สารกำจัดแมลง (Insecticide)…ตอน 11

กลุ่ม 14 ปัจจุบันมีสารที่ขายในตลาดหนึ่งเดียว
คาร์แทบ ไฮโดรคลอไรด์ (LD50 = 345 mg/kg…..MRLs = 3.0 (Japan) เคยใช้เป็นทางเลือกกับหนอนใยในผัก แต่หลักๆแล้วก็เป็นหนอนกอต่างๆในนาข้าว มีทั้ง 50%SP. 4%G และ 3% + ไอโซโปรคาร์บ 3%G ทุกบริษัทที่ลงนาต้องมีตัวนี้

ส่วนสารอื่นๆในกลุ่ม
เบนซัลแทบ ขึ้นทะเบียนเพื่อขายกับหนอนห่อใบข้าว กับราชการเท่านั้น
ไทโอไซแคลม ก็เป็นตัวเลือกกับหนอนใย แต่พอเปลี่ยนมือไปเป็น BASF ก็ปิดฉากลง

กลุ่ม 15 ระงับการสร้างไคตินของหนอนผีเสื้อ (Insect Growth Regulator IGR) มีบทบาทสูงมากกับหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะ และยังคงมีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายๆพืช ทั้งยังใช้กับหนอนเจาะดอก หนอนแมลงวันผลไม้ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ

คลอฟลูอาซูรอน (LD50 >5,000 mg/kg…..MRLs = 2.0 ppm. (Japan) ข้อมูลระบุว่าใช้ได้กับ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟด้วย
ไดฟลูเบนซูรอน (LD50 >4,640 mg/kg…..MRLs = 1.0 ppm.) ใช้ผสมในอาหารหมู เพื่อควบคุมหนอนแมลงวันในขี้หมู
ลูเฟนูรอน (LD50 >2,000 mg/kg…..MRLs = 1.0 ppm.)
โนวาลูรอน (LD50 >5,000 mg/kg…..MRLs = 0.6 ppm.)
ไตรฟลูมูรอน (LD50 >5,000 mg/kg) มีบริษัทนำเข้ามาขึ้นทะเบียนใหม่ คงมีตัวเลือกเพิ่มให้ใช้

เทฟลูเบนซูรอน ฟลูฟีนอกซูรอน หนึ่งในพระเอกของยุคนั้น ซึ่งการใช้ซ้ำโดยไม่รู้ หนอนก็พัฒนาความต้านทานอย่างรวดเร็ว ก็เป็นแนวทางให้เราเข้าใจและหมุนเวียนการใช้สารต่อๆมา

เฮกซาฟลูมูรอน (LD50 >5,000 mg/kg) นำเข้ามาใช้กำจัดปลวกในบ้านเรือน ในรูป 0.5%W/W cellulose-based bait matrix แบบตายยกรัง และมีผลกระทบน้อยกับสิ่งแวดล้อม

กลุ่ม 16 ระงับการสร้างไคตินของแมลงอันดับโฮมอปเทอรา เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว
แมลงในกลุ่มนี้ตัวอ่อน (nymph) จะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าและอวัยวะบางส่วนยังพัฒนาอยู่ ตัวสารออกฤทธิ์ยับยั้งการลอกคราบ เพราฉะนั้นต้องหมั่นสำรวจการระบาดและใช้หลังจากใช้สารกำจัดตัวแก่แล้ว สารยังส่งผลไปถึงไข่ที่ตัวเมียวางไม่ฟักออกเป็นตัว ไม่ใช่สารคุมไข่นะ

บูโพรเฟซิน (LD50 = 2,198 mg/kg…..MRLs = 2.0 ppm.)