www.irac-online.org…………..สารกำจัดแมลง
www.frac.info………………… สารป้องกันและกำจัดโรคพืช
www.hracglobal.com…………..สารกำจัดวัชพืช
www.rrac.info………………… สารกำจัดหนู
www.alanwood.net……………รายละเอียดของสารกำจัดศัตรูพืช
www.accuweather.com………..สภาพอากาศทั่วโลก
www.tmd.go.th………………..กรมอุตุนิยมวิทยา
www.biology-online.org………คำศัพท์ชีววิทยา
www.fertilizer101.org…………ปุ๋ย
Day: July 22, 2017
หอยทาก (Snails and Slug) ที่พบในแหล่งปลูกกล้วยไม้ในประเทศไทย
(ที่มา หอยทาก ศัตรูกล้วยไม้ โดย ชมพูนุช จรรยาเพศ)
๑. หอยเลขหนึ่ง ………………………..Ovachlamys flugens (Gude)
๒. หอยทากซัคซิเนีย (Amber snail)……Succinea minuta (Von Martens)
๓. หอยดักดาน………………………….Cryptozona simensis (Pfeiffer)
๔. หอยสาริกา…………………………..Sarika obesior (Von Martens)
๕. หอยทากยักษ์อาฟริกา………………..Achatina fulica (Bowdich)
๖. ทาก…………………………………Parmarion pupillaris (Humbert)
โรคเน่าดำ,ยอดเน่า, เน่าเข้าไส้ เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา ปาลมิโวรา ทางวิชาการเรียกกลุ่มนี้ว่าราน้ำ (aquatic fungi)
ในการแพร่ระบาดเชื้อราจะสร้างสปอร์แบบมีหาง(zoospore)สามารถว่ายน้ำได้ เมื่อมีฝนตกก็จะเปิดปล่อยสปอร์ออกมา แยกกระจายกระเด็นตามน้ำฝนหรือว่ายไปยังส่วนต่างๆได้ ที่ไหนเหมาะสมก็จะฝังตัวเข้าไปและก่อให้เกิดโรค
สารฯกลุ่มที่เราใช้ในการป้องกันกำจัดหลักๆคือ
…..กลุ่ม A1 เฟนนิลเอไมด์ เป็นสารออกฤทธิ์ดูดซึมและมีการต้านทานสารฯข้ามกลุ่ม เมื่อใช้เป็นประจำ…..เมทาแลกซิล–ริดโดมิล เป็นตัวหลัก ที่เราใช้ส่วนใหญ่เป็นสารฯที่นำเข้ามาจากจีน มีราคาถูกทำให้มีการใช้พร่ำเพรื่อ จนเชื้อต้านทานต้องใช้อัตราสูงขึ้น แต่ในกล้วยไม้มีข้อจำกัด ถ้าใช้อัตราสูงจะมีผลกระทบต่อระบบราก ทำให้รากกุดได้ สำหรับกล้วยไม้รองเท้านารีอยากแนะนำให้ใช้ตัวหลัก เพราะไม้เรามีราคา ใช้ ริดโดมิล-เอ็ม(+แมนโคเซป)หรือจะเลือกสูตรใหม่ที่เค้าเปลี่ยนโครงสร้าง ริดโดมิล-โกลด์ ส่วนเบนาแลกซิล–กัลเบน,….. ออกซาไดซิล–แซนโดแฟน ทีมีจำหน่ายเป็นสูตร+แแมนโคเซป ในบางพื้นที่หาซื้อมาใช้ยาก
คณะกรรมการด้านการต้านทานเกี่ยวกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช มีเวปไซท์ www.frac. info อยากให้แวะเข้าไปเยี่ยมชมจะได้รู้ที่มาที่ไป รู้ว่าเขาทำงานอย่างไร และเราจะเอามาใช้ประโยชน์ได้แบบไหนอย่างไร ส่วนในที่นี้ขอสรุปเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นและจะพยายามให้ข้อมูลเพื่อใช้ค้นคว้าต่อไป
ชื่อตัวเอนเป็นชื่อสามัญ ชื่อตัวตรงเป็นชื่อการค้าที่นำเข้ามาจำหน่ายเป็นครั้งแรกในประเทศ ตัวเลขข้างท้ายคือค่าความเป็นพิษ(LD50) ส่วนชื่อเชื้อ ตัวเอนเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ ข้อความต่อไปนี้รวบรวมจากประสบการณ์ในการทำงาน และด้วยความจำกัดในด้านโรคพืชอาจจะมีข้อมูลคลาดเคลื่อน ขอรบกวนผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญช่วยติและแก้ไขด้วย
สารป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicide)
A. ยับยั้งการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิค…………………………LD50
…..A1 กลุ่มเฟนนิลอะไมด์…..(FC 4)
อะซิลอะลานิน………………..เบนาแลกซิล……………กัลเบน…………………………4,200
……………………………..เมทาแลกซิล……………ริดโดมิล………………………….669
ออกซาโซลิดิโนน……………..อ๊อกซาไดซิล…………..แซนโดแฟน……………………1,860
แมลงตัวเต็มวัย มี ๖ ขา ลำตัวแบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ หัว อก ท้อง มีปีก ๑-๒ คู่
แมลงมีพัฒนาการหลักๆ ๒ แบบ
