ทู โฟ – ดี
(2,4-D)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช phenoxy ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์กำจัดวัชพืชใบกว้างภายหลังงอกทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (oral LD 50) 375 มก./กก. ทางผิวหนังมากกว่า 1,600 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ ผักปอด ผักตบชวา ตาลปัตรยายชี พังพวย ผักบุ้ง ผักโขม โทงเทง ผักเบี้ยหมู ผักเบี้ยหิน หญ้ายาง ต้นไม้กวาด กก กกขนาก แห้วหมู เทียนนา โสน สะอึก และวัชพืชใบกว้างอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว ไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย หน่อไม้ฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ สนามหญ้าและบริเวณที่ไม่ได้ทำการเกษตร
สูตรผสม 2,4-ดี มีสูตรผสมหลายอย่าง คือ
– ชนิด sodium และ ammonium salts ปกติจะอยู่ในรูปผงละลายน้ำ (WP) มีความเข้มข้น 80-95%
– ชนิด amine salts มีความเข้มข้น 72% อีซี
– ชนิด highly volatile esters (Methyl , Ethyl , Butyl , Isopropyl) มีความเข้มข้น 72% อีซี
– ชนิด Low volatile esters (Butoxy ethanol , propylene glycol , Butoxy propyl)
อัตราใช้และวิธีใช้ 2,4-ดี Na Salt ใช้อัตรา 30-40 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ชนิด amine salt และ high volatile esters ใช้อัตรา 30-60 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบวัชพืชให้ทั่วบริเวณที่ต้องการกำจัดวัชพืช ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษจะมีอาการ ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ตาพร่า พูดไม่ชัด น้ำลายออกมาก กล้ามเนื้อกระตุก ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งกระตุ้นต่ำ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กล้ามเนื้อเปลี้ย ต่อมาอาจชัก หมดสติและตายเนื่องจากหัวใจและระบบเลือดล้มเหลว
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าปากหรือมีอาการเกิดพิษรุนแรงให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ รักษาตามอาการ ให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล แล้วล้างท้องด้วย ไอโซโทนิค ซาลีน หรือ โซเดียม ไบคาร์โบเนท 5% ควบคุมการเต้นของหัวใจ
ข้อควรรู้ – ห้ามใช้กับฝ้าย มะเขือเทศ องุ่น ไม้ผลและไม้ประดับ
– อย่าฉีดพ่นใกล้ต้นพืชที่ปลูก
– ในดินที่มี 2,4-ดี มากเกินไป จะทำให้เมล็ดหยุดงอกและหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว
– ก่อนที่จะใช้เครื่องมือฉีดพ่น 2,4-ดี ไปใช้ฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น ควรล้างทำความสะอาดอย่างละเอียดก่อนนำไปใช้
– ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับปุ๋ยได้
อะเซ็ทโตคลอร์
(acetochlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสาร acetoalinide ที่ใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอก (pre emergence) และเจาะจงพืช (selective)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,953 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าและวัชพืชใบแคบเกือบทุกชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และข้าวฟ่าง
สูตรผสม 50% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ตามคำแนะนำบนฉลาก สามารถใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอก คลุกดินก่อนปลูกหรือกำจัดวัชพืชเริ่มงอกก็ได้
ข้อควรรู้ – ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมเข้าทางหน่อที่เริ่มงอก
– ออกฤทธิ์ได้ดีกับดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง
– ประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชอยู่ได้นาน 8-12 สัปดาห์
– ผสมใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอื่น ๆ หรือปุ๋ยน้ำได้
อะซิฟลูออร์เฟน – โซเดียม
(acifluorfen – sodium)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ether ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอก และภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,370 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างและหญ้าบางชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ฝ้าย มะเขือเทศ ในนาข้าวและข้าวสาลี
สูตรผสม 21.4% เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้ ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – แสงแดดจัดจะช่วยให้สารเคมีนี้มีฤทธิ์เพิ่มขึ้น
– ห้ามผสมกับน้ำมัน surfactant ปุ๋ยน้ำและสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น
