กลุ่ม 12 มี 4 กลุ่มย่อยที่เน้นใช้ในการกำจัดไรศัตรูพืช
กลุ่มย่อย 12A ไดอะเฟนไทยูรอน (LD50 = 2,000 mg/kg …..MRLs = 0.02 ppm. (Japan)
กลุ่มย่อย 12B เฟนบูทาติน ออกไซด์ (LD50 = 3,000 mg/kg…..MRLs = 1.0 ppm.)
กลุ่มย่อย 12C โพรพาไกท์ (LD50 = 2,843 mg/kg…..MRLs = 2.0 ppm.)
กลุ่มย่อย 12D เตตระไดฟอน (LD50 >14,700 mg/kg….MRLs = 0.01 ppm.)
ไดอะเฟนไทยูรอน จัดอยู่ในกลุ่ม IGR (Insect Growth Regulator) เปิดตัวเป็นพระเอกกำจัดหนอนใย แล้วเปลี่ยน MoA มาเป็นสารกำจัดไร ทั้งยังใช้ได้กับแมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไก่ฟ้า
อะโซไซโคลติน ไม่มีการนำเข้า
ไซเฮกซาติน (ban พค. 2531)
เฟนบูทาติน ออกไซด์ เป็นตัวเลือกสลับที่ดี แต่ค่อนข้างหาของยาก
โพรพาไกท์ สูตรผงต้องระมัดระวังในการใช้ บางพืชเกิดอาการใบไหม้ โดยเฉพาะถ้าใช้ร่วมกับสารน้ำมัน หรือสารกำจัดแมลงพวกอีซี หรือสารที่เป็นด่างจัด
เตตระไดฟอน คุมไข่และตัวอ่อนแบบเดียวกับ เฮกซีไทอะซอค แม้จะเก่าแต่ก็ลายครามนะ
กลุ่ม 13 ในบ้านเรามีเข้ามาเพียงหนึ่งเดียว
คลอฟีนาเพอร์ (LD50 = 441 mg/kg……MRLs = 0.01 ppm.)เน้นใช้กับหนอนกระทู้ หนอนเจาะ หนอนใย ไร
ในช่วงของ American Cyanamid ปี 2000 ได้ถูกปฏิเสธในการใช้ในฝ้าย ด้วยเหตุผล ตกค้างในธรรมชาตินานและมีผลกับการขยายพันธุ์ของนก ปี 2001 ให้ใช้ในพืชอุปโภค เฉพาะในโรงเรือน…………ต่อมาเปลี่ยนเป็นของ BASF ได้มีการจัดขึ้นทะเบียนใหม่ ใช้เป็นสารกำจัดไร และกำจัด มดและปลวก ในงานก่อสร้างอาคารต่างๆ
ในบ้านเราก็เป็นตัวเลือกสำหรับหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก