ปกติจะมีอยู่ในอากาศจำนวนมาก ในรูปของก๊าซไนโตรเจน แต่พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ (ยกเว้นพืชตระถั่วเท่านั้นที่สามารถแปรรูปก๊าซไนโตเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมาก เพราะต้องใช้ในการเจริญเติบโต สร้างกรดอะมิโน สร้างโปรตีน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และวิตามินในพืช แหล่งของธาตุไนโตรเจนในดินคือ อินทรีย์วัตถุ

Read More

มีหน้าที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของรากพืช (จะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายในดินอย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี) ควบคุมการออกดอกออกผล (ได้อย่างรวดเร็วขึ้น) และการสร้างเมล็ด ธาตุฟอสฟอรัสในดิน จะเกิดจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดใน และการสลายตัวของสารอินทรีย์วัตถุในดินก็สามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ซึ่งการใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้ว ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย
การนำธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ของพืช

Read More

เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่หลายชนิดในดิน พืชจะสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ต้องอยู่ในรูปอนุมูลบวก หรือ “โปแตสเซี่ยม ไอออน” เท่านั้น อนุมูลโปแตสเซี่ยมในดินอาจจะอยู่ใน “น้ำในดิน” หรือถูกยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียว (เป็นส่วนใหญ่) ดังนั้นดินที่มีเนื้อละเอียด อย่างดินเหนียวจึงมีปริมาณธาตุอาหารโปแตสเซี่ยมสูงกว่าดินที่มีเนื้อหยาบ อย่างดินทราย หรือดินร่วนปนทราย (แม้ว่าจะถูกดูดยึดจากอนุภาคดินเหนียว แต่รากพืชก็สามารถดึงธาตุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายๆ พอๆ กับที่มันละลายอยู่ใน น้ำในดิน)

Read More

เป็นธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K ซึ่งมาจากองค์ประกอบหลายชนิด ที่เรารู้จักกันมากในกลุ่มของเกลือแคลเซี่ยมอิสระ พวกปูนต่างๆ ได้แก่ หินปูน โดโลไมท์ ยิปซั่ม ฯลฯ ธาตุแคลเซี่ยมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ อยู่ในรูปของของ แคลเซี่ยมเพคเตต ช่วยในการแบ่งเซลล์ ช่วยในการสร้างโปรตีน และช่วยในการทำงานของเอมไซม์
ธาตุแคลเซี่ยมที่อยู่ในดิน มี 2 รูป คือ อินทรีย์แคลเซี่ยม พืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไพติน และแคลเซี่ยมเพคเนต พืชจะนำไปใช้ได้จะต้องถูกจุลทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนจากอินทรีย์แคลเซี่ยมไปเป็น อนินทรีย์แคลเซี่ยมก่อน จะอยู่ในรูป “แคลเซี่ยม ไอออน”

Read More

ธาตุแมกนีเซี่ยม คือธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K พืชที่มีสีเขียวทุกชนิดต้องการเพื่อการเจริญเติบโต เนื่องจากแมกนีเซี่ยมมีส่วนร่วมในการสร้างเม็ดสีเขียว ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ การทำงานของระบบเอมไซม์ และยังช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัส (จากส่วนที่แก่ไปยังส่วนอื่นๆ ที่อ่อนกว่าของต้น) ช่วยในการสร้างไขมันในพืช  รวมทั้งช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อบางชนิด นอกจากนี้แล้วแมกนีเซี่ยมยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์โดยอยู่ในรูปของ แมกนีเซี่ยม เพคเตท

Read More

เป็นธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K  พืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก แต่มีความจำเป็นต่อพืชมาก เพราะธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน และโปรตีน และวิตามินบางชนิด และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารระเหยในพืช (ทำให่พืชมีกลิ่นเฉพาะตัว) เช่น กระเทียม หัวหอม ทุเรียน ฯลฯ

Read More

เป็นธาตุที่พืชต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า”จุลธาตุ” มีความสำคัญต่อพืชคล้ายๆ ธาตุเหล็ก กล่าวคือ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ หลายชนิด  ช่วยในขบวนการอ็อกซิเดชั่น – รีดั๊กชั่น ในขบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ (เป็นองค์ประกอบของคลอโรพลาสต์) (มีส่วนใน ขบวนการ Metabolism ของ Fe และ N)

Read More

เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า “จุลธาตุ”
ธาตุเหล็กจะพบในดินมาก แต่ไม่ได้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชนต่อพืช ซึ่งปัญหาในการขาดธาตุเหล็กในพืชไม่ใช่เพราะธาตุเหล็กในดินมีปริมาณน้อย แต่เกิดจากการไม่ละลายและความไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชของธาตุเหล็กในดิน เช่นดินที่มีความเป็นกรดด่างมากๆ ธาตุเหล็กจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเลย แต่ในดินที่มีน้ำขังจะให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อพืชสูงขึ้น ธาตุเหล็กพืชจะนำไปใช้ได้ต้องมีค่า pH ของดินหรือน้ำอยู่ระหว่าง 5.5-5.6 ถ้าต่ำกว่านี้จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะมะเขือเทศ พริก และพืชตระกูลแตงต่างๆ เมื่อรับธาตุเหล็กมากเกินไป ใบจะด่างลาย (คล้ายกับอาการ Mosaic) หยุดการเจริญเติบโต ใบม้วนลงด้านล่าง ซีดเหลืองทั้งใบ (ดินที่มีธาตุเหล็กมากเกินจนเป็น อันตรายต่อพืชได้แก่ ดินทราย ดินลูกรังที่มีสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม)

Read More

เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ขาดไม่ได้ หรือเรียกว่า “จุลธาตุ”
สังกะสีจะทำหน้าที่ร่วมในกระบวนการอ๊อกซิเดชั่น ของเซลล์พืช ช่วยในการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรท การควบคุมการใช้น้ำตาลของพืช เป็นตัวร่วมในการผลิตคลอโรฟิลล์ และเป็นส่วนประกอบของอ๊อกซิน และฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
ธาตุสังกะสีจึงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ของพืช ได้แก่
1.ขบวนการ การสังเคราะห์แสง และการสร้างน้ำตาล
2.การสังเคราะห์โปรตีน
3.การเจริญพันธุ์ และการเพาะเมล็ด
4.การเจริญเติบโตของพืช
5.การตัานทานต่อโรคพืช

Read More

เป็นจุลธาตุที่สำคัญต่อพืชธาตุหนึ่ง แม้ว่าพืชจะดูดดึงไปใช้น้อยกว่า ธาตุเหล็ก แมงกานีส สังกะสี เนื่องจากธาตุทองแดงมีบทบาทสำคัญในขบวนการสังเคราะห์แสง ขบวนการสร้างคลอโรฟิลล์ ระบบหายใจของพืช ระบบระเหยน้ำ ช่วยในการสืบพันธุ์ ขยายพันธุ์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของเอ็นไซม์ หลายชนิด นอกจากนั้นยังพบว่าธาตุทองแดงยังเป็นตัวช่วยทำให้ธาตุอื่น บางชนิดเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วยธาตุทองแดงที่อยู่ในดินจะมีหลายสภาพ เช่น ไอออนที่แลกเปลี่ยนได้ (อยู่ที่ผิวของคอลลอยด์) บางส่วนอยู่ในสภาพสารประกอบอินทรีย์ (ซึ่งละลายได้ยาก พืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้)) และอยูในสภาพไอออนละลายอยู่ในดิน (พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้)

Read More