มาเริ่มกันที่ ยาพื้น หรือยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ใช้กำจัดหนอนพื้นๆหรือชนิดที่เรียกว่าตายง่าย ใจเสาะค่ะ ยาที่เรียกว่าโดดเด่นและมีการใช้แพร่หลายมากที่สุดในกลุ่มนี้ก็คือ อะบาเม็กติน ใช้เยอะ ขายเยอะ จนแทบจะเรียกได้ว่า เจอหนอนต้องอะบาเม็กตินก่อนเลย อะบาเม็กตินเป็นยาที่คาดว่าน่าจะมีมูลค่าการนำเข้าสูงเป็นอันดับต้นๆในกลุ่มยาหนอน มูลค่าการนำเข้าอาจจะเหยียบ 500 ล้านบาทเลยทีเดียว แน่นอนว่ามูลค่าการขายย่อมมากกว่านี้อีกเยอะ ต้องบอกว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ธรรมดาเลย นั่นเพราะหลายองค์ประกอบของ อะบาเมกติน ตอบโจทย์ ตั้งแต่ ราคายาไม่แพงหรือถูกที่สุดในกลุ่มยาหนอน (1 ลิตร 250-350 บาท) ร้านค้ามีกำไรดี จึงเป็นยาที่ถูกแนะนำให้ใช้บ่อย หาซื้อได้ง่าย รวมทั้งประสิทธิภาพที่ดี เพราะถ้าประสิทธิภาพไม่ดีตัวเลขนี้เกิดไม่ได้จากเหตุผลแค่ราคาถูกและร้านค้ามีกำไรดี อะบาเมกตินจึงไม่ใช่ยากระจอก แต่มันคือยาที่ไม่ธรรมดาในกลุ่มยาพื้น
Category: ภูมิปัญญาเกษตรไทย
การทำอาหารเลี้ยงปลาด้วยตนเอง
ส่วนผสมอาหารปลาดุก
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร
สูตรที่ 1 : สูตรอาหารเลี้ยงปลากินพืช มีส่วนผสม คือ
– แหน 5 กิโลกรัม
– รำละเอียด 1 กิโลกรัม
– น้ำหมักปลา ที่ได้จากการนำเศษปลาที่เหลือทิ้งมาหมัก
วิธีการทำสูตรที่ 1 :
โดยนำแหนและรำละเอียดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นเทน้ำหมักปลาลงไป1 ลิตร คลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันอีกครั้ง ก็สามารถนำไปใช้เลี้ยงปลาได้โดยปั้นเป็นก้อนๆ โยนให้ปลากิน
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1. เชื้อไตรโคเดอร์มาแบบแห้ง
2. ข้าวสาร
3. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
4. ถุงพลาสติก
5. หนังยางรัดปากถุง
6. เข็ม
ขั้นตอนแรก
1. ผักบุ้ง นำเมล็ดแช่น้ำก่อนประมาณ 6 – 12 ชั่วโมง นำเฉพาะเมล็ดที่จมน้ำไปเพาะ
ผักบุ้งจะใช้เวลางอกประมาณ 5 – 14 วัน
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกคือ 18 – 25 องศาเซลเซียส
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 20 – 25 วัน
2. คื่นช่าย นำเมล็ดแช่น้ำประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง แล้วห่อด้วยผ้า หรือใส่กล่องพลาสติกถนอมอาหาร
ปิดฝาให้สนิทแล้วนำไปแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วนำมาเพาะตามปกติ จะทำให้
คื่นฉ่ายจะใช้เวลางอกประมาณ 5 – 7 วัน
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกคือ 15 – 20 องศาเซลเซียส
อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70 – 80 วัน
ฮอร์โมนพืชเป็นสารเคมีภายในพืชซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชไม่เพียงแต่การเจริญของพืชทั้งต้นเท่านั้น หากแต่ยังเกี่ยวข้องกับการเจริญของพืชแต่ละส่วนด้วย ในปัจจุบันทราบกันดีแล้วว่าฮอร์โมนพืชมีทั้งชนิดที่กระตุ้นการเจริญเติบโต และระงับการเจริญเติบโต ฮอร์โมนพืชที่พบในปัจจุบันคือออกซิน (Auxin) จิบเบอเรลลิน (Gibberellins) ไซโตไคนิน(Cytokinins) กรดแอบซิสิค (Abscisic Acid) หรือ ABA และ เอทธิลีน (Ethylene) ซึ่งมีสภาพเป็นก๊าซ