– ประสิทธิภาพจะลดลง ถ้าฝนตกภายหลังจากใช้ 6 ชั่วโมง
– ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอกจะให้ผลดีมากกว่า
– กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าหญ้าหรือวัชพืชใบแคบ
– ใช้กับพืชที่แนะนำได้ทุกระยะการเจริญเติบโต
– วัชพืชจะตายภายใน 3-5 วันภายหลังจากใช้
อะลาคลอร์
(alachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช anilide ที่ใช้ทางดินและเป็น protein synthesis inhibitor ซึ่งให้ผลในทางควบคุมเมล็ดพืชมิให้งอก (pre emergence)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,800 มก./กก. ทางผิวหนัง 13,300 มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ ใช้ควบคุมมิให้เมล็ดพืชงอก เช่น หญ้าขน หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าปล้อง หญ้าข้าวนก หญ้าตีนไก่ หญ้ากุศลา หญ้าหางหมา ผักโขม ผักโขมหวาน หญ้าชันอากาศ วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง หอม กระเทียม ผักตระกูลกะหล่ำ มะเขือเทศ และพริก
สูตรผสม 45.1% และ 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราแตกต่างกันออกไปตามชนิดของดินทั่ว ๆ ไปใช้อัตราระหว่าง 500-1,000 ซีซี ผสมกับน้ำ 60-80 ลิตร ฉีดพ่นคลุมดิน
อาการเกิดพิษ หากถูกบริเวณผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคือง ถ้าเข้าตาทำให้ดวงตาระคายเคือง ถ้ากินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และท้องเสีย
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ 15 นาที ถ้ากินเข้าไป อย่าทำให้อาเจียน ให้คนไข้รับประทานยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล 2-4 ช้อนโต๊ะ ละลายกับน้ำ 1 แก้ว แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ให้ใช้ก่อนวัชพืชงอกหรือก่อนพืชที่ปลูกงอก
– ภายหลังการฉีดพ่น ถ้ามีฝนตกลงมาภายใน 10 วัน จะให้ผลดีมาก
– ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอื่น ๆ ได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งปุ๋ย
– คงตัวอยู่ในดินได้นาน 6-10 สัปดาห์
– อย่าใช้กับดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงกว่า 10%
อะมีทรีน
(ametryn)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจง กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอก และภายหลังจากงอกแล้ว
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,110 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 8,160 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าตีนนก หญ้าขน หญ้าตีนกา หญ้ากุศลา หญ้าชันอากาศ หญ้าหางหมา ผักโขม ผักโขมหวาน
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย ส้ม สัปปะรด กล้วย ชา กาแฟ มันฝรั่ง
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราแตกต่างกันออกไปตามชนิดพืช อยู่ในช่วงระหว่าง 320-640 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำ กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นคลุมหน้าดินให้ทั่วพื้นที่เพาะปลูก ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
อาการเกิดพิษ อาจทำให้ผิวหนัง ดวงตาและเยื่อบุต่าง ๆ เกิดอาการระคายเคือง หากกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน หายใจขัดและอาจชักได้
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างออกด้วยสบู่กับน้ำ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ เป็นเวลา 10 นาที ถ้ากลืนกินเข้าไป รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นหรือให้ยา syrup of IPECAC ถ้ายังไม่อาเจียนให้ล้างท้องคนไข้แล้วให้ทานถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ภายหลัง 4 ชั่วโมง ถ้ายังไม่หายให้คนไข้ถ่ายด้วยยาประเภทเกลือ ห้ามให้ยาถ่ายที่เป็นน้ำมัน แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – สำหรับอ้อยและสัปปะรด ไม่ควรใช้เกินขนาดที่แนะนำ
– ห้ามใช้ฉีดพ่นยอดข้าวโพด
– ดูดซึมเข้าไปในต้นวัชพืชได้โดยผ่านทางราก ดังนั้น วัชพืชจึงงอกออกมาก่อนแล้วจึงตายในภายหลัง
– เข้ากันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ และปุ๋ย
อะมีโทร
(amitrol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazole ประเภทไม่เจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืช ภายหลังงอก โดยออกฤทธิ์ผ่านทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 10,000 มก./กก.(หนู)
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าต่าง ๆ และวัชพืชใบกว้าง ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในสวนผลไม้ ตามคลองชลประทานและไหล่ถนน
สูตรผสม 80% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืชให้ทั่วทั้งต้นพืช
การแก้พิษ ยังไม่ทราบยาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ให้ผลในการกำจัดเต็มที่ภายใน 2-3 สัปดาห์
– เป็นสารขัดขวางการสร้าง chlorophyll จึงทำให้ใบพืชเป็นสีขาวแดง และน้ำตาล
– วัชพืชที่มีอายุมากหรือต้นแก่กว่าจะดูดซึมสารนี้ได้ช้ากว่าพืชที่มีอายุอ่อนกว่า
– คงตัวอยู่ในดินได้นาน 2-4 สัปดาห์
อะนิโลฟอส
(anilofos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organic phosphate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,000 มก./กก. (หนูตัวผู้) สำหรับหนูตัวเมีย 400 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าและวัชพืชใบแคบอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 30% อีซี , 1.5% และ % จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ในระยะที่วัชพืชมีใบอ่อน 2-5 ใบ หรือภายหลังจากปักดำแล้ว 4-12 วัน
ข้อควรรู้ – เป็นพิษต่อปลา
– ห้ามใช้กับเมล็ดข้าวโดยตรง
– ดูดซึมเข้าไปในต้นวัชพืชได้โดยผ่านทางรากและใบ
– ภายหลังจากใช้แล้ว วัชพืชจะหยุดเจริญเติบโต เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ และตายในที่สุด
– เข้ากับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นที่กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ ยกเว้นสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
อะซูแลม
(asulam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช carbamate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืช ภายหลังงอก โดยการดูดซึมผ่านทางใบและรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,200 มก./กก. (หนู)
วัชพืชที่กำจัดได้ ใช้กำจัดวัชพืชพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย กล้วย ยางพาราและพื้นที่ ๆ ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม 40% แอลซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยฉีดพ่นภายหลังวัชพืชงอกแล้ว ถ้ากำจัดวัชพืชในไร่อ้อย ควรใช้ในระยะที่อ้อยมีความสูงอย่างน้อย 12-36 นิ้ว
การแก้พิษ ยังไม่ทราบยาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วเมื่อมีอุณหภูมิสูง
– มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกและปลาต่ำ
– อาจใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดวัชพืชพวก phenoxy ได้
อะทราซีน
(atrazine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทดูดซึมและกำจัดแบบเจาะจงวัชพืช ใช้ควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชและกำจัดในระยะเริ่มงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,869 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 7,500 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าขจรจบ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา หญ้าหางหมา ผักเบี้ยใหญ่ น้ำนมราชสีห์ หญ้ายาง หญ้าอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด อ้อย สัปปะรด ข้าวฟ่าง หน่อไม้ฝรั่ง ต้นฝรั่ง มะคาเดเมีย
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ อัตราใช้แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช โดยทั่วไปใช้อัตราระหว่าง 240-460 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นทับหน้าดินที่ปลูกพืช อย่างไรก็ดี ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังอาจจะมีอาการระคายเคือง เช่นเดียวกับที่ดวงตาและเยื่อบุ หากกลืนกินเข้าไป อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจขัด กล้ามเนื้อกระตุกและอาจเกิดอาการชักได้
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ 10 นาที ถ้ากินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น หรือ syrup of IPECAC ถ้าคนไข้ไม่อาเจียน ให้ล้างท้องคนไข้ทันทีแล้วให้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ภายหลัง 4 ชั่วโมง ถ้าคนไข้ยังไม่ถ่าย ให้ถ่านยาถ่ายประเภทเกลือ ห้ามใช้ยาถ่ายประเภทน้ำมัน ในช่วงนี้อย่าให้คนไข้ดื่มนม ครีมและอาหารที่มีไขมัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบไม่เจาะจงพืช ให้ใช้เมื่อวัชพืชงอกแล้วและยาวไม่เกิน 1 นิ้วครึ่ง
– เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบเจาะจงพืช ให้ใช้ก่อนเพาะปลูกหรือระหว่างปลูก
