กลุ่ม 10 สารควบคุมการเจริญเติบโตของไรศัตรูพืช (ระบบเจริญเติบโต)
10A เฮกซีไธอะซอค…………….นิสโซรัน
กลุ่ม 12 ยับยั้งการสังเคราะห์เอ ที พี ในไมโตครอนเดรีย (ระบบพลังงาน)
12B เฟนบูทาทินออกไซด์………..ทอร์ค
12C โพรพาไจ้ท์………………..โอไมท์
12D เตตระไดฟอน………………ทีไดออน วี18
กลุ่ม 19 กระตุ้นจุดรับสารออคโตพามีน (ระบบประสาท)
อามีทราซ…………………ไมแทค
กลุ่ม 21 ยับยั้งการส่งอีเลคตรอนในไมโตครอนเดรียคอมเพล็กซ์ I (ระบบพลังงาน)
21A เฟนไพรอคซิเมท…………….ออทุส
ไพริดาเบน…………………..แซนไมท์
เทบูเฟนไพเรด……………….ไพรานิก้า
กลุ่ม 23 ยับยั้งการสร้างอะเซททิลโคเอคาร์บอกซิเลท (ระบบเจริญเติบโต)
สไปโรมิซีเฟน……………….โอเบรอน
กลุ่มอื่นๆที่ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอน
ไดโคโฟล………………….เคลเทน
ไดโคโฟล, เตตระไดฟอน เป็นสารฯยุคแรกๆความนิยมใช้ลดน้อยลงการหาซื้ออาจจะยากหน่อย
เฮกซีไธอะซอค เน้นใช้คุมไข่ไร ทำลายตัวอ่อนได้บ้าง
ส่วนที่เหลือใช้กำจัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อน ไม่คุมไข่
เมื่อเราพบไรระบาดในสวน ด้านหน้าใบจะดูด้านๆ ส่วนหลังใบจะเห็นตัวเต็มวัย ตัวอ่อน ไข่ พร้อมคราบที่ลอกเต็มไปหมด การฉีดพ่นสารฯจะต้องฉีดพ่นให้ครอบคลุมด้านหลังใบ เพราะสารฯส่วนใหญ่เป็นประเภทถูกตัวตาย เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ตรงจุดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด (คำแนะนำส่วนตัว ปกติสารกำจัดไรต้องฉีดเข้าหลังใบ จะแนะนำให้ใช้สารป้องกันกำจัดใบปื้นเหลืองไปพร้อมกัน เพราะสปอร์ ส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราก็อยู่หลังใบเช่นเดียวกัน แต่ถ้าฉีดใบปื้นเหลืองแล้วไม่มีไร ก็ไม่ต้องใส่สารกำจัดไร)
เพื่อให้ประสิทธิภาพในการกำจัดดีที่สุด แนะนำให้ฉีดพ่นสารฯ ๓-๔ คร้ังต่อเนื่องกัน โดยเว้นระยะห่างแต่ละครั้ง ๓-๔ วัน(ภาษาบ้าน เรียกว่า ๕ วันหัวท้ายหรือ ๖ วันหัวท้าย) โดยสลับกลไกการออกฤทธิ์ทุกครั้งที่ใช้ เช่น ครั้งที่ ๑ อามีทราซ ครั้งที่ ๒ ไพริดาเบน ครั้งที่ ๓ เฟนบูทาทินออกไซด์ ครั้งที่ ๔ เฟนไพรอคซิเมท (กลุ่มกลไกเดียวกันถ้าไม่จำเป็นจะไม่ใช้ต่อเนื่องกัน)
เหตุผลที่ต้องใช้ต่อเนื่อง ๓-๔ ครั้ง เพราะครั้งที่ ๑ กำจัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อน รอ ๓-๔ วันไข่ที่มีอยู่จะฟักเป็นตัวอ่อน(ยังไม่เจริญพันธุ์) ฉีดครั้งที่ ๒ กำจัดตัวแก่ที่หลงเหลือและตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมา ฉีดครั้งที่ ๓ เป็นการกวาดส่วนที่ยังหลงเหลือ ตัดรากถอนโคนให้หมด ถ้ายังพบเห็นตัวก็ซ้ำรอบที่ ๔ (ปกติการใช้สารฯก็จะแนะนำแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือแมลง