กลุ่มของสารและกลไกการออกฤทธิ์

กลุ่มแม่ทัพ ใช้เป็นหลักในการหยุดยั้งการระบาดอย่างรวดเร็ว
กลุ่ม 5 สปินโนแซด – ซัคเซส , สไปนีโทแรม – เอ็กซอล
กลุ่ม 13 คลอร์ฟีนาเพอร์ – แรมเพจ , แฟนทอม
กลุ่ม 18 เมทอกซีฟีโนไซด์ – โปรดีจี้ , เพเซอร์
กลุ่ม 21 โทลเฟนไพเรด – ฮาชิ-ฮาชิ
กลุ่ม 28 ไซแอนทรานิลิโพรล – บีนีเวียร์
กลุ่ม 29 ฟลอนิคามิด — เทปเปกิ

Read More

กลุ่ม 26 และ 27 ยังปล่อยว่างรอสารฯใหม่ๆ

กลุ่ม 28 รบกวนระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ออกฤทธิ์แบบกินตายและสัมผัส
ฟลูเบนไดเอมายด์ (LD50 > 2,000 mg/kg…..MRLs = 0.2 ppm.) เป็นสารฯที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง Nihon Nohyaku และ Bayer Crop Science โดยนิฮอน โนยาคุ ให้ บ.ทีเจซี วางในชื่อ ทาคูมิ นับเป็นสารที่ราคาแพงที่สุด 33,000.00 บาท/กก. ดีเยี่ยมกับหนอนกระทู้ต่างๆ รวมถึงหนอนผีเสื้อต่างๆ ในส่วนของไบเออร์นำเข้ามาทำในรูปคู่ผสม (combination) แบบจัดเต็ม ฟลูเบนไดเอมายด์ + ไทอะคลอพริด — เบลท์ เอ็กซเพิร์ท

Read More

กลุ่ม 23 รบกวนระบบพลังงาน การสังเคราะห์ไขมัน มีสารฯทั้งหมด 3 ชนิด เป็นของไบเออร์ทั้งหมด ก็อยู่ที่ว่าจะจัดมาลงเวทีอย่างไร

สไปโรไดคลอเฟน (LD50 > 2,500 mg/kg….MRLs = 0.2 ppm.) ยังไม่มีการวางตลาดในบ้านเรา

สไปโรมีซีเฟน (LD50 > 2,500 mg/kg…..MRLs = 0.5 ppm.) ใช้กำจัดไร ไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์สัมผัสและกินตาย มีผลต่อการพัฒนาทุกระยะ ส่งผลไปถึงการเจริญพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่น้อยลง และคุมไข่ด้วย ทั้งยังมีฤทธิ์กำจัดแมลงหวี่ขาวด้วย

Read More

กลุ่ม 21 รบกวนระบบพลังงาน เป็นกลุ่มใหญ่ที่เน้นใช้กับไร ออกฤทธิ์สัมผัสและกินตาย มีผลกระทบกับการฟักของไข่ไรด้วย เฉพาะ โทลเฟนไพเรด เยี่ยมมากสำหรับหนอนใย และยังมีผลกับเพลี้ยไฟด้วย

ฟีนาซาควิน (LD50 =134 mg/kg…..MRLs 0.5 ppm.) ออกฤทธิ์สัมผัสแบบเฉียบพลันและมีผลกับไข่ไรด้วย
เฟนไพรอคซีเมท (LD50 = 480 mg/kg…..MRLs = 0.3 ppm.) ออกฤทธิ์สัมผัสแบบเฉียบพลันและมีผลกับการลอกคราบของตัวอ่อน
ไพริดาเบน (LD50 = 1,350 mg/kg…..MRLs = 0.5 ppm.) ออกฤทธิ์สัมผัสแบบเฉียบพลันและมีฤทธิ์นานส่งผลโดยเฉพาะกับตัวอ่อนทุกวัย นอกจากกำจัดไรแล้ว ยังมีผลกับแมลงหวี่ขาว เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟด้วย
ทีบูเฟนไพเรด (LD50 = 595 mg/kg…..MRLs = 0.5 ppm.) ออกฤทธิ์สัมผัสและกินตายกับไรทุกระยะ สามารถแทรกซึมผ่านผิวใบส่งผลต่อไข่ไรด้านหลังใบ ในตลาดได้แต่งตัวใหม่มาแบบจัดเต็ม ราคาสูงแต่ต้องคิดราคา/ปีบ จะเห็นว่าน่าใช้ทีเดียว

Read More

กลุ่ม 17 รบกวนการลอกคราบ ของพวก 2 ปีก (Diptera) เช่น หนอนแมลงวัน

ไซโรมาซีน มีการนำเข้ามาใช้ในปศุสัตว์ สำหรับ แมลงวัน เหลือบ ไม่ได้วางตลาดทั่วไป

กลุ่ม 18 รบกวนฮอร์โมนที่ควบคุมการลอกคราบ ใช้กับ หนอนผีเสื้อทั้งหลาย ออกฤทธิ์แบบกินตาย (ingestion) มีฤทธิ์ทางสัมผัสน้อย และส่งผลกับการฟักตัวของไข่ในผีเสื้อบางชนิด
โครมาฟีโนไซด์ ปัจจุบันเป็นของ มิตซุย แต่ไม่ได้ทำตลาดในบ้านเรา
ที่เหลืออีก 3 สาร เป็นของดาว อะโกรซายน์ เลือกมาทำตลาดในบ้านเราแค่ 2 สาร

ทีบูฟีโนไซด์ (LD50 > 5,000 mg/kg…..MRLs = 1.0 ppm.) สารแรกของกลุ่มนี้
เมทอกซีฟีโนไซด์ (LD50 > 5,000 mg/kg….MRLs = 1.0 ppm.)