– พืชที่อ่อนแอต่ออะทราซีน ได้แก่ พืชผักทั้งหมด เมล็ดธัญพืช แอสพารากัส ถั่วเหลือง ถั่วลิสงและมันฝรั่ง
– ฤทธิ์ตกค้างอยู่ในดินได้นานมากกว่า 1 ปี
– ความชื้นจะช่วยให้อะทราซีนออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
เบ็นซัลฟูรอน เม็ทธิล
(bensulfuron methyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช urea , sulphonyl urea : pyrimidine ประเภทเจาะจงวัชพืช ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม และเข้าไปยับยั้งการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของวัชพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและในระยะเริ่มงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 10,985 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกในนาข้าวได้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งหญ้าทรงกระเทียมด้วย
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 10% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
อาการเกิดพิษ ทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
การแก้พิษ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาทันทีด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ นานอย่างน้อย 15 นาที แล้วไปหาแพทย์ ถ้ากินเข้าไป ต้องทำให้คนไข้อาเจียนทันทีด้วยการให้คนไข้ดื่มน้ำ 2 แก้วแล้วล้วงคอด้วยนิ้ว ถ้าคนไข้หมดสติ อย่าให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่คนไข้ แล้วไปหาแพทย์ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ห้ามใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น
เบ็นซูไลด์
(bensulide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organophosphorous ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอก หรือคุมวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 770 มก./กก. (หนู) ทางผิวหนัง 3,950 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชพวกหญ้าล้มลุกต่าง ๆ และวัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ในสวนผัก เช่น กะหล่ำปลี แครอท กะหล่ำดอก หอม ผักกาดหอม แตงกวา พริกไทย มะเขือเทศและข้าว
สูตรผสม 50% อีซี และ 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราและวิธีตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ใช้ยาอะโทรปิน โดยอาจใช้ร่วมกับ PAM และ Toxogonin
ข้อควรรู้ – เป็นซูไลด์ มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน อาจเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกตามหลังพืชเดิมได้
– ห้ามใช้กับพืชที่ไม่ได้แนะนำบนฉลาก อย่างน้อยเป็นเวลา 18 เดือนภายหลังใช้
– ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้ประมาณ 6-8 เดือน
เบ็นตาโซน
(bentazone)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช benzothiadiazole ประเภทเจาะจงวัชพืช ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส และแทรกซึมเข้าไปในต้นพืชได้โดยผ่านส่วนที่มีสีเขียว ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,100 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,500 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วลันเตา และมันฝรั่ง
สูตรผสม 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำฉีดพ่นที่วัชพืชภายหลังงอกแล้ว ในช่วงระยะที่มีใบ 2-10 ใบ
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่รู้ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ประสิทธิภาพจะลดลงถ้ามีฝนตกภายหลังฉีดพ่นแล้ว 8 ชั่วโมง
– เมื่อใช้กับข้าว ให้ใช้เมื่อวัชพืชงอกโผล่พ้นระดับน้ำแล้วเท่านั้น
– ห้ามใช้กับถั่วเหลืองที่กำลังเจริญเติบโตในสภาพที่มีน้ำท่วมขัง ทั้งนี้ อาจทำให้ถั่วเหลืองเป็นอันตรายได้
– อากาศยิ่งร้อนมากขึ้นเท่าใด ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชนี้ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
– ผลในการกำจัดวัชพืชจะปรากฏให้เห็นภายหลังจากใช้แล้ว 2-7 วัน
โปรมาซิล
(bromacil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช uracil ประเภทเจาะจงในการกำจัดวัชพืชพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชยืนต้นอื่น ๆ ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก สามารถดูดซึมเข้าทางรากพืชได้อย่างรวดเร็ว ผ่านทางใบได้เล็กน้อยและเป็น Photosynthesis inhibitor