ฮอร์โมนพืชสามารถเคลื่อนย้ายภายในต้นพืชได้และมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพและการพัฒนาของเนื้อเยื่อ และอวัยวะของพืชซึ่งได้รับฮอร์โมนนั้น ๆ คำว่า ฮอร์โมน นั้นเริ่มใช้โดยนักสรีรวิทยาของสัตว์ ซึ่งต่อมานักสรีรวิทยาของพืชได้นำมาใช้กับสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งสามารถมีผลกระทบในปริมาณที่น้อยมาก โดยพืชจะสังเคราะห์ที่ส่วนหนึ่งแล้วเคลื่อนย้ายไปยังอีกส่วนหนึ่ง และมีผลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ดังนั้นในการศึกษาทางด้านฮอร์โมนจึงมักศึกษาในแง่ของแหล่งและกระบวนการสังเคราะห์ การเคลื่อนที่และเคลื่อนย้าย และปฏิกิริยาของฮอร์โมนที่มีต่อพืช
ผงธาตุอาหารสำหรับเตรียม STOCK ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B สูตร KMITL3
สำหรับ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว สลัด ผักบุ้ง ฯลฯ เตรียมได้ 8,000 ลิตร (เตรียมสต็อค 1:200 ได้ถังละ 40L)
สูตรสารละลาย(ปุ๋ย) ที่ใช้จะเป็นสูตรKMITL3 ที่สามารถเตรียมสารละลายเข้มข้น 200 เท่าได้จำนวน 40 ลิตร มีองค์ประกอบดังนี้
ถัง A
Ca(NO3)2.4H2O แคลเซี่ยมไนเตรท สูตรปุ๋ย(12-0-0) = 8.5 kg
Fe-EDTA เหล็กคีเลต (12 % Fe) = 0.3 kg
ถัง B
KNO3 โปแตสเซี่ยมไนเตรท สูตรปุ๋ย(13-0-46) = 6.0 kg KH2PO4
โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต สูตรปุ๋ย(0-52-34) = 1.0 kg
NH4H2PO4 โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต สูตรปุ๋ย(12-60-0) = 1.0 kg
MgSO4 แมกนีเซี่ยมซัลเฟต = 3.8 kg Nicspray
นิคสเปรย์ (ธาตุอาหารรอง) = 0.2 kg
ผงแคลเซียม โบรอน พลัส สูตร 1
สำหรับเตรียมเป็นสต็อคไว้ใช้เอง ประหยัดกว่า
ส่วนผสม ใน 1 ชุด ประกอบด้วย
15-0-0 แคลเซียมไนเตรต 1200 กรัม
ผงโบรอน 17% (โพลีบอเรต) 400 กรัม
ผงจุลธาตุคีเลตรวม 100 กรัม
น้ำตาลกลูโคส (น้ำตาลทางด่วน) 100 กรัม
วิธีเตรียม
1. เตรียมน้ำใส่ถัง 15 ลิตร
2. ใส่ส่วนผสมทีละอย่างตามลำดับ คนให้ละลาย (ใส่ส่วนผสมทีละตัวและเมื่อคนละลายหมดแล้วจึงค่อยใส่ตัวต่อไป)
3. เมื่อใส่ส่วนผสมครบทุกตัวแล้วให้เติมน้ำและปรับปริมาตรให้เป็น 20 ลิตร
4. เก็บไว้ที่มืดและเย็น สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน 1-2 ปี
อัตราใช้ : ให้ทางใบ 200-300 ซีซี.ต่อน้ำ 200 ลิตร. ประโยชน์ เพิ่มผลผลิต เนื่องจากเพิ่มความสมบูรณ์ของดอกและเกสร ทำให้ติดผลได้มากขึ้น ทำให้ผลไม้ที่ติดผลแล้ว “ขั้วเหนียว” ไม่หลุดร่วงง่าย
ผงธาตุอาหารสำหรับเตรียม STOCK ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B สูตร KMITL3 สำหรับ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว สลัด ผักบุ้ง ฯลฯ เตรียมได้ 1,000 ลิตร (เตรียมสต็อค 1:200 ได้ขวดละ 5L) สูตรสารละลาย(ปุ๋ย) ที่ใช้จะเป็นสูตรKMITL3 ที่สามารถเตรียมสารละลายเข้มข้น 200 เท่าได้จำนวนอย่างละ 5 ลิตร มีองค์ประกอบดังนี้
สต็อค A
Ca(NO3)2.4H2O แคลเซี่ยมไนเตรท สูตรปุ๋ย(12-0-0) = 1.063kg
Fe-EDTA เหล็กคีเลต (12 % Fe) = 37.5g
สต็อค B
KNO3 โปแตสเซี่ยมไนเตรท สูตรปุ๋ย(13-0-46) = 750g
KH2PO4 โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต สูตรปุ๋ย(0-52-34) = 125g
NH4H2PO4 โมโน แอมโมเนียมฟอสเฟต สูตรปุ๋ย(12-60-0) = 125g
MgSO4 แมกนีเซี่ยมซัลเฟต = 475g
Nicspray นิคสเปรย์ (ธาตุอาหารรอง) = 25g