โดดีมอร์ฟ อะซีเตท
(dodemorph acetate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม โดยการฉีดพ่นทางใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน 3,700 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคราสนิม และโรคจุดดำ (Black spot)
พืชที่ใช้ กุหลาบ และไม้ดอก ไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 40% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืชเมื่อพบเห็นโรคบนใบ ใช้ซ้ำได้ทุก 10-14 วัน
ข้อควรรู้ – ไม่เป็นพิษต่อผึ้ง
– อาจใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
– ออกฤทธิ์ทั้งในทางป้องกันและกำจัดโรคพืช
โดดีน
(dodine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา Gaunidine หรือ aliphatic nitrogen ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและกำจัดโรคพืชให้หมดสิ้นไป (Eradicant)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 1,500 มก./กก. ทำให้ผิวหนัง ดวงตาและระบบหายใจระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคสแคป (Scab) โรคใบจุด โรคเน่าสีน้ำตาล โรคผลเน่า โรคใบม้วน และโรคใบไหม้เกรียม (Leaf scorch)
พืชที่ใช้ แอปเปิล เชอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ หอม ผักต่าง ๆ ไม้ดอก ไม้ประดับและไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 65% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ก่อนที่อาการของโรคจะปรากฏให้เห็น ใช้ซ้ำได้ทุก 5-10 วัน
การแก้พิษ ในกรณีที่เกิดพิษขึ้นมา ให้รักษาคนไข้ตามอาการที่ปรากฏ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ – ผสมกับ chlorobenzilate ปูนขาว (Lime) น้ำมัน (Oils) และสารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในรูปน้ำมันผสมน้ำ (อีซี) ไม่ได้
– ไม่เป็นพิษต่อผึ้ง
– ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมเฉพาะที่
อีดิเฟนฟอส
(edifenphos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organophosphorous ที่ให้ผลในทางป้องกันรักษาและกำจัดโรคพืชให้หมดไป
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 150 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 700-800 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคกาบใบแห้ง (Blast) โรคใบไหม้ (Leaf blight) โรคเมล็ดด่างและโรคต้นเน่า
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 30% , 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 12-20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังและสูดดมเข้าไปมาก ๆ หรือกลืนกินเข้าไปทางปาก อาการของพิษจะปรากฏดังนี้ มึนงง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย กระวนกระวาย เปลือกตาและปลายลิ้นสั่น ม่านตาหรี่ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลาย น้ำตาและเหงื่อออกมากผิดปกติ ปวดท้อง ชีพจรเต้นช้า กล้ามเนื้อเกร็ง ถ้าพิษรุนแรงจะมีอาการหายใจลำบาก ปอดบวม ขาดออกซิเจน ตัวเขียวคล้ำ ชักและตายเนื่องจากหัวใจไม่ทำงาน
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังต้องรีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากให้รีบนำส่งแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท หรือ จะใช้ยา PAM และ Toxogonin รักษาร่วมด้วยก็ได้ ห้ามใช้ Morphine , theophylline , Aminophylline , barbiturates , Phenothiazines & Respiratory depressants
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 21 วัน
– อย่าใช้ก่อนหรือหลังการใช้ propanil ในระยะเวลา 10 วัน
– อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
– เป็นพิษต่อปลา
– ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นที่ใช้กันทั่วไป
อีทริไดอะโซล
(etridiazole)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา Thiadiazole ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคเน่าที่เกิดจากเชื้อไพเธียม (Pythium spp.) ไฟท๊อฟโธรา (Phythophthora spp.) ฟิวซาเรียม (Fusatium spp.) และ Rhizoctonia spp.
พืชที่ใช้ ขิง กล้าทุเรียน กล้าผักต่าง ๆ มะเขือเทศ พริกไทย พืชตระกูลแตง สตรอเบอร์รี่ ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าว ถั่วลิสง ถั่วลันเตา กาแฟ โกโก้ กล้วยไม้ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 15 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณโคนต้นหรือโดยฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษทางปากจะมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ้าได้รับพิษทางผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เยื่อบุบริเวณตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากและผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้ดื่มน้ำจำนวนมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียนหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ถ้ากินเข้าไปมากทำให้ท้องว่าง โดยใช้ endotracheal tube แล้วให้กินแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล ขนาด 30-50 กรัม ผสมกับน้ำ ตามด้วย โซเดียมซัลเฟท หรือ แม๊กนีเซียมซัลเฟท แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 3 วัน
– อย่าใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ หรือกับปุ๋ย
พีนามิโนซัลฟ์
(fenaminosulf)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา benzene diazosulphonate ใช้กำจัดเชื้อราที่เป็นกับเมล็ดและที่อยู่ในดิน
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 60 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 100 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Phythium spp. , Aphanomyces spp. , Phytopthora spp. และ Anthracnose
พืชที่ใช้ ใช้กับเมล็ดที่กำลังงอก ต้นกล้า ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา แตง ฝ้าย สัปปะรด อ้อย ข้าวฟ่าง ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม 70% , 35% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำ ราดตามร่องดิน หรือใช้แบบคลุกเมล็ดโดยไม่ต้องผสมน้ำ
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ – ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
– ใช้ทันทีเมื่อผสมน้ำเสร็จ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการสลายตัว
– ชนิดของเชื้อราที่กำจัดได้ อยู่ในวงจำกัด
ฟีนาริมอล
(fenarimol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา pyrimidine ประเภทดูดซึมทางใบ ให้ผลในทางป้องกันรักษาและกำจัดโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,500 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรค Fusarium blight โรคใบจุด โรคราแป้ง โรคราสนิม (Rust) โรคสแคป (Scab) โรคสมัท (Smut) และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ พืชตระกูลแตง องุ่น ถั่วลิสง สตรอเบอร์รี่ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 12% อีซี และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืช ก่อนที่โรคจะปรากฏชัดเจน
ข้อควรรู้ – เป็นพิษต่อปลา
– เชื้อราจะหยุดการเจริญเติบโตเมื่อถูกกับตัวยา
– ตัวยาจะเคลื่อนที่ขึ้นส่วนบนของต้นพืช
เฟนทินอะซีเตท หรือ ไตรเฟนนิลทิน อะซีเตท
(fentin acetate or triphtnyltin acetate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organotin ที่ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช ออกฤทธิ์กำจัดตะไคร่น้ำและหอยทากได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 125 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 450 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบจุด โรค Late blight และโรคที่เกิดจากเชื้อ Cercospora spp. , Septoria spp. , Phytophthora palmivora , Monillia rorei , Pyricularia et Helminthosporiumoryzae.
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง ถั่วลิสง กาแฟ พืชตระกูลคื่นฉ่าย โกโก้ ยาสูบ หอม ข้าว ถั่วลันเตา แครอท และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 60% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนัง ดวงตาและเยื่อบุจมูกระคายเคือง ดวงตาอักเสบ บวมแดง ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ม่านตาหรี่ หายใจหอบ เหงื่อออกมาก ชักและหมดสติ
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปและยังมีสติดีอยู่ ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ทำการล้างท้องคนไข้แล้วให้กินยาแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล และโซเดียม ซัลเฟท ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ ห้ามมิให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และในระหว่างป่วยห้ามดื่มนมและอาหารที่มีไขมันผสมอยู่
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
– ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในรูป อีซี (EC)
– ห้ามใช้ในแปลงกล้ากาแฟ ใช้ได้กับพืชที่แนะนำบนฉลากเท่านั้น
– เป็นพิษต่อปลาและหอย
– มีประสิทธิภาพดีกว่า copper 10-20 เท่า
– สลายตัวบนใบพืชเมื่อถูกแสงแดด
– เข้ากันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ที่ใช้กันทั่วไป
เฟอร์แบม
(ferbam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราคาร์บาเมท (carbamate)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 17,000 มก./กก. ทำให้จมูกและลำคอระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราสีน้ำเงิน (Bluemold) โรคเน่าคอดิน (Damping off) โรคใบจุด โรคกล้าแห้ง (Seeding blight) โรคเน่าสีน้ำตาล โรคสแคป โรคราสนิม (Rust) โรคใบม้วน โรคแอนแทรกโนส โรคราน้ำค้างและโรคที่เกิดจากเชื้อ Botrytis spp.
