได้

Read More

ไนโตรเฟน

(nitrofen)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  diphenyl  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอกในธัญพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  ประมาณ  3,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

วัชพืชที่กำจัดได้                    วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและหญ้าต่าง ๆ

พืชที่ใช้                                   ธัญพืช  ข้าว  ผัก  ไม้ดอกและไม้ประดับ

สูตรผสม                                 8%  จี  และ  25%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – พืชที่อ่อนแอต่อสารกำจัดวัชพืชนี้  คือ  ผักกาดหอม  มะเขือเทศ  ผักโขม  มะเขือ  และพริกไทย

– เป็นพิษต่อปลา

– ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Read More

ไดคลอร์พรอพ – พี

(dichlorprop – P)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความใกล้เคียงกับ  2,4-ดี

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  825  มก./กก.  แต่น้อยกว่า 1,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  4,000  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    กำจัดวัชพืชใบกว้าง  ไม้พุ่มและวัชพืชน้ำ

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ธัญพืช  ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และตามไหล่ทาง-ถนน

สูตรผสม                                 60%  เอเอส

การแก้พิษ                               ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานมาก ๆ  แล้วไปพบแพทย์  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วรักษาตามอาการ

Read More

ทู โฟ – ดี

(2,4-D)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดวัชพืช  phenoxy  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์กำจัดวัชพืชใบกว้างภายหลังงอกทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (oral  LD  50)  375  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า  1,600  มก./กก.

วัชพืชที่กำจัดได้                    ผักปอด  ผักตบชวา  ตาลปัตรยายชี  พังพวย  ผักบุ้ง  ผักโขม  โทงเทง ผักเบี้ยหมู  ผักเบี้ยหิน  หญ้ายาง  ต้นไม้กวาด  กก  กกขนาก  แห้วหมู  เทียนนา โสน  สะอึก  และวัชพืชใบกว้างอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว  ไร่ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  อ้อย  หน่อไม้ฝรั่ง สตรอเบอร์รี่  สนามหญ้าและบริเวณที่ไม่ได้ทำการเกษตร

สูตรผสม                                 2,4-ดี  มีสูตรผสมหลายอย่าง  คือ

– ชนิด  sodium  และ  ammonium  salts  ปกติจะอยู่ในรูปผงละลายน้ำ  (WP)  มีความเข้มข้น  80-95%

– ชนิด  amine  salts  มีความเข้มข้น  72%  อีซี

– ชนิด  highly  volatile  esters  (Methyl , Ethyl , Butyl , Isopropyl)  มีความเข้มข้น  72%  อีซี

– ชนิด  Low  volatile  esters  (Butoxy  ethanol , propylene glycol , Butoxy  propyl)

อัตราใช้และวิธีใช้                  2,4-ดี  Na  Salt  ใช้อัตรา  30-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด amine  salt  และ  high  volatile  esters  ใช้อัตรา  30-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20 ลิตร  ฉีดพ่นที่ใบวัชพืชให้ทั่วบริเวณที่ต้องการกำจัดวัชพืช  ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษจะมีอาการ  ปวดศีรษะ  เหงื่อออกมาก  อ่อนเพลีย คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง  ท้องเสีย  เบื่ออาหาร  ตาพร่า  พูดไม่ชัด  น้ำลายออกมาก  กล้ามเนื้อกระตุก  ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งกระตุ้นต่ำ  กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กล้ามเนื้อเปลี้ย  ต่อมาอาจชัก  หมดสติและตายเนื่องจากหัวใจและระบบเลือดล้มเหลว

การแก้พิษ                               ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือมีอาการเกิดพิษรุนแรงให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  รักษาตามอาการ  ให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  แล้วล้างท้องด้วย  ไอโซโทนิค  ซาลีน  หรือ  โซเดียม  ไบคาร์โบเนท  5% ควบคุมการเต้นของหัวใจ

ข้อควรรู้                                  – ห้ามใช้กับฝ้าย  มะเขือเทศ  องุ่น  ไม้ผลและไม้ประดับ

– อย่าฉีดพ่นใกล้ต้นพืชที่ปลูก

– ในดินที่มี  2,4-ดี  มากเกินไป  จะทำให้เมล็ดหยุดงอกและหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว

– ก่อนที่จะใช้เครื่องมือฉีดพ่น  2,4-ดี  ไปใช้ฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น  ควรล้างทำความสะอาดอย่างละเอียดก่อนนำไปใช้

– ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับปุ๋ยได้

Read More

เพ็นไซคูรอน

(pencycuron)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อรา  phenylurea  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์เมื่อสัมผัสถูก  และ  ให้ผลในทางป้องกันมิให้เกิดโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,000  มก./กก.

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Rhizoctonia  spp.  และ  Pellicularia  spp.  โรคเน่าคอดิน  โรคกาบใบไหม้และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   มันฝรั่ง  ข้าว  ไม้ดอก  ไม้ประดับและพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ข้อควรรู้                                  – ถ้าใช้ตามคำแนะนำจะไม่เป็นพิษต่อต้นพืช

– เป็นพิษต่อปลา

– ไม่กำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  spp.  และ  Fusarium spp.

– ผสมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้เพื่อให้สามารถกำจัดโรคพืชได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

Read More

โดดีมอร์ฟ  อะซีเตท

(dodemorph  acetate)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม  โดยการฉีดพ่นทางใบ

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลัน  3,700  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรคราแป้ง  โรคราสนิม  และโรคจุดดำ  (Black  spot)

พืชที่ใช้                                   กุหลาบ  และไม้ดอก  ไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 40%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ฉีดพ่นที่ใบพืชเมื่อพบเห็นโรคบนใบ ใช้ซ้ำได้ทุก  10-14  วัน

ข้อควรรู้                                  – ไม่เป็นพิษต่อผึ้ง

– อาจใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

– ออกฤทธิ์ทั้งในทางป้องกันและกำจัดโรคพืช

Read More

อะนิลาซีน

(anilazine)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดเชื้อราที่มีสาร  triazine  เป็นองค์ประกอบ  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  5,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

โรคพืชที่กำจัดได้                  โรค  blight  ของมันฝรั่ง  โรคแอนเทรคโนส  โรคราน้ำค้าง  โรค  early blight  โรค  late  blightและโรคที่เกิดจากเชื้อ  Helminthosporium  spp., Botrytis  spp.,  Rhizoctonia  spp.,  และ  Septoria  spp.

พืชที่ใช้                                   ยาสูบ  สตรอเบอร์รี่  คื่นฉ่าย  พืชตระกูลแตง  หอม  กระเทียม  มันฝรั่ง  ฟักทอง  มะเขือเทศและแตงโม

สูตรผสม                                 50%  และ  75%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชและอย่างสม่ำเสมอ ใช้ซ้ำทุก  4-10  วัน  ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– ไม่เข้ากับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ผสมกับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่น ๆ ได้

Read More