ข้อควรระวังกับสารกำจัดศัตรูพืช(ยาฆ่าแมลง) ตอนที่ 6

เท็ตตร้าคลอร์วินฟอส

(tetrachlorvinphos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  4,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  6,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนใยผัก  หนอนคืบกะหล่ำ  หมัดผักกาด  หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนเจาะลำต้นอ้อย  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนกอ  เพลี้ยจักจั่นเขียว  เพลี้ยหอย  และแมลงศัตรูปศุสัตว์  เช่น  เห็บ  เหา เหลือบ  หมัด

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  องุ่น  ข้าวโพด  มะเขือเทศ  ข้าว  ยาสูบ  อ้อย  กะหล่ำ  ผักต่าง ๆ รวมทั้งปศุสัตว์

สูตรผสม                                 24%  อีซี  และ  75%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  24%  อีซี  ถ้าใช้กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  30-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ถ้าใช้กำจัดหนอนเจาะสมอ  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  ใช้อัตรา 90-180  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  75%  ดับบลิวพี  ถ้าใช้กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  10-20  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ถ้าใช้กำจัดหนอนเจาะสมอ หนอนคืบ  และหนอนกระทู้  ใช้  30-60  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้เพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการวิงเวียน  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  แน่นหน้าอก  หายใจขัด  ปวดท้อง  ท้องเดิน  น้ำมูกและน้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก พูดไม่ชัด  กล้ามเนื้อกระตุกและตายได้

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  ถ้าเกิดการเป็นพิษให้นำส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดแบบ  IV  และฉีดซ้ำทุก  5-10  นาที  จนอาการดีขึ้น  ห้ามใช้มอร์ฟีน

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นพิษต่อปลา

– อาจจะกัดกร่อนเหล็กและโลหะอื่น

– ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชในดินได้ดี

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

เท็ทตระไดฟอน

(tetradifon)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดไรออร์กาโนคลอรีน  bridage  diphenyl  ไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  มีผลทำให้ไข่และตัวอ่อนของไรตาย  ฤทธิ์ในทางอ้อมจะทำให้ไรตัวเมียเป็นหมัน  ไข่ที่ออกมาจะไม่ฟักเป็นตัวอ่อน

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  14,700  มก./กก.  ทางผิวหนัง  10,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ไรทุกชนิด  ที่อยู่ในระยะไข่และตัวอ่อน  ไม่มีผลกับฆ่าตัวแก่

พืชที่ใช้                                   ส้ม  แตงกวา  องุ่น  แตงโม  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่  มะเขือเทศ  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 7.52%  อีซี  และ  18.8%  อีซี

อัตราการใช้                            ชนิด  7.52%  อีซี  ใช้อัตรา  30-40  ซีซี  ชนิด  18.8%  อีซี  ใช้อัตรา 20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เพื่อให้ผลในทางป้องกันมิให้มีไรระบาด

การเกิดพิษ                              ทำให้ผิวหนังระคายเคือง  ถ้าเข้าปากจะทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ตามัว  เวียนศีรษะ  ชัก  และอาจหมดสติได้

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ห้าม  ทำให้คนไข้อาเจียน  นำคนไข้ส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้ยังมีสติดีอยู่  ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการให้กิน syrup  of  IPECAC  กับน้ำ  1-2  แก้ว  ถ้าคนไข้หมดสติให้ล้างท้องแล้วกินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  30-50  กรัม  ในน้ำ  1  แก้ว  รักษาตามอาการ

 

เท็ตตร้ามีธริน

(tetramethrin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์  ออกฤทธิ์โดยทางสัมผัส

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  4,640  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  มีประสิทธิภาพสูงมากในการทำให้ยุงและแมลงวันสลบได้อย่างรวดเร็ว จึงนิยมใช้ผสมกับ  (resmethrin)  หรือ  piperonyl  butoxide  เพื่อใช้กำจัดแมลงศัตรูในบ้านเรือน  โรงงานอุตสาหกรรม  และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

สูตรผสม                                 25%  อีซี  และอยู่ในรูปแอร์โรโซล

อัตราใช้และวิธีใช้                  ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก

การแก้พิษ                               ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ให้รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ข้อควรรู้                                  – เป็นพิษต่อปลา

– มีคุณลักษณะเหมือนกับ  allethrin  และ  permethrin

– ใช้กำจัดแมลงศัตรูสัตว์เลี้ยงได้

 

ไธโอไซแคลม

(thiocyclam)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลง  Trithiane  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย ฤทธิ์ในทางดูดซึมมีจำกัด

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  310  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  1,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  กำจัดหนอนผีเสื้อและหนอนด้วง

พืชที่ใช้                                   ส้ม  กะหล่ำปลี  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  ข้าว  อ้อย  และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 50%  ดับบลิวพี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงทำลายพืชที่เพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

การแก้พิษ                               ในกรณีที่คนไข้มีอาการเกิดพิษแน่ชัดว่ามาจากสารไธโอไซแคลม (อาเจียน  สั่น  หนาว  ชักและอื่น ๆ)  ให้ฉีดคนไข้ด้วยยา  L-cysteine  ขนาด 12.5-25  มก./กก.

