มาตราส่วน :ชาวบ้าน
1 ช้อนโต๊ะ = 15 ซีซี
1ช้อนชา = 5 ซีซี
1/2ช้อนชา = 2.5 ซีซี
1/4ช้อนชา = 1.25 ซีซี
1 ช้อนกาแฟ(บ้านเรา) = 2.5 ซีซี
1 ช้อนแกง = 10 ซีซี
1 ฝากระทิงแดง = 4 ซีซี
1 ฝาเอ็มร้อย = 6-6.5 ซีซี
1 ช้อนโต๊ะกินข้าว = 10 ซีซี

มาเริ่มกันที่ ยาพื้น หรือยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ใช้กำจัดหนอนพื้นๆหรือชนิดที่เรียกว่าตายง่าย ใจเสาะค่ะ ยาที่เรียกว่าโดดเด่นและมีการใช้แพร่หลายมากที่สุดในกลุ่มนี้ก็คือ อะบาเม็กติน ใช้เยอะ ขายเยอะ จนแทบจะเรียกได้ว่า เจอหนอนต้องอะบาเม็กตินก่อนเลย อะบาเม็กตินเป็นยาที่คาดว่าน่าจะมีมูลค่าการนำเข้าสูงเป็นอันดับต้นๆในกลุ่มยาหนอน มูลค่าการนำเข้าอาจจะเหยียบ 500 ล้านบาทเลยทีเดียว แน่นอนว่ามูลค่าการขายย่อมมากกว่านี้อีกเยอะ ต้องบอกว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ธรรมดาเลย นั่นเพราะหลายองค์ประกอบของ อะบาเมกติน ตอบโจทย์ ตั้งแต่ ราคายาไม่แพงหรือถูกที่สุดในกลุ่มยาหนอน (1 ลิตร 250-350 บาท) ร้านค้ามีกำไรดี จึงเป็นยาที่ถูกแนะนำให้ใช้บ่อย หาซื้อได้ง่าย รวมทั้งประสิทธิภาพที่ดี เพราะถ้าประสิทธิภาพไม่ดีตัวเลขนี้เกิดไม่ได้จากเหตุผลแค่ราคาถูกและร้านค้ามีกำไรดี อะบาเมกตินจึงไม่ใช่ยากระจอก แต่มันคือยาที่ไม่ธรรมดาในกลุ่มยาพื้น อะบาเม็กตินถูกนำมาใช้ตั้งแต่หนอนที่ตายง่าย อย่าง หนอนชอนใบศัตรูยอดฮิตในกลุ่มพืชตระกูลส้มและมะนาวที่ปลูกกันเกลื่อนเมืองอยู่ตอนนี้ ซึ่งจริงๆแล้วหนอนชอนใบไม่ใช่ศัตรูที่น่ากังวลเลยในพืชตระกูลส้มซึ่งได้เปรียบตรงที่ต้นมีความแกร่งอยู่แล้ว ใบมันหนาและแกร่ง ต่อให้มันชอนเยอะแค่ไหนต้นก็ไม่ตายค่ะ ต่อไปชาวสวนส้ม มะนาวไม่ต้องกังวลแล้วนะคะกับหนอนชอนใบ แต่ถ้าเป็นแตงหรือพืชที่มีความแกร่งน้อยกว่าก็จะน่ากังวลกว่าค่ะ อะบาเม็กตินยังใช้กับหนอนเขียวหรือหนอนอื่นๆที่ตัวไม่ใหญ่มาก และไม่ดุร้ายมาก ฉีดอะบาเม็กตินตายเรียบค่ะ แต่ในบางพื้นที่ที่มีการใช้อะบาเม็กตินเยอะ ด้วยเหตุผลที่ใช้มานานและใช้เยอะมากๆๆๆ (อาจจะใช้ฆ่าทั้งหนอนและเพลี้ยไฟด้วย)ก็อาจจะทำให้เกิดการดื้อได้ในบางพื้นที่ ฉีดอะบาเม็กตินแล้วหนอนไม่ตาย ก็ไม่มีอะไรมากค่ะ แค่เปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นที่ดีกว่าหรือราคาสูงกว่าอะบาเม็กติน ซึ่งก็อาจจะเป็น ฟิโปรนิล ซึ่งถือว่าเป็นยาที่มีความโดดเด่นหลายอย่างตั้งแต่ความสามารถในการควบคุมศัตรูพืชได้หลากหลายมาก ตั้งแต่ หนอน เพลี้ย และแมลงอื่นๆไปจนถึง มด ปลวกค่ะ ข้อดีอีกอย่างของฟิโฟรนิลมีความปลอดภัยสูงและกลิ่นไม่แรง จึงสามารถใช้พ่นศัตรูในบ้านได้ค่ะ ราคาก็จะสูงขึ้นมาอีกนิดค่ะ ลิตรละ 650-800 แต่ฟิโปรนิลก็ยังเป็นยาที่หาซื้อยากในบางพื้นที่เพราะยังมีขายไม่แพร่หลายค่ะ มีไม่กี่บริษัทที่มีทะเบียนค่ะ และเพราะความหายากนี่เองจึงทำให้ยังมีการใช้ไม่มาก ก็เลยยังไม่ค่อยดื้อค่ะ