๑. ไข่(egg)—–> ตัวอ่อน(nymph)—–> ดักแด้(pupa)—–> ตัวเต็มวัย(adult)
……..ตย.เช่น…..เพลี้ยไฟ…..เพลี้ยอ่อน…..เพลี้ยหอย……เพลี้ยจักจั่น…..เพลี้ยกระโดด…..มวน
ตัวอ่อนจะจำลองตัวเต็มวัย เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่าและอวัยวะบางส่วนยังพัฒนาอยู่
๒. ไข่(egg)—–> ตัวหนอน(larva)—–> ดักแด้(pupa)—–> ตัวเต็มวัย(adult)
กลุ่ม 10 สารควบคุมการเจริญเติบโตของไรศัตรูพืช (ระบบเจริญเติบโต)
10A เฮกซีไธอะซอค…………….นิสโซรัน
กลุ่ม 12 ยับยั้งการสังเคราะห์เอ ที พี ในไมโตครอนเดรีย (ระบบพลังงาน)
12B เฟนบูทาทินออกไซด์………..ทอร์ค
12C โพรพาไจ้ท์………………..โอไมท์
12D เตตระไดฟอน………………ทีไดออน วี18
กลุ่ม 19 กระตุ้นจุดรับสารออคโตพามีน (ระบบประสาท)
อามีทราซ…………………ไมแทค
เพลี้ยไฟกะไอ้ฮวบ (ไอ้ฮวบ,บั่วกล้วยไม้,หนอนแมลงวันชอนดอกกล้วยไม้)
(Thrips>>> Thrips palmi and Orchid blossom midge>>> Contarinia maculipennis)
สองศัตรูตัวร้ายของช่อดอกกล้วยไม้ ในช่วงปีที่ผ่านมาอากาศแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ ทำให้การระบาดของเพลี้ยไฟกะไอ้ฮวบมีสลับกันตลอดทั้งปี สร้างความเสียหายมากมาย การตรวจพบการระบาดตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันกำจัด หลักในการจัดการก็คือ เราต้องเดินตรวจสวนเองทุกวัน ถ้าตัดไม้เอง กำไม้เองก็ยิ่งดีใหญ่ เพราะเราจะได้พบเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่ม การป้องกันกำจัดสามารถทำได้ทันทีทันเหตุการณ์
ขอทำความเข้าใจก่อน ส่วนนี้ขอเสนอเป็นภาษาไทย โดยคัดเฉพาะที่มีจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ชื่อที่เป็นตัวเอนคือชื่อสามัญ ชื่อตัวตรงคือชื่อการค้าชื่อแรกที่นำเข้า ชื่อสีแดงยังไม่มีจำหน่าย(ยังรอทะเบียน, ยกเลิก) ตัวเลขท้ายชื่อเป็นค่าความเป็นพิษ(ตัวเลขยิ่งน้อยความเป็นพิษยิ่งมาก ตัวเลขยิ่งมากความเป็นพิษก็จะน้อยลง ต้นฉบับภาษาอังกฤษ(English version please search at www.irac-online.org MoA classific ation 2011)
กลุ่ม 1 ยับยั้งเอนไซม์อะเซทติลโคลีนเอสเตอเรส (AChE) ระบบประสาท
1A คาร์บาเมท………………………LD50
คาร์โบฟูแรน…………..ฟูราดาน………….8………ดูดซึม……………………ไร-ไส้เดือนฝอย
คาร์โบซัลแฟน…………พอสซ์…………200…………………………………ไส้เดือนฝอย
เมทโธมิล……………..แลนเนท…………17
อะลานีคาร์บ…………..โอเรียน…………440……..สัมผัส-กิน
เบนฟูราคาร์บ………….ออนคอล……….138………………………………….ไส้เดือนฝอย
คาร์บาริล………………เซฟวิน…………850
ฟีโนบูคาร์บ…………….บัสซ่า………….700
ฟอร์มีทาเนท…………..ไดคาร์โซล……….15…………………………………ไร
ไอโซโปรคาร์บ………….มิพซิน…………400
เมทธิโอคาร์บ…………..เมซูโรล………..100………………………………….ไร-ไล่นก-หอยทาก
โพรโปเซอร์…………….อุนเดน………….50
ด้วงหมัดผักแถบลาย ( leaf eating beetle)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllotreta sinuate Stephen
วงศ์ Chrysomelidae
อันดับ Coleoptera
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
ด้วงหมัดผักพบแพร่ระบาดอยู่โดยทั่วๆไปในธรรมชาติ พบ 2 ชนิด คือ ด้วงหมัดผักแถบลาย P. sinuate และด้วงหมัดผักสีน้ำเงิน P. chontanica ชนิดที่สำคัญคือ ด้วงหมัดผักแถบลายตัวอ่อนกัดกินหรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้นหรือรากของผัก ทำให้พืชผักเหี่ยวเฉาและไม่เจริญเติบโต ถ้ารากถูกทำลายมากๆ ก็อาจจะทำให้พืชผักตายได้ ตัวเต็มวัยชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น และกลีบดอกด้วย ด้วงหมัดผักชอบอยู่ร่วมกันกลุ่มๆ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดดและสามารถบินได้ไกลๆ