พืชที่ใช้ ยาสูบ มะเขือเทศ แอปเปิล ถั่วลันเตา กะหล่ำปลี แตงแคนตาลูป แครอท คื่นฉ่าย ส้ม แตงกวา องุ่น พริกไทย มันฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ แตงโมและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 3-98% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ให้รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ – ไม่เข้ากับสารประกอบพวก Lime , copper และ mercury
– ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อผสมกับสารที่มี copper , mercury หรือ Lime ผสมอยู่
– เข้าได้กับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราธรรมดาทั่วไป
– ออกฤทธิ์เป็นสารขับไล่ Japanese beetles
– ในประเทศไทยมีจำหน่ายในรูปที่ผสมกับสารกำจัดเชื้อราชนิดอื่น คือ
เฟอร์แบม + แมนโคเซ็บ – ไตรแมนโซน 85% – โรห์นปูแลงค์
เฟอร์แบม + มาเน็บ + ซีเน็บ – แมนบีไซด์ – หจก.ส่งเสริมเกษตร
ฟลูโตลานิล
(flutolanil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา anilide : trifluoromethyl ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 10,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคกาบใบไหม้ (Sheath blight) โรคราสนิม (Rust) โรคที่เกิดจากเชื้อรา Basidiomycetes spp. , Rhizoctonia , Corticium และ Typhula
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง ข้าว ธัญพืช ผักต่าง ๆ และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 25% และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืชให้ทั่ว ก่อนที่จะเกิดโรค ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ – เป็นพิษต่อปลา
– มีอายุอยู่ในดินได้ 40-60 วัน
โฟลเพ็ท
(folpet)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phthalimide ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 10,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 22,600 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบจุด โรคราแป้ง โรคสแคป โรคมีลาโนส โรคDeadarm โรคราสีเทา (Greymold) โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคเน่าดำขององุ่น โรคไรสนิม และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Gleosporium , Botrytis , Alternaria , Pythium & Rhizoctonia spp.
พืชที่ใช้ ผักตระกูลคื่นฉ่าย ส้ม เชอร์รี่ พืชตระกูลแตง กระเทียม กุหลาบ องุ่น หอม ฟักทอง มะเขือเทศ พืชผักและไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม 50% และ 75% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชตามช่วงระยะที่กำหนด
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ – ห้ามใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
– ห้ามผสมหรือใช้ฉีดพ่นในระยะใกล้ชิดกับการใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในรูปน้ำมัน
– อย่าใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงที่อยู่ในรูป อีซี (น้ำมัน)
– เป็นพิษต่อปลา
ฟอสเอ็ทธิล อลูมิเนียม
(fosethyl aluminium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organo-aluminium ประเภทดูดซึมเข้าไปในต้นได้ โดยผ่านทางใบ ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,800 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ดวงตา ผิวหนังและทางเดินหายใจระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรครากเน่า โรคผลเน่า โรคราน้ำค้าง โรคใบร่วง โรคเส้นดำ โรคเน่าดำ โรค (Phytophthora , Plasmopara , Bremia spp. Etc)
พืชที่ใช้ ทุเรียน ส้ม มะนาว องุ่น กล้ายางพาราและยางพารา กล้วยไม้ สัปปะรด โกโก้ พืชตระกูลแตง หอม พริกไทย สตรอเบอร์รี่และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ มีความแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของพืชและโรคที่ต้องการกำจัด ดังนั้นจึงควรศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง ถ้ากลืนกินเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็วและอาเจียน