Read More

อะบาเม็กติน (Abamectin) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อการค้าเอ.จี.บา, ไดเมทิน, แอ็กโกรติน, อบามา, เจ๊คเก็ต เป็นต้น นั้นเป็นสารกำจัดแมลง (Insecticide) ที่เกิดจากกระบวนการหมักแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินชื่อ Streptimyces avermitilis สารที่สกัดได้คือ avermectin B1a และavermectin B1b ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและความเป็นพิษคล้ายคลึงกัน แต่ตัวที่สามารถแสดงถึงประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงก็คือสาร avermectin B1a คือต้องมีมากกว่า 80 % ของสารออกฤทธิ์ ฉะนั้นสินค้า ที่มีคุณภาพส่วนใหญ่ที่ผลิตในรูปสารออกฤทธิ์ 1.8 % W/V EC นั้นต้องมีavermectin B1a อยู่มากกว่า 1.44 % นั่นเอง

Read More

ผลิตภัณฑ์ หรือยาในกลุ่มสาร ไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ซึ่ง ตัวยาหรือสารออกฤทธคือ Cypermethrin

ความรู้เกี่ยวกับยาไซเพอร์เมทรินเป็นผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มของ อย. เพื่อสาธารณสุข มิใช่ทางการเกษตร
ซึ่ง ผลิตภัณฑ์ กำจัดแมลง ยุง แมลงบิน แมลงวัน แมลงหวี่ แมลงสาบ รวมถึงแมลงคลานเช่น
ไร เห็บ หมัด มด และแมลงคลานชนิดอื่น ซึ่งตัวยาที่มีสารออกฤทธิ์ ไซเพอร์เมทริน Cypermethrin
หรือบางทานอาจเรียกติดปากว่า ยาไซเปอร์ ก็คือยาตัวเดียวกัน ซึ่ง ในประเทศเราจะมีหลายยี่ห้อ
อย่างเช่น ฟอลโร่ ไบเทค100 ฟาเดล ไซเพอร์การ์ด 10 อีซี เป็นต้น แต่ทุกแบรน หรือทุกยี่ห้อ ก็คือมียา
ตัวเดียวกันคือ ไซเพอร์เมทริน