 

ไธโอดิคาร์บ

(thiodicarb)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางกินตาย  ฤทธิ์ในทางสัมผัสมีจำกัด  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  66  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  มากกว่า 2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนหนาม  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนกระทู้  หนอนกินใบ  หนอนคืบ  หนอนชอนใบ  หนอนม้วนใบ  หนอนใยผัก หนอนกอ  หนอนกินยอดยาสูบ  หนอนหงอนยาสูบ  หนอนเจาะลำต้น  หนอนเจาะฝัก  มวนแดง  ด้วง  เพลี้ยหอย  หนอนแมลงวัน  และแมลงอื่น ๆ ที่ทำลายพืช

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ส้ม  มะนาว  องุ่น  ถั่วเหลือง  มะเขือเทศ  พืชผัก  ยาสูบ ข้าวโพด  และพืชอื่น ๆ ทั่วไป

สูตรผสม                                 37.5%  เอฟ  (F)  และ  75%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  37.5%  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด 75%  ใช้อัตรา  30-50  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีแมลงทำลายพืชที่เพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษจะมีอาการม่านตาหรี่  ตาพร่า  วิงเวียน  ปวดศีรษะ คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อกระตุก  ชัก  หมดสติและหมดลมหายใจ  ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา  จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง  น้ำตาไหล

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากและยังไม่หมดสติหรือชัก  ให้ดื่มน้ำ  1-2  แก้ว  แล้วทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  1-2  มก.  ห้ามใช้ยาพวก narcotic  sedative  และ  2-PAM  รักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  28  วัน

– อย่าผสมกับสารกำจัดเชื้อราที่มีโลหะหนักผสม  เช่น  maneb mancozeb  Bordeaux  Mixture

– อย่าใช้น้ำที่มี  pH  ต่ำกว่า  3.0  หรือสูงกว่า  8.5  ผสมกับไธโอดิคาร์บ

– จะต้องใช้  thiodicarb  ที่ผสมกับน้ำแล้วภายใน  6  ชั่วโมง

– ออกฤทธิ์ตกค้างได้นานประมาณ  7-10  วัน

 

ไธโอฟาน๊อกซ์

(thiofanox)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรคาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  8  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  39 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  แมลงหวี่ขาว  ไรแดง มวน  และด้วงบางชนิด

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  มันฝรั่ง  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  อ้อย  และธัญพืชบางชนิด

สูตรผสม                                 5%  จี

อัตราการใช้                            9.6-32  กก./ไร่

วิธีใช้                                       ใช้หว่านรอบโคนต้นหรือหยอดลงหลุมปลูก

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการวิงเวียน  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายสอ  ปวดท้อง  ท้องเสีย กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย  เหนื่อย  ตัวสั่น  ม่านตาหรี่  ชักกระตุกและหมดความรู้สึก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  1-2  แก้ว  แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้คนไข้ถ่ายท้องด้วยยา  Laxative  salt  ให้ยาอะโทรปินซัลเฟท  แล้วรักษาตามอาการต่อไป

ข้อควรรู้                                  – เป็นอันตรายต่อปลา

– ภายใต้สภาพที่เหมาะสม  จะออกฤทธิ์ควบคุมศัตรูพืชได้นาน  5-10  อาทิตย์

– เป็นอันตรายเมื่อถูกผิวหนังและหายใจเข้าไป

– เก็บไว้ในที่มิดชิด  ห่างไกลจากเด็ก  อาหารและสัตว์เลี้ยง

– ห้ามใช้กับพืชอาหาร

ไธโอมีตัน

(thiometon)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  120-130  มก./กก.  ทางผิวหนัง (หนู)  มากกว่า  1,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดแมลงปากดูด  เช่น  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยไฟ  ไร  แมลงหวี่ขาว