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากให้บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด ถ้ากลืนกินเข้าไปและยังไม่หมดสติ ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือดื่มน้ำเกลืออุ่น และล้างท้อง ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
– ห้ามผสมกับปุ๋ยที่ฉีดพ่นทางใบ
– ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดโรค Late blight
– ให้ผลควบคุมโรคพืชได้นาน
– ไม่ให้ผลในทางป้องกัน เพราะจะออกฤทธิ์ต่อเมื่อมีเชื้อโรคเท่านั้น
ฟธาไลด์
(fthalide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phthalide ใช้กำจัดโรคที่เกิดกับใบพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน 20,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคบลาสของข้าว
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 2.5% ฝุ่น 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ปลูกข้าว
ข้อควรรู้ – ปลอดภัยต่อปลา
– อาจใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
– ยังไม่มีผู้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ
กัวซาทีน อะซีเตท
(guazatine acetate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราที่มีสาร guanidine เป็นองค์ประกอบ ใช้เป็นสารคลุกเมล็ดและฉีดพ่นที่ใบเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน 230 มก./กก. ทางผิวหนัง 1,176 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคพืชที่อยู่ในดิน โรคบลาสของข้าว โรคสัปปะรดของอ้อย
พืชที่ใช้ ข้าว ธัญพืช เมล็ดธัญพืช อ้อย รวมทั้งใช้ฉีดพ่นสัปปะรดและส้ม ภายหลังการเก็บเกี่ยว
สูตรผสม ชนิดผง 40% ชนิดน้ำ 60%
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ในกรณีใช้ฉีดพ่นที่ใบให้ใช้ก่อนที่โรคพืชจะปรากฏให้เห็น
ข้อควรรู้ – อย่านำเมล็ดที่คลุกด้วยสารกำจัดเชื้อราชนิดนี้ไปเป็นอาหารของคนและสัตว์
– เป็นพิษต่อปลา
– อย่าเก็บเมล็ดที่คลุกด้วยสารกำจัดเชื้อราชนิดนี้ไว้นานเกินกว่า 6 เดือน
– เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
– เป็นสารขับไล่นก
– ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ไฮเม็กซาโซล
(hymexazol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา isoxazole ประเภทดูดซึมโดยทางดิน
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,900 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคพืชที่อยู่ในดิน เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อ Phythium spp. โรคเน่าคอดิน (damping off) โรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium spp.
พืชที่ใช้ ข้าว พืชตระกูลแตง ผักต่าง ๆ ไม้ดอก ไม้ประดับและไม้ป่า
สูตรผสม 30% อีซี 4% ฝุ่น 70% เอสดี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยการรดที่โคนต้น คลุกดินหรือคลุกกับเมล็ด
ข้อควรรู้ – มีพิษต่อปลาต่ำ
– ไม่มีประสิทธิภาพต่อเชื้อ Rhizoctonia spp.
– เร่งการเจริญเติบโตของรากข้าวและพืชอื่น ๆ
– ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
อิมาซาลิล
(imazalil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมที่มีสาร imidazole เป็นองค์ประกอบ ออกฤทธิ์ให้ผลในทางรักษาและป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 320 มก./กก. ทางผิวหนัง 4,200 มก./กก. (หนู) เป็นอันตรายต่อดวงตา
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคราสีเทา โรคซิกาโตก้า โรคที่เกิดจากเชื้อ Pinicillium spp. , Diplodia spp. , Alternaria spp. , Fusarium spp. , Verticillium spp. , Botrytis spp. , Molinia spp. , Septoria spp.