Read More

        คำแนะนำการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามเอกสารเผยแพร่ของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร สำหรับการดูแลพืชตระกูลกะหล่ำและคะน้า เมื่อมีการระบาดของแมลงศัตรูผักแนะนำให้พ่นด้วยสารต่อไปนี้
ตารางที่ 1 สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชตระกูลกะหล่ำ
แมลงศัตรู
สารเคมีป้องกันกำจัด
หนอนใยผัก
สารเคมีร้ายแรง
มาลาไทออน (มาลาไทออน เอสอี 57% EC) / เมโทมิล (แมกซีน 40% SP) / ไดโครโตฟอส (ไดฟอส 24% SC) / คาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
อะบาเม็กติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8% EC )
แบคทีเรีย (Bt.)
ไดอะเฟนไทยูเอน (โปโล 25 % SC )
คลอร์ฟีนาเพอร์ (แรมเพจ 10 % SC )
ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5 % SC)
ไซเปอร์เมทริน (น็อคทริน 35% EC)
หนอนกระทู้ผัก
หนอนกระทู้หอม
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
แบคทีเรีย (Bt.)
ไดอะเฟนไทยูรอน (โปโล 25% SC)
เทบูฟีโนไซด์ (มิมิค 20%F)
คลอฟลูอาซูรอน (อาทาบรอน 5% EC)
คลอร์ฟินาเพอร์ (แรมเพจ 10% EC)
ฟลูเฟนนอกซูรอน (แคสเคด 5% SC)
ไตรฟลูมูรอน (อัลซิสติน 25% WP)
หนอนคืบกะหล่ำ
 
สารเคมีร้ายแรง
เมโทมิล (แลนเนท 40% SP) / คาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP) / 
ไดโครโตฟอส (ไบทีน 33% EC)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
อะบาเม็กติน (เวอร์ทิเม็ค 1.8% EC )
แบคทีเรีย (Bt.)
ไดอะเฟนไทยูรอน (โปโล 25 % SC )
คลอร์ฟีนาเพอร์ (แรมเพจ 10 % SC )
ฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5 % SC)
ด้วงหมัดผัก
 
 
สารเคมีร้ายแรง
คาร์บาริล (เซฟวิน 85% WP) / ไดโครโตฟอส (ไดฟอส 24% SC)
 
ตัวอย่าง สารเคมีแนะนำให้ใช้ทดแทนก่อน
โพรฟิโนฟอส (ซูเปอร์ครอน 50% EC)
โพรไทโอฟอส (โตกุโทออน 50% EC)
ไธอะมีโทแซม (แอคทารา 25% WP)
อะเซทามิพริด (โมแลน 20% SP)
ที่มา : กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร (2551)
·         EC Emulsifiable concentrate (สารแขวนลอยละลายน้ำ)
·         WP Wettable powder (ผงละลายน้ำ)
·         SP         Soluble powder (ผงละลายน้ำ)
·         SC         Suspension concentrate (สารละลายน้ำ)
·         GGranules (เม็ด)

สารเคมีที่ใช้ในการควบคุมโรคเป็นสารเคมีกลุ่มต่างๆ ที่จำแนกออกได้โดยอาศัยหลักเกณฑ์ของ
1) ชนิดของสารเคมี
2) แบบของปฏิกิริยา และ
3) พื้นฐานของการใช้ประโยชน์กับพืช
ชนิดของสารเคมี
แบบของปฏิกริยา การแบ่งโดยอาศัยปฏิกริยาของสารเคมีสามารถแบ่งได้ 2 วิธีคือ
1. การแบ่งโดยใช้ปฏิกริยาของสารที่มีต่อพืชเป็นกระจายทั่วต้น (systemis action) และไม่กระจายทั่วต้น (non-systemic action)
2. การแบ่งโดยใช้ปฏิกริยาของสารที่มีต่อเชื้อโรค เป็นสารที่ใช้ป้องกัน (protectants) สารที่ใช้รักษา (therapeutants) และสารที่ใช้กำจัด (eradicants)
สารที่ใช้ป้องกัน จะใช้ได้ผลก่อนที่เชื้อเข้าสู่พืช สารที่ใช้ควบคุมเชื้อรา (fungicide) ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นสารในประเทศนี้ สารที่ใช้รักษาเป็นสารเคมีที่แทรกซึมเข้าไปฆ่าเชื้อภายในพืช ซึ่งสารเคมีส่วนมากเป็นพวกที่มีปฏิกริยาต่อพืชแบบกระจายทั่วต้น ส่วนสารที่ใช้กำจัดจะสามารถลดจำนวนของ inoculum ที่แหล่งเกิดได้ สารเคมีที่ปฏิกริยาแบบใช้ป้องกันและสารเคมีที่ใช้กำจัด จะเป็นสารที่มีปฏิกริยาต่อพืชแบบกระจายทั่วต้น

