เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา | ||
1. ปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินมีหน่วยวัดเป็น หน่วยโคโลนี / กรัม เช่น ตรวจพบเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดิน 105 หน่วยโคโลนี / กรัม หมายความว่าในดิน หนัก 1 กรัม มีปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ 100,000 หน่วยชีวิต ( สปอร์ ) ที่จะเจริญเป็นเส้นใยได้ 2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใส่ลงดินแล้ว จะมีชีวิตอยู่รอดได้นานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน ดินร่วนซุยดี มีอินทรีย์วัตถุสูง มีใบไม้/เศษพืชปกคลุมดินเสมอ เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะอยู่รอดโดยมีปริมาณสูงได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี 3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ได้ในดินลึกกว่า 30 เซนติเมตรจากผิวดิน แต่จะเจริญสร้างเส้นใยเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคพืชได้ดีในความลึกช่วง 5 – 10 เซนติเมตร จากผิวดิน 4. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาติดต่อกันนานหลายปีไม่ทำให้เชื้อโรคพืชเกิดความต้านทานได้ แต่กลับเป็นผลดี คือ จะช่วยป้องกันโรคพืชได้อย่างต่อเนื่อง 5. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพียง 1 สายพันธุ์ไม้ได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มารหลายสายพันธุ์ร่วมกัน 6. เชื้อราไตรโคเดอร์มาไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืชที่ปลูก และสภาพแวดล้อม 7. การต่อเชื้อไตรโคเดอร์มาบ่อย ๆ อาจเกิดเชื้อกลายพันธุ์ที่เจริญได้ไม่ดี สร้างเส้นใยแต่ไม่สร้างสปอร์สีเขียว และไม่มีประสิทธิภาพควบคุมโรคได้ 8. กรณีที่พืชแสดงอาการของโรคขั้นรุนแรง ควรใช้สารเคมี เช่น เมทาแลกซิล โฟซีทิลอัล ( อาลีเอท ) กรดฟอสโฟนิค ( โฟลีอาร์ฟอส ) แมนโคเซบฯ ร่วมด้วยได้ ถ้าจะใช้สารกลุ่มเบโนมิล หรือคาร์เบนดาซิมควรใช้ก่อนหรือหลังใส่เชื้อไตรโคเดอร์มา 7 วัน 9. สามารถใช้สารเคมีควบคุมแมลงศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมี ได้ตามปกติในระหว่างการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา แต่ห้ามผสมเชื้อกับสารเคมี 10. ถ้าดินปลูกพืชเป็นกรดจัด คือ ค่าพีเอชต่ำ ( 3.5-4.5 ) จำเป็นต้องปรับค่าพีเอสให้มีค่าอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.5 ก่อนการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 11. เชื้อราไตรโคเดอร์มาพบได้ในดินเกษตรกรรมทั้งไป แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกเชื้อหรือทุกสายพันธุ์นั้นจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้ ต้องผ่านการวิจัยทดสอบเสียก่อน |
ข้อดีและข้อจำกัดเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด | ||
ข้อดี | ||
1. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดมีความพร้อมที่จะเริ่มกิจกรรมได้ทันทีที่ลงสู่ดิน ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อ เช่น สามารถเจริญและสร้างเส้นใยภายใน 3-5 ชั่วโมง เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค | ||
2. เชื้อสดจะสามารถเจริญและเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว และมีปริมาณมากกว่าเชื้อชนิดผงแห้ง | ||
3. เกษตรกรสามารถผลิตใช้ได้ด้วยตนเองโดยวิธีที่ไม่ยุ่งยากและต้นทุนการผลิตต่ำ | ||
4. มีวิธีการนำไปใช้ได้หลายวิธีแล้วแต่ความเหมาะสม | ||
5. หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเก็บได้นานถึง 1 ปี ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส หัวเชื้อในขวดที่ใช้ไม่หมด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็น แล้วนำมาใช้ต่อได้ | ||
ข้อจำกัด | ||
1. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดที่ผลิตได้ไม่สามารถเก็บรักษาให้คงสภาพเดิมได้ที่อุณหภูมิปกติ ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส | ||
2. ระยะเวลาในการเก็บรักษาเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดในตู้เย็นอุณหภูมิ 8 – 10 องศาเซลเซียส มีจำกัด คือ กำหนดให้เก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่เกิน 15 วัน | ||
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดเมื่อผสมรำละเอียดและป๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเก่า ๆ แล้วต้องใช้ให้หมด | ||
4. สำหรับวิธีการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ขั้นตอนการเตรียมยุ่งยากและต้องฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ถ้าฉีดพ่นเวลาเช้าหรือบ่ายต้องให้น้ำตามทันที | ||
5. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ต้องมีการวางแผนที่ดี เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเชื้อสด 6 – 7 วัน | ||
6. หลังใส่เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดลงดินแล้ว ต้องรักษาสภาพความชื้นในดินอย่างต่อเนื่อง | ||
แนวทางสู่ความสำเร็จของการเชื้อราไตรโคเดอร์มา | ||
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช เป็นวิธีการทางชีวภาพหรือชีววิธีที่ต้องใช้ตัวเชื้อซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่ จึงต้องพึ่งพาอาศัยสภาวะแวดล้อม และปัจจัยต่าง ๆ อีกหลายประการ นอกเหนือจากคุณภาพและประสิทธิภาพของตัวเชื้อราไตรโคเดอร์มาเอง ดังนั้นผู้ที่จะใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชให้ประสบผลสำเร็จ จึงต้องเป็นผู้ที่ให้ความสนใจและเข้าใจอย่างจริงจังหรือพยายามทำความเข้าใจในรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของเชื้อราไตรโคเดอร์มา | ||
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช ประกอบด้วย | ||
1. คุณภาพและประสิทธิภาพของเชื้อราไตรโคเดอร์มา | ||
ต้องเป็นเชื้อสายพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือก ศึกษาวิจัยทั้งด้านคุณภาพ และประสิทธิภาพควบคุมโรคมาเป็นอย่างดีแล้ว | ||
ต้องเป็นเชื้อที่เจริญสร้างสปอร์ได้ดีและรวดเร็ว บนวัสดุอาหารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุอินทรีย์ที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติ | ||
ต้องสามารถแข่งขันและต่อสู้ทำลายเชื้อสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด | ||
ต้องดำรงชีวิตอยู่รอดได้ดีในสภาพธรรมชาติที่มีความแปรผัน | ||
ต้องเป็นผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มามาจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ หรือมีหมายเลขทะเบียนแสดงการรับรองจากรมวิชาการเกษตรบนฉลากและบอกวันหมดอายุ | ||
2. วิธีการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา | ||
ต้องใช้เชื้ออย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติและข้อควรระวังที่แนะนำไว้ | ||
ต้องใช้เชื้อตามอัตราที่กำหนด | ||
ต้องใช้เชื้อในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เชื้อเพื่อป้องกันโรค ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการใช้เชื้อเพื่อรักษาโรค | ||
3. การจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม | ||
ปรับปรุงสภาพดินด้วยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ | ||
คลุมผิวดินด้วยเศษซากพืช เพื่อรักษาความชื้นในดิน | ||
ปรับสภาพความเป็นกรดของดิน ด้วยปูนมาร์ล หรือโดโลไมท์ | ||
การขุดดินตากแดด เพื่อปริมาณเชื้อโรค | ||
การตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค หรือแต่งให้ทรงพุ่มโปร่ง | ||
การขุดร่องระบายน้ำ ป้องกันสภาวะน้ำขังในสวน/แปลงปลูก |