ธาตุโมลิดินั่ม Mo

เป็นจุลธาตุ ที่ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์ (ทำให้การทำงานของไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น) และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ธาตุโมลิดินั่ม จะเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ซึ่งจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนไนเตรต ไปเป็น ไนไตรต์ (หน้าที่การควบคุมไนเตรตในพืช) เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยอย่างยิ่งในพืชตระกูลถั่ว (การตรึงไนโตรเจน) และธาตุโมลิดินั่มยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ผลไม้แก่เร็ว สุกเร็วขึ้น ในผลไม้ที่มีสารไนเตรตสูง จะทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไนเตรตให้เป็นกรดอะมิโน เป็นโปรตีน และเป็นน้ำตาล ทำให้ผลไม้มีรสหวาน

ดินที่มีปุ๋ยคอก (มูลสัตว์ต่างๆ) หรือดินที่มีการปลูกพืชคลุมอยู่หนามากๆ มักจะมีธาตุโมลิดินั่มอย่างพอเพียงและอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตได้ ความต้องการธาตุโมลิดินั่มในพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช และพวกหญ้าต่างๆ เป็นพืชที่มีโมลิดินั่มประกอบอยู่สูง เมื่อเทียบกับพืชอย่างอื่นพวกวัชพืชต่างๆ จะมีปานกลาง ที่มีต่ำสุดได้แก่ พวกผักกาดต่างๆ (ในบรรดาผักทั้งหมด ปรากฎว่ากะหล่ำดอกเป็นผักที่ไวต่อการขาดธาตุโมลิดินั่ม มากที่สุด)

อาการของพืชเมื่อขาดธาตุโมลิดินั่ม
(ในพืชแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน)
1.พืชจะมีอาการคล้ายขาดไนโตรเจน ใบจะมีลักษณะโค้งคล้ายถ้วย (ธาตุโมลิดินั่มในพืชเป็นธาตุที่เคลื่อนย้ายได้ เมื่อขาดอาการจะเริ่มให้เห็นจากโคนต้นขึ้นไปหายอด)
2.ในกะหล่ำดอก เกิดอาการใบหนาบวม สีเขียวแกมเทา ขอบใบม้วนขึ้นบน บางครั้งใบจะมีลักษณะห่อเป็นกรวย ขาดมากๆ ใบจะมีแต่แกนไม่มีเนื้อใบ (หรือมีแต่เล็กน้อย) ส่วนเจริญที่ยอดหรือปลาย ต้น กิ่ง จะถูกทำลาย ทำให้ไม่มีการสร้างดอก ผล ชะงักการเจริญเติบโต
3.ผักที่มีใบบาง เช่นผักกาดหอม ยอดจะแห้งตาย แคระแกรน ขอบใบม้วน มีสีซีดจาง หรือสีเหลือง  ใบจะค่อยๆแห้งและบางลงคล้ายกระดาษ
4.ในผลไม้จะสุกช้ากว่าปกติ และจะไม่ค่อยมีรสหวาน
5.ดินที่เป็นด่างจัดๆ แม้ในดินนี้จะมีธาตุโมลิดินั่มอยู่มาก แต่ก็ไม่ละลายน้ำ พืชจึงไม่สามารถนำไปใช้ได้ (พืชจะใช้โมลิดินั่มได้ดีก็เฉพาะในดินที่เป็นกลาง pH 7.0 เท่านั้น
6.ดินที่เป็นกรด ดินที่ใส่ธาตุเหล็ก ดินทราย ดินที่ใส่ปุ๋ยพวกซัลเฟตมาก ดินที่ใส่ปูนเพื่อปลูกพืชหมุนเวียน จะขาดธาตุโมลิดินั่ม
*** ดินที่มีธาตุโมลิดินั่มมาก ในระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อการปลูกพืชได้ จะแก้ไขโดยเติมสารที่ทำให้ดินเปลี่ยนสภาพ เป็นกลาง เช่นจุนสี หรือปูนขาว เพื่อให้ดินดังกล่าวเปลี่ยนสภาพเป็นกรด หรือ ด่างอย่างอ่อนๆ พืชก็จะสามารถเอาธาตุโมลิดินั่มไปใช้ได้น้อยลง ***