พืชที่ใช้                                   พืชผัก  พืชสวน  พืชไร่  ไม้ผล  มันฝรั่ง  ถั่ว  สตรอเบอร์รี่  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 25%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ใช้ตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงปากดูดทำลายพืชที่เพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

การแก้พิษ                               ใช้อะโทรปินซัลเฟท  หรือใช้ร่วมกับยาโอบิด๊อกไซม์  คลอร์ไรด์  ในทุก ๆ กรณีที่เกิดพิษ  ควรปรึกษาแพทย์

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  3  สัปดาห์

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง

– เป็นอันตรายเมื่อสัมผัสถูกหรือเมื่อกลืนกินเข้าไป

– จะได้ผลดีถ้าฉีดพ่นในตอนเช้าตรู่หรือตอนเย็น ๆ

– อย่าผสมกับ  lime  sulphur  หรือ  สารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ระยะเวลาที่ควบคุมศัตรูพืชได้  10-20  วัน

– เข้ากันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

 

ทราโลมีธริน

(tralomethrin)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์  ออกฤทธิ์กำจัดแมลงในทางสัมผัสและกินตาย

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,070  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนกัดกินใบฝ้าย  หนอนกัดตายาสูบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนคืบ หนอนกระทู้  เพลี้ยไฟ  หนอนเจาะข้าวโพด  เพลี้ยกระโดด  ตั๊กแตน  และอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ข้าวโพด  พืชผัก  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  และพืชอื่น ๆ

สูตรผสม                                 3%  อีซี

อัตราใช้และวิธีใช้                  ตามคำแนะนำบนฉลาก  ใช้เมื่อมีแมลงปรากฏให้เห็น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

ข้อควรรู้                                  – ไม่เป็นพิษต่อพืช  (non-phyto-toxic)  เมื่อใช้ตามคำแนะนำ

– เป็นพิษต่อปลา

 

ไตรอะโซฟอส

(triaxophos)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวเมีย)  64  มก./กก.  ทางผิวหนัง (หนู)  มากกว่า  1,100  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  หนอนกินใบ  หนอนเจาะลำต้น  หนอนเจาะสมอ  หนอนหนาม  หนอนกระทู้  หนอนกอ  หนอนม้วนใบ  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว  แมลงดำหนาม  มวน  และไส้เดือนฝอย

สูตรผสม                                 40%  อีซี  3%  และ  5%  จี  15%  ยูแอลวี

อัตราการใช้                            ชนิด  40%  อีซี  กำจัดแมลงทั่วไปใช้อัตรา  40-80  ซีซี  ผสมกับน้ำ 20  ลิตร  สำหรับชนิดอื่น ๆ  ใช้อัตราตามที่แนะนำบนฉลาก

วิธีใช้                                       ชนิด  40%  อีซี  ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีแมลงเริ่มระบาด  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ทำให้ผิวหนังระคายเคือง  รวมทั้งที่จมูก  ดวงตาและคอ  อาการของพิษอย่างอื่น  คือ  อ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  แน่นหน้าอก เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อเกร็ง  ม่านตาหรี่  หายใจขัด

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  หลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดเข้าเส้นโลหิตดำ  และฉีดซ้ำทุก ๆ  10-15  นาที  จนกว่าอาการจะดีขึ้น  อาจใช้ Toxogonin  รักษาร่วมด้วยก็ได้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14-21  วัน

– ฆ่าแมลงได้รวดเร็วและคงตัวอยู่ในพืชและดินได้นาน  3-4  สัปดาห์

– ความคงตัวอาจลดลงภายใต้สภาพอากาศที่ร้อนแห้ง

– เป็นอันตรายต่อผึ้งและปลา

– สามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของใบพืชได้

 

ไตรคลอร์ฟอน

(trichlorfon)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงกึ่งออร์กาโนฟอสโฟรัสและออร์กาโนคลอรีน  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  560  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  (หนู) มากกว่า  2,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  กำจัดได้ทั้งแมลงที่เป็นศัตรูพืช  ศัตรูปศุสัตว์  และในบ้านเรือน  เช่น หนอนกระทู้  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะลำต้นอ้อย  หนอนชอนใบ  มวนดอกรัก มวนเขียวข้าว  มวนแดง  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  ด้วงเง่ากล้วย  เพลี้ยหล่า แมลงวัน  screwworm  เหา  เห็บ  หมัด  และไร

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  กล้วย  องุ่น  ข้าว  ข้าวโพด  ชา  ยาสูบ  กาแฟ  อ้อย  ถั่ว กะหล่ำปลี  ส้ม  กะหล่ำดอก  พริกไทย  ฟักทอง  ถั่วเหลือง  มะเขือเทศ  โรงเรือนเลี้ยงสัตว์  และ  ปศุสัตว์

สูตรผสม                                 95%  เอสพี

อัตราการใช้                            กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  15-30  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้

วิธีใช้                                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายไหล  ท้องเดินและชัก

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้คนไข้อาเจียนทันที  โดยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท และ  2-PAM  จะใช้รักษาร่วมกันก็ได้

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14-21  วัน

– อย่าใช้กับสัตว์ที่มีอายุน้อยกว่า  3  เดือน

– อย่าใช้ฉีดพ่นฝาผนังหรือพื้นเรือน  หรือส่วนอื่น ๆ  ของโรงเรือนที่สัตว์อาจเลียได้

– ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– อย่าใช้กับสัตว์ที่จะฆ่าเป็นอาหารใน  14  วัน

– เป็นพิษต่อผึ้ง

– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

 

ไตรฟลูมูรอน

(triflumuron)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางกินตาย  โดยจะเข้ายับยั้งหรือขัดขวางการสร้างสารไคติน  (chitin)  ของแมลง  ทำให้ไข่และตัวอ่อนของแมลงไม่เจริญเติบโต  และตายไปในที่สุด  chitin  synthesis  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  ใช้กำจัดหนอนผีเสื้อ  เช่น  หนอนเจาะฝักถั่ว  หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้  ข้าวโพด  หนอนคืบ  หนอนม้วนใบ  หนอนใยผัก  หนอนด้วง  และ หนอนแมลงวันในบ่อเก็บมูลสัตว์

พืชที่ใช้                                   กะหล่ำปลี  กระเทียม  องุ่น  ข้าวโพด  หอม  ทานตะวัน  ถั่ว  ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ส้ม  ชา  กาแฟ  และผักต่าง ๆ

สูตรผสม                                 25%  ดับบลิวพี

อัตราการใช้                            ชนิด  25%  ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  20-30  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร ศึกษารายละเอียดอัตราการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก

วิธีใช้                                       ใช้ผสมกับน้ำ  กวนให้ละลายเข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ผู้ได้รับพิษอาจมีอาการระคายเคืองดวงตา  ผิวหนัง  และทางเดินหายใจ  มีอาการเหนื่อย  อ่อนเพลีย  การเกร็ง  ท้องเสีย  ชัก  ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับขนาดของวัตถุมีพิษที่ได้รับ

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  หากกลืนกินเข้าไป  ทำให้อาเจียนแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ ทำให้คนไข้อาเจียน  โดยใช้ยา  syrup  of  IPECAC  15  ml  แล้วรักษาตามอาการ

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน

– เป็นพิษต่อปลา  กุ้ง  และสัตว์น้ำที่มีการลอกคราบ

 

วามิโดไธออน

(vamidothion)

การออกฤทธิ์                          เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึมออกฤทธิ์ในทางกินตาย  cholinesterase  inhibitor

ความเป็นพิษ                          มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  103  มก./กก.  ทางผิวหนัง  1,160 มก./กก.

ศัตรูพืชที่กำจัดได้                  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  ไรแดง  แมลงหวี่ขาว  มวนแดงฝ้าย  และแมลงปากดูดอื่น ๆ

พืชที่ใช้                                   ฝ้าย  ข้าว  ยาสูบ  องุ่น  ไม้ผล  พืชผัก  พืชไร่  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป

สูตรผสม                                 40%  เอส  (S)

อัตราการใช้                            ใช้อัตรา  40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับพืชทั่วไป  ฝ้ายใช้อัตรา  80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร

วิธีใช้                                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบแมลงศัตรูพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น

อาการเกิดพิษ                          ทำให้ผิวหนัง  ดวงตา  และเยื่อบุจมูกระคายเคือง  ถ้าเข้าปากหรือดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการมึนงง  เหงื่อออกมาก  น้ำลายไหล  อาเจียน  ท้องเดิน กล้ามเนื้อท้องเป็นตะคริว  หายใจลำบาก  ตามัว

การแก้พิษ                               ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องทำให้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท  หรือ  pralidoxime

ข้อควรรู้                                  – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  6  สัปดาห์

– เป็นอันตรายต่อผึ้ง

– ห้ามผสมกับ  lime  sulphur  และสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

– ฤทธิ์ในทางดูดซึมจะอยู่ได้นาน  3-8  สัปดาห์

– ออกฤทธิ์ได้เร็ว