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,200 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก. อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าแพรก หญ้าข้าวนก กก หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้ารังนก หญ้าหางหมา หญ้าพง หญ้าชันอากาศ หญ้าขน สาบเสือ ผักโขม ผักเบี้ยใหญ่ แห้วหมู รวมทั้งวัชพืชใบแคบอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ส้มเขียวหวาน มะนาว ไร่สัปปะรดและพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตร
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 360-720 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ต้นและใบวัชพืชที่กำลังอยู่ในระยะเจริญเติบโต หรือที่พื้นดินทันทีที่ปลูกสัปปะรดเสร็จและก่อนที่จะแตกยอด
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ห้ามปลูกพืชอื่นบนพื้นที่ที่เคยใช้โปรมาซิลมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี
– น้ำฝนจะช่วยให้รากวัชพืชดูดโปรมาซิลเข้าไปในลำต้นได้เร็วขึ้น
– ในระหว่างฉีดพ่น ควรเขย่าถังฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอ
– ให้ใช้กับส้มที่มีอายุอย่างน้อย 4 ปี ขึ้นไป
บิวตาคลอร์
(butachlor)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช acetamide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกโดยการคุมวัชพืชและภายหลังงอก ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปยับยั้งขบวนการสังเคราะห์โปรตีน ภายในต้นพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 3,300 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 13,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชได้ทั้งใบแคบและใบกว้าง รวมทั้งกกต่าง ๆ เช่น หญ้านกสีชมพู แห้วทรงกระเทียม ขาเขียด ผักปอดนา ผักแว่น พังพวย หญ้าหนวดปลาดุก กกทราย และกกขนาก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 60% อีซี และ 5% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ขนาด 60% อีซี ใช้อัตรา 250 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ ชนิด 5% จี ใช้อัตรา 3.2 กก. หว่านให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้ทุกครั้ง
อาการเกิดพิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังจะมีอาการระคายเคือง เช่นเดียวกับที่ดวงตาและที่จมูก
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ต้องทำให้คนไข้อาเจียนแล้วกินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล พร้อมนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – เป็นพิษต่อปลา
– อย่าใช้ในสภาพอากาศที่คิดว่าจะมีฝนตก ภายใน 6 ชั่วโมง
– คงตัวอยู่ในดินได้นานประมาณ 10 สัปดาห์
– ผสมกับโปรพานิลได้เมื่อใช้ฉีดพ่นทันทีและกำจัดแบบภายหลังงอก
บูตราลิน
(butralin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช dinitroanilide ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชทั้งก่อนงอกและหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 12,600 มก./กก. ทางผิวหนัง 10,200 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ ใช้ควบคุมและกำจัดวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก และวัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลืองและไร่ฝ้าย
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
บูทิลเลท
(butylate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate ประเภทเจาะจงพืช โดยใช้กำจัดวัชพืชก่อนปลูก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 4,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด
สูตรผสม 7% อีซี , 5% และ 10% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ – เป็นสารที่มีความใกล้เคียงกับสารกำจัดวัชพืช อีพีทีซี
– ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้นานประมาณ 6 สัปดาห์ และไม่มีผลกระทบต่อพืชที่จะปลูกต่อจากข้าวโพด
– เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อาจใช้ร่วมกับอะทราซีนได้
คลอริมูรอน เอ็ทธิล
(chlorimuron ethyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช sulfonylurea ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและกกบางชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลือง
สูตรผสม 25% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ – หลีกเลี่ยงอย่าให้ถูกกับผิวหนัง ดวงตาและเสื้อผ้า
– ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ และถ้าเกิดอาการระคายเคืองให้รีบไปพบแพทย์ทันที
– ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ
คลอร์ซัลฟูรอน
(chlorsulfuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก โดยการเข้าไปยับยั้งการขยายหรือแตกตัวของเซลล์ที่รากและหน่อ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,545 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 3,400 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้างได้เป็นส่วนมาก และหญ้าล้มลุกได้เป็นบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์
สูตรผสม 75% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ในระยะที่วัชพืชเริ่มงอก ถ้าใช้ในระยะที่วัชพืชมีใบมากกว่า 2-3 ใบแล้ว จะต้องใช้อัตราเพิ่มขึ้น
ข้อควรรู้ – ห้ามใช้กับพืชที่มิได้แนะนำ
– เป็นสารทำให้วัชพืชหยุดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
– ผสมได้กับสารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ และปุ๋ยน้ำ
– ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอกได้ดีกว่าแบบก่อนงอก
ซินเม็ทธิลลิน
(cinmethylin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,600 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชตระกูลหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างบางชนิด
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว ในไร่ฝ้าย ถั่วเหลืองและถั่วลิสง
สูตรผสม 10% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
ชิโนซัลฟูรอน
(cinosulfuron)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช sulfonyl urea ประเภทเจาะจงพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบและใบกว้างในนาข้าว
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 20% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
คลีโธดิม
(clethodim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทหญ้าและวัชพืชใบแคบทั่วไป ชนิดดูดซึมและกำจัดวัชพืช ภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวผู้) 3,610 มก./กก. (หนูตัวเมีย) 2,920 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 5,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้านกสีชมพู หญ้าข้าวนก หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าหางจิ้งจอก หญ้าปากควาย หญ้าขจรจบ หญ้าแพรก หญ้าชันอากาศ
พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง สัปปะรด พืชตระกูลถั่วอื่น ๆ และพืชใบกว้างทั้งใบ
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 50-60 ลบ.ซม. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร หรือ 100-200 ลบ.ซม. ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นหลังการเพาะปลูกพืช 15-25 วัน หรือเมื่อวัชพืชมีใบ 3-6 ใบ
การแก้พิษ หากเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้ดื่มน้ำหรือนม ห้ามทำให้อาเจียน แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์
ข้อควรรู้ – ห้ามใช้ในบริเวณที่มีการเพาะปลูก ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เดือย และสนามหญ้า
– อย่าใช้ก่อนจะมีฝนตก 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง
โคลมาโซน
(clomazone)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชใบแคบและใบกว้าง ประเภทก่อนงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูตัวเมีย) 1,400 มก./กก. (หนูตัวผู้) 2,343 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หญ้าตีนกา หญ้าข้าวนกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าดอกขาว หญ้าปล้อง หญ้าขน หญ้าปากควาย หญ้าชันอากาศ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่
พืชที่ใช้ ถั่วเหลือง ยาสูบ อ้อย
สูตรผสม 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 250-450 ซีซี ต่อไร่ ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นหน้าดินแตกต่างกันไปตามสภาพดิน ตั้งแต่ก่อนปลูกพืชหรือระหว่างการปลูกพืช หรือปลูกพืชไปแล้วภายใน 4 วัน
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่หลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้าเข้าปากให้ดื่มนมหรือน้ำจำนวนมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียน แล้วนำส่งแพทย์
ข้อควรรู้ – ละอองยาเพียงเล็กน้อย อาจทำให้พืชต่าง ๆ ที่มิได้แนะนำมีอาการใบซีดขาว และจะหายไปเองภายใน 2-3 สัปดาห์
– พืชที่สามารถปลูกภายหลังการใช้ยานี้ได้ คือ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ยาสูบ ฝ้าย มันฝรั่ง แตง อ้อย ถั่ว สำหรับพืชอื่น ๆ สามารถปลูกตามได้
– ภายในระยะเวลา 4-5 เดือน