ฮาโลฟีโนไซด์ (LD50 = 2,850 mg/kg) สารตัวล่าสุดของกลุ่ม ไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา

Read More

กลุ่ม 14 ปัจจุบันมีสารที่ขายในตลาดหนึ่งเดียว
คาร์แทบ ไฮโดรคลอไรด์ (LD50 = 345 mg/kg…..MRLs = 3.0 (Japan) เคยใช้เป็นทางเลือกกับหนอนใยในผัก แต่หลักๆแล้วก็เป็นหนอนกอต่างๆในนาข้าว มีทั้ง 50%SP. 4%G และ 3% + ไอโซโปรคาร์บ 3%G ทุกบริษัทที่ลงนาต้องมีตัวนี้

ส่วนสารอื่นๆในกลุ่ม
เบนซัลแทบ ขึ้นทะเบียนเพื่อขายกับหนอนห่อใบข้าว กับราชการเท่านั้น
ไทโอไซแคลม ก็เป็นตัวเลือกกับหนอนใย แต่พอเปลี่ยนมือไปเป็น BASF ก็ปิดฉากลง

Read More

กลุ่ม 12 มี 4 กลุ่มย่อยที่เน้นใช้ในการกำจัดไรศัตรูพืช
กลุ่มย่อย 12A ไดอะเฟนไทยูรอน (LD50 = 2,000 mg/kg …..MRLs = 0.02 ppm. (Japan)
กลุ่มย่อย 12B เฟนบูทาติน ออกไซด์ (LD50 = 3,000 mg/kg…..MRLs = 1.0 ppm.)
กลุ่มย่อย 12C โพรพาไกท์ (LD50 = 2,843 mg/kg…..MRLs = 2.0 ppm.)
กลุ่มย่อย 12D เตตระไดฟอน (LD50 >14,700 mg/kg….MRLs = 0.01 ppm.)

ไดอะเฟนไทยูรอน จัดอยู่ในกลุ่ม IGR (Insect Growth Regulator) เปิดตัวเป็นพระเอกกำจัดหนอนใย แล้วเปลี่ยน MoA มาเป็นสารกำจัดไร ทั้งยังใช้ได้กับแมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่ฟ้า

Read More

กลุ่ม 11 เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซีส (Bacillus thuringiensis) มีประมาณ 57 subsp. ที่ทำเป็นธุรกิจจริงๆมีเพียง

กลุ่มย่อย 11B1 บาซิลลัส ทูริงเยนซีส ซับสปีซีร์ ไอซาไว ซีโรไทพ์ H-7 (Bacillus thuringiensis subsp. aizawai serotype H-7) หรือ Bta
……..สร้างผลึกพิษ Cry IAa , Cry IAb , Cry IC , Cry ID…..กำจัดหนอนผีเสื้อ

กลุ่มย่อย 11B2 บาซิลลัส ทูริงเยนซีส ซับสปีซีร์ เคอสตากิ ซีโรไทพ์ 3a3b (Bacillus thuringiensis subsp kurstaki serotype 3a3b) หรือ Btk………..สร้างผลึกพิษ Cry I , Cry II , Cry III…..กำจัดหนอนผีเสื้อ

Read More

กลุ่ม 9 เดิมๆบอกว่าช่วยยับยั้งการกินของแมลงในอันดับโฮมอปเทอรา มาปีนี้ว่าลึกลงไปถึงกลุ่มเส้นประสาท(Chordotonal organ ขอโทษไม่มีความรู้เลย ต้องยกให้ผู้รู้อื่นๆเข้ามาช่วยแล้วละ) ที่มีผลต่อแมลงทั้งยับยั้งการกิน ทำให้กล้ามเนื้อขาล้มเหลว การเคลื่อนไหวไม่สมดุลย์ และตายในที่สุด แบบว่าไม่ได่ฆ่าในทันที แต่แมลงที่ได้รับสารจะหยุดการทำลาย และตายใน 1-4 วัน การใช้สารในกลุ่มนี้จะต้องมีการสุ่มตรวจตลอดเวลา เพราะแนะนำให้ใช้ในช่วงแรกของการระบาด ให้ใช้ 2 ครั้งต่อเนื่องกันห่างกัน 7 วัน แล้วสลับด้วยสารกำจัดแมลงกลุ่มอื่นที่ต่างกลไกการออกฤทธิ์

Read More

กลุ่ม 7 สารในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของแมลงมีผลในทุกระยะตั้งแต่ตัวอ่อนไปจนถึงตัวแก่ โดยจะส่งผลไปถึงการวางไข่ การฟักของไข่ (สารกำจัดแมลงที่บอกว่าคุมไข่ก็เป็นในลักษณะคล้ายๆกันนี้ ใช้กับตัวเต็มวัย แล้งส่งผลถึงไข่)

กลุ่มย่อย 7A ไฮโดรปิน….คีโนปิน…..เมโทรปิน มีการนำเข้ามาทดสอบทั้งในด้านสาธารณะสุข (ยุง แมลงรำคาญ) ด้านปศุสัตว์ (แมลงวัน เหลือบ)
กลุ่มย่อย 7B ฟีนอกซีคาร์บ (LD50 = 10,000 mg/kg) ถ้าสารใหม่ๆมีปัญหาแมลงสร้างความต้านทานเร็ว คงจะมีการนำสารกลุ่มนี้เข้ามาช่วยตัด
กลุ่มย่อย 7C ไพริโพรซีเฟน (LD50 = 5,000 mg/kg …..MRLs = 1.0 ppm.)

Read More