พืชที่ใช้ ใช้ภายหลังเก็บเกี่ยวกับกล้วยและส้ม ใช้คลุกกับเมล็ดพืชขนาดเล็กและฝ้าย
สูตรผสม 50% อีซี 75% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ – เป็นพิษต่อปลา
– กัดกร่อนโลหะ
– ชนิดผงละลายน้ำ (ดับบลิวพี) ไม่เข้ากับผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
– ช่วยลดการเน่าของผลไม้ที่บรรจุในกล่อง
ไอโปรเบ็นฟอส หรือ ไอบีพี
(iprobenfos or IBP)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organophosphorous ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช รวมทั้งมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดแมลงได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 490 มก./กก. ทางผิวหนัง 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคบลาสของข้าว (Rice blast) โรคกาบใบแห้งของข้าว (Rice sheath blight) โรคลำต้นเน่า รวมทั้งหนอนเจาะลำต้น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วพื้นที่ในทันทีที่ตรวจพบว่ามีโรคบลาสในแปลงปลูก
อาการเกิดพิษ ถ้าได้รับพิษน้อยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายออกมาก แน่นหน้าอก ท้องเสีย ปวดท้อง ม่านตาหรี่ อาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก มองเห็นภาพไม่ชัดเจน ถ้าอาการรุนแรงจะมีอาการชัก ตาไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง ปอดบวม ความดันโลหิตสูง กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างตาด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ให้รีบนำคนไข้ส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท โดยใช้ขนาด 2 มก. ฉีดแบบ IM และฉีดซ้ำทุก 2-3 นาที จนกว่าจะเกิดอาการ atropinization ห้ามใช้ Morphine และ barbiturates กับคนไข้
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 21 วัน
– ใช้เป็นสารเสริมฤทธิ์ (synergist) ของสารกำจัดแมลงได้ โดยเฉพาะเมื่อผสมกับสารพวก ออร์กาโนฟอสโฟรัส และ ไพรีทรอยด์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่นที่มีความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้มากยิ่งขึ้น
– ห้ามใช้ร่วมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างหรือ ดีซีพีเอ (DCPA)
– เข้าได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ
ไอโปรไดโอน
(iprodione)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dicarboximide ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส ให้ผลดี ทั้งในทางป้องกัน และรักษาโรคพืช โดยการไปยับยั้งการขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของเชื้อรา
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,500 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคกาบใบแห้ง ที่เกิดจากเชื้อ Thanatephorus cucumeris โรคใบติดที่เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani โรคใบจุดสีม่วง ที่เกิดจากเชื้อ Alternaria porri และ โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ A.solani และ A.brassicola โรคเน่า (Botrytis cinerea) และโรคที่เกิดจากเชื้อ Aspergillus spp. , Rhizoctonia spp. , Sclerotium spp.
พืชที่ใช้ ทุเรียน ข้าว กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง ผักกาดเขียว ผักกาดขาว มะเขือเทศ องุ่น มันฝรั่ง ถั่วลันเตา ถั่วเขียว ถั่วลิสง แอสพารากัส และ สตรอเบอร์รี่
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วเมื่อตรวจพบว่ามีโรคพืชเกิดขึ้น ใช้ซ้ำทุก 3 อาทิตย์ ตามความจำเป็น หรืออาจใช้ภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยการจุ่มหรือคลุกเมล็ดเพื่อป้องกันโรคพืช
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษทางปากอาจมีอาการอ่อนเพลีย หายใจขัด
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ให้ผู้ป่วยบ้วนปากแล้วไปพบแพทย์ทันที สำหรับแพทย์ ให้ล้างท้องคนไข้ แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน
– เป็นพิษต่อปลา
– อย่าเก็บน้ำยาที่ผสมแล้วไว้นานเกินกว่า 12 ชั่วโมง
– ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
ไอโสโปรธิโอเลน
(isoprothiolane)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dithiolane ประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,190 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 10,250 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ของข้าวที่เกิดจากเชื้อ Pyricularia oryzae โรคลำต้นเน่า และโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ Fusarium spp.
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 40% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ 40 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นข้าวที่เป็นโรคก่อนปักดำหรือในขณะที่มีโรคระบาด
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ เวียนศีรษะ น้ำลายฟูมปาก หายใจไม่สะดวก ทำให้ดวงตาระคายเคือง
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปาก อย่าทำให้คนไข้อาเจียน รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ล้างท้องคนไข้ แล้วให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล และยาถ่ายพวกเกลือซัลเฟท รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ช่วยลดจำนวนแมลงในนาข้าวได้
– เคลื่อนย้ายในต้นข้าวได้ทั้งทางรากและทางใบ
คาซูกะมัยซิน
(kasugamycin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารปฏิชีวนะกำจัดเชื้อรา ประเภทดูดซึมทางใบ ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 22,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 4,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อ Piricularia oryzae โรคแอนแทรคโนส โรครากำมะหยี่สีเขียว โรคสแคป และโรคที่เกิดจากเชื้อ Septoria spp.