โคลโปรซี่ดิม
(cloproxydim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืชและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ ยังไม่ได้ทำการทดลอง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งหมด
พืชที่ใช้ อยู่ในระหว่างการทดลองใช้ กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา มะเขือเทศ และพืชใบกว้างอื่น ๆ
สูตรผสม 4% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ภายหลังจากวัชพืชงอกแล้วมีความสูง 8-10 นิ้ว
ข้อควรรู้ – เป็นอันตรายต่อธัญพืช
– สามารถควบคุมวัชพืชได้ 5-6 สัปดาห์ ถ้าใช้กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
โคลพัยราลิด
(clopyralid)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชทั่วไป ทั้งชนิดใบแคบและใบกว้าง
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และพื้นที่ไม่มีการเพาะปลูก
ข้อควรรู้ – เป็นอันตรายเมื่อกลืนกินเข้าไป
– หลีกเลี่ยงอย่าให้ถูกกับผิวหนังและเสื้อผ้า
– อย่าหายใจเอาละอองไอเข้าไป
ซีเอ็นพี
(CNP)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช diphenyl ester ประเภทเจาะจงพืช และออกฤทธิ์ในทางสัมผัส
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 10,800 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบและใบกว้างทั่วไป
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว ทั้งนาดำและนาหว่าน กะหล่ำปลีและผักกาดหอม
สูตรผสม 20% อีซี , 7% และ 9% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก สำหรับนาดำให้ใช้ก่อนปักดำ 3 วันถึง 6 วันภายหลังจากปักดำแล้ว พืชอื่น ๆ ให้ใช้ภายหลังจากงอกหรือภายหลังปลูกต้นกล้าเรียบร้อยแล้ว
ข้อควรรู้ – ให้ใช้กับพืชที่แนะนำบนฉลากเท่านั้น
– อาจเป็นอันตรายต่อใบเมื่อใช้ในขณะที่ใบเปียก
– ฆ่าวัชพืชภายหลังงอก
– มีประสิทธิภาพในการคุมวัชพืชได้ประมาณ 30 วัน
คอปเปอร์ เอ็ทธิลลีนไดอะมีน
(copper ethylenediamine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชในน้ำ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1 มิลลิลิตร/กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 8 มิลลิลิตร/กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ สำหรับเส้นด้าย สำหรับข้าวเหนียว สำหรับหางกะรอก และวัชพืชน้ำอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ และพืชตระกูลส้มทั่วไป
สูตรผสม 15.2% เอเอส
คอปเปอร์ ไตรเอ็ทธาโนลามีน
(copper triethanolamine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชในน้ำ
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 470 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) 8 กรัม/กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว และวัชพืชน้ำอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ตามร่องน้ำในสวนผลไม้
สูตรผสม 37.5% เอเอส
ไซอานาซีน
(cyanazine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชก่อนงอกหรือในระยะเริ่มงอก ดูดซึมเข้าไปในลำต้นได้โดยผ่านทางราก เป็นตัวขัดขวางขบวนการสังเคราะห์แสง (photosynthesis inhibitor)
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 288 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบแคบตระกูลหญ้าและวัชพืชใบกว้างที่มีอายุสั้นหรือประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด ถั่วเหลือง ฝ้าย สัปปะรด ข้าวสาลี มันฝรั่ง อ้อย ถั่วลันเตา แอสพารากัส และเมล็ดธัญพืช
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ เพื่อคุมวัชพืช ใช้อัตรา 1.5 กก. ผสมกับน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นคลุกพื้นที่ 1 ไร่ ถ้าใช้ปราบวัชพืชในระยะเริ่มงอกให้ใช้อัตรา 650-800 กรัม ผสมกับน้ำ 100 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่
อาการเกิดพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง ท้องเสีย เกิดอาการระคายเคืองตามทางเดินอาหารและเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ดวงตา บางรายอาจมีอาการเซื่องซึม หายใจแรง-เร็ว เส้นเลือดขยายตัวทำให้ความดันโลหิตต่ำ
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น สำหรับแพทย์ ให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ขนาด 30-60 กรัม ผสมกับน้ำ 5-10 ออนซ์ และกินซ้ำทุก 4 ชม. ถ้าท้องไม่เสีย ให้คนไข้ถ่ายท้องด้วยยาโซเดียมซัลเฟท ตามขนาดการใช้ แล้วรักษาตามอาการต่อไป
ข้อควรรู้ – ในขณะใช้ควรเขย่าถังพ่นอยู่เสมอ
– อย่าใช้กับดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%