Read More

1. เครื่องวัด EC

มักพบว่าเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เสื่อมสภาพหรือถ่านมีกำลังไฟอ่อนทำให้ค่า EC ขึ้นช้าหรือ ต่ำกว่าค่าจริงของสารละลายธาตุอาหารที่ใช้ปลูกเช่นวัด EC ด้วยเครื่องวัด EC ที่ผู้ปลูกใช้อยู่เป็นปร…ะจำได้ค่า EC เท่ากับ 1.3 แต่ผักที่ปลูกอยู่แสดงอาการเกร็งโตช้าเหมือนกับอาการผักที่ปลูกด้วย EC สูง ๆ แต่พอผู้เขียนใช้เครื่องวัด EC ของผู้เขียนวัดค่า EC ของสารละลายธาตุอาหารก็พบว่า EC ขึ้นไปสูงถึง 3.5 ซึ่งเป็น EC ที่สูงเกินไปสำหรับการปลูกผักสลัด EC ขนาดนี้จะทำให้ผักสลัดโตช้ามีรสขมและผักจะเเข็ง

Read More

เมล็ดพันธุ์ผักที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เมล็ดแบบไม่เคลือบ

เมล็ดประเภทนี้จะผ่านการลดความชื้นมาแล้ว สามารถเก็บรักษาในตู้เย็นได้นาน ประมาณ 1 – 2 ปี และมีราคาถูกกว่าเมล็ดแบบเคลือบค่อนข้างมาก การเพาะเมล็ดแบบไม่เคลือบนี้แนะนำให้กระตุ้นการงอกโดยใช้กล่องถนอมอาหารที่มีฝาปิดสนิท รองด้านในด้วยกระดาษชำระประมาณ 2 ชั้นแล้วพรมน้ำให้กระดาษเปียก และเทน้ำออก จากนั้นให้นำเมล็ดสลัดมาโรยลงบนกระดาษชำระ โดยไม่ต้องพรมน้ำซ้ำ แล้วปิดฝากล่องให้สนิท (แนะนำให้นำไปวางไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ห้องปรับอากาศ) ประมาณ 24 – 48 ชั่วโมงเมล็ดจะเริ่มงอกให้ย้ายลงวัสดุปลูกได้เลยครับ อย่าปล่อยให้เกิน 72 ชั่วโมง (3 วัน) เพราะรากผักสลัดจะยาวเร็วมากและทำให้ย้ายปลูกได้ยาก การกระตุ้นการงอกด้วยวิธีนี้จะทำให้เมล็ดที่เราเพาะมีเปอร์เซ็นต์การงอกและความสม่ำเสมอของการงอกสูงขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อโรคที่จะเข้าทำลายเมล็ดจากการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกโดยตรง ให้ผักที่ปลูกมีความสม่ำเสมอของต้นที่เท่ากัน มากกว่าการเพาะลงในวัสดุปลูกโดยตรง  เนื่องจากการเพาะลงวัสดุปลูกโดยตรงนั้นเมล็ดสลัดมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายโดยเชื้อโรคหรือแมลง อีกทั้งผู้ปลูกยังควบคุมปัจจัยการงอกของเมล็ดได้ยากกว่าด้วย

