เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา
     1. ปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดินมีหน่วยวัดเป็น หน่วยโคโลนี / กรัม เช่น ตรวจพบเชื้อราไตรโคเดอร์มาในดิน 105 หน่วยโคโลนี / กรัม หมายความว่าในดิน หนัก 1 กรัม มีปริมาณเชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ 100,000 หน่วยชีวิต ( สปอร์ ) ที่จะเจริญเป็นเส้นใยได้
2. เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใส่ลงดินแล้ว จะมีชีวิตอยู่รอดได้นานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน ดินร่วนซุยดี มีอินทรีย์วัตถุสูง มีใบไม้/เศษพืชปกคลุมดินเสมอ เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะอยู่รอดโดยมีปริมาณสูงได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
3. เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ได้ในดินลึกกว่า 30 เซนติเมตรจากผิวดิน แต่จะเจริญสร้างเส้นใยเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคพืชได้ดีในความลึกช่วง 5 – 10 เซนติเมตร จากผิวดิน
4. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาติดต่อกันนานหลายปีไม่ทำให้เชื้อโรคพืชเกิดความต้านทานได้ แต่กลับเป็นผลดี คือ จะช่วยป้องกันโรคพืชได้อย่างต่อเนื่อง
5. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพียง 1 สายพันธุ์ไม้ได้หมายความว่าจะมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มารหลายสายพันธุ์ร่วมกัน
6. เชื้อราไตรโคเดอร์มาไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืชที่ปลูก และสภาพแวดล้อม
7. การต่อเชื้อไตรโคเดอร์มาบ่อย ๆ อาจเกิดเชื้อกลายพันธุ์ที่เจริญได้ไม่ดี สร้างเส้นใยแต่ไม่สร้างสปอร์สีเขียว และไม่มีประสิทธิภาพควบคุมโรคได้
8. กรณีที่พืชแสดงอาการของโรคขั้นรุนแรง ควรใช้สารเคมี เช่น เมทาแลกซิล โฟซีทิลอัล ( อาลีเอท ) กรดฟอสโฟนิค ( โฟลีอาร์ฟอส ) แมนโคเซบฯ ร่วมด้วยได้ ถ้าจะใช้สารกลุ่มเบโนมิล หรือคาร์เบนดาซิมควรใช้ก่อนหรือหลังใส่เชื้อไตรโคเดอร์มา 7 วัน
9. สามารถใช้สารเคมีควบคุมแมลงศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมี ได้ตามปกติในระหว่างการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา แต่ห้ามผสมเชื้อกับสารเคมี
10. ถ้าดินปลูกพืชเป็นกรดจัด คือ ค่าพีเอชต่ำ ( 3.5-4.5 ) จำเป็นต้องปรับค่าพีเอสให้มีค่าอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.5 ก่อนการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา
11. เชื้อราไตรโคเดอร์มาพบได้ในดินเกษตรกรรมทั้งไป แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกเชื้อหรือทุกสายพันธุ์นั้นจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้ ต้องผ่านการวิจัยทดสอบเสียก่อน

Read More

กวางตุ้ง หรือชื่อวิทยาศาตร์ Brassica Pekinensis เป็นผักที่นิยมนำไปใช้ประโยชน์ทั้งใบและลำต้น มีระบบรากอยู่ในระดับตื้น ลำต้น ตั้งตรง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4-1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 43-54 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวมีสีเขียวตรงกลางจะเว้าเข้า ส่วนใบจริงจะแตกเป็นกระจุกที่บริเวณโคนต้น ลักษณะเรียบไม่ห่อตัว มีช่อดอกยาว 50-90 เซนติเมตร ดอกตูมรวมกลุ่มอยู่บนยอดช่อดอก ดอกบานจากด้านล่างขึ้นไปหาด้านบน อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 35-45 วัน

Read More

สารเคมีสำหรับป้องกัน และ กำจัดเชื้อรา  มีหลากหลายชนิด  และมีคุณสมบัติรวมถึงการใช้งานแตกต่างกันไป

โดยในส่วนที่รวบรวมมานี้   ท่านสามารถเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสม

ทั้งเป็นการป้องกัน ก่อนเกิดโรค  หรือ  เมื่อพบอาการที่เกิดขึ้นแล้ว

1. Carbendazim  50%  (คาร์เบนดาซิม 50%)

เป็นยาประเภทดูดซึม  ใช้ในปริมาณน้อยมาก เพียง  10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร

รักษาโรครา  — ใบแห้งขีดสีน้ำตาล ,ใบจุด ,ใบไหม้ และ โรคแอนแทรคโนส

Read More

เขียวเข้มปะขาว

มะเขือเปราะ (Thai Eggplant) เป็นมะเขือที่นิยมรับประทานสดหรือใช้ประกอบอาหาร เพราะผลมะเขือเปราะมีความกรอบ ไม่มีเส้นใย มีรสหวาน และรับประทานได้ทั้งผล

• วงศ์ : Solanaceae (วงศ์มะเขือ)
• ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum virginianum L.
• ชื่อสามัญ : Thai Eggplant
• ชื่อท้องถิ่นไทย :
ภาคกลาง และทั่วไป
– มะเขือเปราะ

Read More

หัวไชเท้า หรือ หัวผักกาดขาว จัดเป็นพืชผักประเภทให้หัวหรือรากที่นิยมใช้ประกอบอาหารจำพวกแกงต้มต่างๆ โดยเฉพาะแกงจืด นอกจากนั้น ยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หัวไชเท้าดองเค็ม รวมถึงใช้สกัดสารสำหรับทำยา และเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อผิวขาว

ผักกาดหัวเป็นพืชตระกูลเดียวกับกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และบรอกโคลี แต่ลักษณะที่แตกต่างจากพืชในตระกูลเดียวกันคือ มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “หัว” ผักกาดหัวเป็นผักหาง่ายในท้องตลาด มีขายในทุกฤดูกาล แต่หัวจะขาวอวบและเนื้อสวยเป็นพิเศษในฤดูหนาว ควรเลือกซื้อหัวที่มีผิวเรียบ อวบเต่งตึง แต่ก็ไม่ควรเลือกหัวใหญ่เกินไปเพราะอาจเป็นหัวที่แก่ เนื้อมีเสี้ยนมาก ผักกาดหัวมีหลายพันธุ์หลายสี พันธุ์ที่บ้านเรารู้จักและนิยมกินกันคือ ผักกาดหัวสีขาว หรือที่มักเรียกกันว่า หัวไช้เท้า

ผักกาดหัวปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 20 แคลอรี เนื่องจากมีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำและเส้นใยอาหาร โดยมีน้ำถึง 93.7 กรัม เส้นใยอาหาร 0.7 กรัม และสารอาหารอื่น ๆ อย่าง วิตามินบี1 บี 2 บี 3 วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม การที่ผักกาดหัวให้พลังงานต่ำ มีน้ำและเส้นใยอาหารสูง จึงเป็นอาหารที่ช่วยให้อิ่มเร็ว ทำให้ลำไส้สะอาด และดีต่อระบบย่อยอาหาร เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักหรือจำกัดแคลอรีในอาหาร

Read More