– เมื่อผสมกับปุ๋ย ห้ามใช้ฉีดพ่นภายหลังงอก
– ออกฤทธิ์โดยผ่านทางรากเป็นส่วนใหญ่
– อาจใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นผสมได้ เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืช
– อาจใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นผสมได้ เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการกำจัดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
– ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้นาน 10-12 สัปดาห์
ไซโคลเอท
(cycloate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช thiocarbamate ประเภทเจาะจงพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,160 มก./กก. (ชนิด 6 อี) 4,640 มก./กก. (ชนิด 10 จี) และ 2,000-4,100 มก./กก. (ชนิด )
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชตระกูลหญ้าประเภทล้มลุก หญ้ายืนต้นบางชนิด และวัชพืชใบกว้างหลายอย่าง
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ sugar beets , table beets , spinach
สูตรผสม 6% อีซี , 10% จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยวิธีคลุกดินให้ลึก 2-3 นิ้ว ก่อนปลูกพืช
ข้อควรรู้ – ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น
– เป็นพิษต่อปลา
– ปลูกพืชทันทีที่คลุกดินเรียบร้อยแล้ว
– เพื่อให้ผสมกับดินได้อย่างทั่วถึง จึงควรคลุกในขณะที่ดินแห้ง
– ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้ 6-12 อาทิตย์
ไซโคลซีดิม
(cycloxydim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจง สำหรับพืชใบกว้างและกำจัดแบบ ภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนังมากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ฝ้าย หอม มันฝรั่ง ถั่วเหลือง ทานตะวันและผักต่าง ๆ
สูตรผสม 20% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ตามคำแนะนำบนฉลาก
ดาลาพอน
(dalapon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organochlorine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชก่อนปลูกและหลังปลูก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 9,330 มก./กก. (sodium salt) ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาของผู้แพ้เกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าคา หญ้าพง หญ้าขน หญ้าล้มลุกและหญ้ายืนต้นอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กาแฟ ฝ้าย ส้ม อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าว กล้วย แอสพารากัส องุ่นและสวนป่า
สูตรผสม 85% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา ใช้อัตรา 1.8 กก.ผสมกับน้ำ 80-100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ สำหรับพืชอื่น ๆ ใช้อัตรา 125-360 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นจุด ๆ หรือทั่วแปลง แล้วแต่ความเหมาะสม
การแก้พิษ ถ้ามีอาการระคายเคืองที่ผิวหนังและดวงตาให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป ต้องทำให้คนไข้อาเจียนและหลีกเลี่ยงการดื่มหรือกินอาหารที่มีไขมัน หรือแอลกอฮอล์ผสมอยู่ สำหรับแพทย์ รักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ – กัดกร่อน โลหะ ไม่ระเหยและไม่ติดไฟ
– ดูดซึมผ่านได้ทั้งทางใบและราก เคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชได้อย่างรวดเร็ว
– คงตัวอยู่ในดินและยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชได้นาน 60 วัน หรือมากกว่า โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่แห้งและเย็น
– อาจใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น เช่น อะทราซีน ได้
ไดแคมบา
(dicamba)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช benzoic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,900 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต หญ้าต่าง ๆ อ้อย และกำจัดวัชพืชในพื้นที่ ๆ ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 40.6% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้คนไข้ดื่มน้ำมาก ๆ แล้วทำให้อาเจียน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ – ดูดซึมเข้าลำต้นได้โดยผ่านทางใบ
– ถั่วเหลืองและถั่วลันเตาอ่อนแอต่อสารชนิดนี้มาก
– ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้เป็นส่วนมาก
– ฤทธิ์สารกำจัดวัชพืชจะอยู่ในดินได้หลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
– ฆ่าวัชพืชเมื่องอกออกมาแล้ว