พืชที่ใช้ ข้าว มะเขือเทศ พืชตระกูลแตง ถั่ว คื่นฉ่ายและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 2% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ในกรณีคลุกเมล็ดใช้อัตรา 3 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก. ถ้าฉีดพ่นใช้อัตรา 30-40 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ เมื่อตรวจพบว่ามีโรคระบาด ใช้ซ้ำได้ทุก 7-10 วัน
อาการเกิดพิษ ถ้ากลืนกินเข้าไปปริมาณมาก ๆ จะทำให้รู้สึกไม่สบาย
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ค่อนข้างเป็นพิษต่อผึ้ง
– เป็นสารกำจัดโรคข้าวที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย
– ใช้คลุกเมล็ดข้าว จะป้องกันโรคบลาส (Blast) ได้ ประมาณ 1 เดือน
แมนโคเซ็บ
(mancozeb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dithiocarbamate ที่ออกฤทธิ์ในทางป้องกันโรคพืช มีความคงตัวมาก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 8,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 10,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคแอนแทรคโนส โรคไฟท๊อฟโตรา (Phytophthora) โรคสแคป (Scab) โรคราน้ำค้าง โรคเน่าดำ โรคเน่าสีน้ำตาล (Brown rot) โรค Cercospora และ Septora leaf spot โรค early และ Late blight โรค Alternaria leaf spot โรค Botrytis leaf blight โรค Rhizoctonia brown spot โรคราสนิม (Rust) และ Pythium blight
พืชที่ใช้ กล้วย องุ่น มันฝรั่ง มะละกอ ข้าวสาลี ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าว มะเขือเทศ แตงกวา แตงอื่น ๆ หอม แครอท คื่นฉ่าย ข้าวโพด หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวฟ่าง พืชไร่ทั่วไป พืชสวน ผักต่าง ๆ และไม้ประดับ
สูตรผสม 50% และ 80% ดับบลิวพี 32% เอฟ
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 40 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชเมื่อโรคพืชเริ่มระบาด และพ่นซ้ำทุก 7-10 วัน ใช้เป็นสารคลุกเมล็ดได้ด้วย
อาการเกิดพิษ ละอองยาอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุจมูก ลำคอ ผิวหนัง ทำให้อักเสบ คัน หรือไอ ถ้ากลืนกินเข้าไปจะปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และเกิดผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ต้องรีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น สำหรับแพทย์ ทำให้คนไข้อาเจียนหรือล้างท้อง แล้วถ่ายท้องด้วยยาโซเดียมซัลเฟท หรือ แม๊กนีเซียมซัลเฟท ห้ามให้ยาหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไขมัน และน้ำมัน ผสมอยู่ รักษาคนไข้ตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาก่อนการเก็บเกี่ยว 7-21 วัน
– เป็นพิษต่อปลา
– ในระหว่างเก็บอย่าปล่อยให้เปียกชื้น
– ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
– ให้ผลดีที่สุดเมื่อใช้ป้องกันโรคพืช
มาเน็บ
(maneb)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dithiocarbabate ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืชที่เกิดกับใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 6,750 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนัง ดวงตาและระบบหายใจเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ของมันฝรั่งและมะเขือเทศ โรคใบจุด (Leaf spot) โรคแอนแทรคโนสของแตงกวา โรคใบม้วน โรคเน่าดำขององุ่น โรคใบจุด Alternaria โรคราน้ำค้าง โรค Purple blotch ของหอม โรคไรสนิม โรคเน่าสีน้ำตาล และโรคอื่น ๆ ที่เกิดกับพืชไร่ พืชสวน ผัก ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
พืชที่ใช้ กล้วย หน่อไม้ฝรั่ง องุ่น กล้วยไม้ มะเขือเทศ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หอม กระเทียม ผักตระกูลกะหล่ำ คะน้า พืชตระกูลแตง มันฝรั่ง ข้าวโพด ยาสูบ กุหลาบ มะละกอ และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 35-50 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้ผสมกันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ฉีดซ้ำได้ทุก 3-10 วัน ตามความจำเป็น ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและระบาดของโรค Purple blotch ของหอม โรคราสนิม โรคเน่าสีน้ำตาล โรคจุดดำกุหลาบและอื่น ๆ แล้ว ควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้นกว่าปกติ
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
– เมื่อถูกผิวหนังอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
อาการเกิดพิษ สำหรับผู้แพ้ เมื่อถูกผิวหนัง และเยื่อบุต่าง ๆ จะทำให้เกิดอาการอักเสบบวมแดง ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และเซื่องซึม
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วล้างท้องด้วย laxative salt รักษาตามอาการ ห้ามให้ยาหรืออาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
เมตาแล๊กซิล
(metalaxyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา acylalanine ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 669 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 3,100 มก./กก. อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคลำต้นดำ โรคราน้ำค้าง โรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Pythium spp. , Phytophthora spp. และ Phycomycetes spp.