Read More

การปลูกผักแต่ละชนิดผู้ปลูกควรศึกษาให้เข้าใจถึง ลักษณะเฉพาะของผัก  รวมทั้งการบำรุงและดูแลรักษา เพื่อให้ผักที่ปลูกเจริญงอกงาม  ผู้ปลูกจึงควรรู้เคล็ดลับ ในการปลูกซึ่งผักแต่ละกลุ่มแต่ละชนิดก็มีเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป

1. กลุ่มกะหล่ำ และผักกาด 
 คือกลุ่มที่เรากินใบ ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดหัว กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี บร๊อกโคลี ผักสลัดต่างๆ
 ผักกลุ่มนี้เมล็ดค่อนข้างเล็ก บางชนิดมีราคาแพงมาก เพราะต้องสั่งนำเข้าเมล็ดมาจากต่างประเทศ
 กดดินให้เป็นหลุมลึกครึ่งเซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกัน 20 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงไป 5-7 เมล็ด กลบดินทับบางๆ คลุมด้วยฟางหนา 1 เซนติเมตร รดน้ำ
 เมื่อต้นกล้างอก ใบจริงได้ 2-3 ใบ ถอนต้นอ่อนให้เหลือหลุมละ 3 ต้นเมื่อมีใบจริง 4 ใบถอนเหลือ 2 ต้น ใบจริง 5 ใบถอนเหลือ 1 ต้นที่แข็งแรงที่สุด (ต้นอ่อนที่ถอนออกสามารถนำมากินได้เลย กรอบและอร่อยมาก)
 ผักในกลุ่มนี้ชอบความชื้นสูงควรรดน้ำให้ชุ่ม อย่าปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะผักสลัดให้ตั้งกระถางในที่ร่ม
 ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว แต่ละชนิดต่างกันเล็กน้อย เช่น คะน้า กวางตุ้งเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 30-45 วัน ผักกาดหัว 45-55 วัน ผักกาดขาวปลี เขียวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี 50-60 วัน ผักสลัด 45-50วัน
 ช่วงฤดูหนาวให้ เก็บผักโดยเหลือใบไว้กับต้น 2-3 ใบ ผักจะงอกใบใหม่ให้เก็บได้อีก 2-3 ครั้ง

Read More

เนื่องจากว่าหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์มากมายที่ช่วยในการปรับสภาพดิน และสร้างปุ๋ยให้กับพืช โดยเฉพาะโคนรากของหน่อกล้วย สังเกตได้จากบริเวณไหนที่มีการปลูกกล้วย ดินบริเวณนั้นจะมีความอุดมสมบูรณ์และร่วนซุย ดังนั้นจึงนำข้อดีเหล่านี้มาทำให้เกิดประโยชน์ด้วยการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  1. เลือกหน่อของต้นกล้วยที่มีความสมบูรณ์ ขุดเอาโคนรากให้ได้มากที่สุด เน้นขุดในตอนเช้ามืดก่อนตะวันขึ้น เพราะช่วงนั้นจุลินทรีย์จะเยอะมาก
  2. นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือละเอียดเลยยิ่งดี จากนั้นนำไปชั่งกิโลเพื่อหาอัตราส่วน
  3. อัตราส่วนผสม หน่อกล้วยหั่น 3 ส่วน และ กากน้ำตาล 1 ส่วน
  4. นำส่วนผสมทั้งสองใส่ในภาชนะปิด และนำไปตั้งไว้ในที่ร่มห้ามโดนแสงแดด
  5. คนเช้า และเย็น ประมาณ 7 วัน สามารถกรองเอาน้ำหมักจุลินทรีย์มาใช้ได้

ตัวอย่างส่วนผสม

สมมติว่าได้หน่อกล้วย 10 กิโลกรัม อัตราส่วนของกากน้ำตาลจะเป็น 3.33 กิโลกรัม

คือ หน่อยกล้วย 10 หารด้วย 3 มีค่าเท่ากับ 3.33 กิโลกรัม