• ยับยั้งใบอ่อน
เนื่องจากปริมาณของธาตุ ไนโตรเจน(N) มีค่าเท่ากับ 0 เมื่อต้นมะนาวไม่ได้รับธาตุไนโตรเจน
ก็ทำให้พืชมีค่าไนโตรเจน(N)ที่ต่ำ ทำให้เกิดค่า C:N ratio ที่กว้าง ผลก็คือการที่มะนาวจะแตก
ใบอ่อนออกมานั้นเป็นไปได้ยากซึ่งหากเราต้องการที่จะทำให้มะนาวนั้นออกดอก เราก็ควรหลีก
เลี่ยงการใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนสูงไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยทางดินหรือปุ๋ยทางใบก็ตาม
• กระตุ้นการออกดอก
เนื่องจากปริมาณของธาตุ ฟอสฟอรัส(P) มีค่าเท่ากับ 52 ซึ่งหากมะนาวได้รับธาตุฟอสฟอรัส
อย่างเพียงพอแล้ว จะส่งผลให้รากมะนาวแข็งแรงแผ่กระจายได้ดีจึงทำให้รากดูดดึงธาตุอาหาร
ต่างๆไปใช้ได้ดี อีกทั้งธาตุฟอสฟอรัสยังมีผลในการสะสมคาร์โบไฮเดรตในใบและกิ่ง จึงทำให้
ใบสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้นจึงทำให้พืชมีค่าคาร์บอน(C)ที่สูง จึงทำให้เกิดค่า C:N ratio ที่กว้าง
ผลก็คือการที่มะนาวจะแตกตาออกมา โอกาสที่จะพัฒนาเป็นตาดอกนั้นเป็นไปได้สูง
• สะสมอาหาร
เนื่องจากปริมาณของธาตุ โพแทสเซียม(K) มีค่าเท่ากับ 34 ซึ่งมีสัดส่วนของธาตุอยู่ในระดับ
กลางถ้าเทียบกับสัดส่วนของธาตุไนโตรเจน(N)และฟอสฟอรัส(P) ในปุ๋ยโมโนโพแทสเซียม
ฟอตเฟต เมื่อมะนาวได้รับธาตุโพแทสเซียมในปริมาณที่เหมาะสมธาตุโพแทสเซียมก็จะส่งผล
ให้ไปกระตุ้นการทำงานต่างๆของเอนไซม์(enzyme) เช่นการสังเคราะห์แสง,แป้งและโปรตีน
จึงทำให้พืชมีการสะสมอาหารที่ดีเพียงพอต่อการสร้างดอกสร้างเมล็ด ตลอดไปจนสร้างเนื้อ
ผลและรสชาติที่ดีมีคุณภาพได้
วิธีการใช้ปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมฟอตเฟต(N0-P52-K34)
• ควรฉีดพ่นสะสมอาหารก่อนให้มะนาวออกดอก สัก2ครั้ง ห่างกันครั้งละ7วัน
• ช่วงที่มะนาวขาดน้ำหรือมะนาวมีใบเหี่ยวไม่ควรฉีดพ่น
• ควรฉีดพ่นในช่วงที่อากาศไม่ร้อนจัด
• ควรฉีดพ่นเป็นละอองเล็กๆให้ทั่วทั้งต้นไม่ต้องถึงขั้นให้เปียกชุ่ม