พืชที่ใช้ ทุเรียน ส้ม ยาสูบ พริกไทย พลู เผือก พริก ข้าวฟ่าง ข้าวโพด พืชตระกูลแตง หอม มะเขือเทศ มันฝรั่ง ถั่วลันเตา และใช้คลุกเมล็ด ถั่วเหลือง ฝ้าย และเมล็ดพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 5% จี 25% ดับบลิวพี 35% เอสดี
อัตราใช้และวิธีใช้ ชนิดฉีดพ่น อัตราที่ใช้แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ใช้และวิธีที่จะใช้ ถ้าใช้ทาต้น จะใช้ในอัตรา 80-100 กรัม ผสมกับน้ำ 1 ลิตร ถ้าฉีดพ่นใช้อัตรา 20-40 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร สำหรับชนิดคลุกเมล็ด ใช้อัตรา 7-10 กรัม ต่อเมล็ดหนัก 1 กก. และชนิดหยอดหลุมหรือโรยหน้าดิน ใช้อัตรา 20-40 กรัม ต่อตารางเมตร
อาการเกิดพิษ เมื่อเกิดมีพิษจะมีอาการเหงื่อออกมาก ซึม กล้ามเนื้อกระตุก-สั่น เคลื่อนไหวตัวลำบากและหายใจขัด
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้รีบล้างน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 15 นาที ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ หรือดื่มถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ห้ามใช้ฉีดพ่นใบยาสูบ
– ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
– ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน สำหรับในดินอยู่ได้ 70-90 วัน
– การใช้ยานี้ซ้ำอย่างเดียวนาน ๆ อาจทำให้เชื้อราเกิดพันธุ์ต้านทานขึ้นมาได้
เม็ททิแรม
(metiram)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dithiocarbamate ที่ออกฤทธิ์ในทางป้องกันโรคพืชที่เกิดกับใบพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 10,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ (Early and late blight) โรคราสนิม โรคจุดดำ (Black spot) โรคเน่าดำ โรคเน่าสีน้ำตาล (Brown rot) โรคสแคป โรคใบจุด Cercospora โรคราน้ำค้าง โรคเน่าคอดิน โรคแอนแทรคโนส และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง องุ่น หน่อไม้ฝรั่ง ผักตระกูลคื่นฉ่าย แตง ถั่วลันเตา ยาสูบ มะเขือเทศ ข้าวโพด กุหลาบ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี แล้วฉีดพ่นที่ใบทุก 7-10 วัน ตลอดฤดูการปลูก
ข้อควรรู้ – ห้ามผสมกับพาราไธออน หรือสารอื่นที่มีความเป็นด่างสูง
– เป็นพิษต่อปลา
– พิษตกค้างมีอายุยาวนาน
– เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้เกือบทั้งหมด
มีโปรนิล
(mepronil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารประกอบ benzanilide ที่กำจัดเชื้อราที่เกิดกับใบพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 10,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 10,000 มก./กก. ทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคกาบใบไหม้ โรคราสนิม โรคเน่าคอดิน และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าว ไม้ผล ผักต่าง ๆ และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี และ 3% ฝุ่น
วิธีใช้ ใช้ฉีดพ่นที่ใบ ใช้ซ้ำตามความจำเป็น
หมายเหตุ ไม่มีจำหน่ายในประเทศ
มัยโคลบูตานิล หรือ ซิสเธน
(myclobutanil or systhane)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 1,600 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ ป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อรา Ascomycetes , Deuteromycetes และ Basidiomycetes
พืชที่ใช้ อยู่ในระหว่างการทดลอง
สูตรผสม อยู่ในรูปน้ำมันผสมน้ำ (อีซี) และผงละลายน้ำ (ดับบลิวพี)
หมายเหตุ ไม่มีจำหน่ายในประเทศ
นีโอ – อะโซซิน
(neo – asozin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organic arsenical ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 5,700 มก./กก. (หนู) ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคกาบใบไหม้ และ โรคเน่าของผลองุ่นสุก
พืชที่ใช้ ข้าว องุ่น
สูตรผสม 6.5% อีซี 4% ฝุ่น
อัตราใช้และวิธีใช้ สำหรับข้าว ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งที่กาบใบและลำต้น ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ – ปลาจะตาย เมื่อมีตัวยานี้อยู่ในน้ำ 2-20 ppm.
– หลีกเลี่ยงอย่าใช้ซ้ำหลายครั้ง ควรใช้ก่อนระยะแตกยอดอ่อนเท่านั้น
– อาจใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
โอฟูเรซ
(ofurace)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phenylamide ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลทั้งในทางป้องกันและรักษาโรคพืช ดูดซึมเข้าลำต้นได้ทั้งทางรากและใบ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,600 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. (กระต่าย) อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อ Phycomycetes ซึ่งได้แก่ โรคราน้ำค้าง โรค Late blight และ โรคที่เกิดจากเชื้อ Phytophthora คือโรครากเน่าและโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ องุ่น ผักกาดหอม มันฝรั่ง ยาสูบ ข้าว และพืชสวน
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช 14 วัน/ครั้ง หรืออาจจะใช้โดยวิธีรดโคนต้น จุ่มกิ่งพันธุ์ หรือคลุกเมล็ดก็ได้
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ไม่สามารถกำจัดโรคสแคป โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคเน่าดำและโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ Botrytis spp. Fusarium spp. และ Septoria spp.
– แสดงผลในทางรักษาโรคพืชได้ดีมาก
อ๊อกซาไดซิล
(oxadixyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phenylamide ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,860 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคที่เกิดจากเชื้อ Peronosporales รวมทั้งโรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ (Early and late blight) โรคราสนิม และโรคพืชอื่น ๆ
พืชที่ใช้ องุ่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง พืชผัก ยาสูบ ไม้ผลและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 4% และ 90% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เมื่อพบว่ามีโรค ฉีดพ่นซ้ำทุก 10-14 วัน
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – นิยมใช้ในลักษณะที่ผสมกับสารอื่น เพื่อช่วยให้การป้องกันโรคพืชกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
– สามารถแทรกซึมเข้าไปในต้นได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านทางใบและราก
อ๊อกซิน – คอปเปอร์
(oxine copper)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organic copper หรือ quinoline
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 10,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคมีลาโนส โรคเน่าที่เกิดจากเชื้อ Alternaria โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคราน้ำค้าง โรคสแคป โรค Sooty blotch และ Molds and rots
พืชที่ใช้ ดอกคาร์เนชั่น กุหลาบ มะเขือเทศ แตงต่าง ๆ ส้ม ชา รวมทั้งใช้ทาอุปกรณ์เก็บและลังบรรจุผลไม้
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี และในรูปน้ำมันผสมน้ำ (อีซี)
วิธีใช้ ใช้คลุกเมล็ดหรือใช้ทาแผลพืชภายหลังถูกตัดแต่งกิ่ง หรือใช้วิธีการอื่นที่แนะนำบนฉลาก
หมายเหตุ ไม่มีจำหน่ายในประเทศ
อ๊อกซี่คาร์บ๊อกซิน
(oxycarboxin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา anilide หรือ oxathiin ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช ซึมผ่านทางใบและรากเข้าสู่ลำต้น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 16,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราสนิม (rust)
พืชที่ใช้ กาแฟ ธัญพืช ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 20% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 21 วัน
– เป็นอันตราย เมื่อกลืนกินเข้าไป ทำให้ดวงตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง
– เป็นอันตรายต่อปลา
– อย่าใช้กับพืชอาหารคนและสัตว์
– อย่าผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น