เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า “จุลธาตุ”
ธาตุเหล็กจะพบในดินมาก แต่ไม่ได้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชนต่อพืช ซึ่งปัญหาในการขาดธาตุเหล็กในพืชไม่ใช่เพราะธาตุเหล็กในดินมีปริมาณน้อย แต่เกิดจากการไม่ละลายและความไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชของธาตุเหล็กในดิน เช่นดินที่มีความเป็นกรดด่างมากๆ ธาตุเหล็กจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเลย แต่ในดินที่มีน้ำขังจะให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อพืชสูงขึ้น ธาตุเหล็กพืชจะนำไปใช้ได้ต้องมีค่า pH ของดินหรือน้ำอยู่ระหว่าง 5.5-5.6 ถ้าต่ำกว่านี้จะทำให้ปริมาณของธาตุเหล็กมีมากเกินไปจนก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช โดยเฉพาะมะเขือเทศ พริก และพืชตระกูลแตงต่างๆ เมื่อรับธาตุเหล็กมากเกินไป ใบจะด่างลาย (คล้ายกับอาการ Mosaic) หยุดการเจริญเติบโต ใบม้วนลงด้านล่าง ซีดเหลืองทั้งใบ (ดินที่มีธาตุเหล็กมากเกินจนเป็น อันตรายต่อพืชได้แก่ ดินทราย ดินลูกรังที่มีสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม)
ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีนในพืช ช่วยกระตุ้นให้การหายใจและการปรุงอาหารของพืชให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าธาตุเหล็กจะไม่ใช่องค์ประกอบของคลอโรฟิลล์และเอ็นไซม์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมากต่อการสร้างเม็ดสีเขียวในพืช (สรุปได้ว่าธาตุเหล็กมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสงและการหายใจของพืช)
หน้าที่ความสำคัญของธาตุเหล็ก
1.เป็นองค์ประกอบและช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ / เป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์หลายชนิด
2.ช่วยในการดูดธาตุอาหารอื่นๆ เช่นธาตุไนโตรเจน (ธาตุเหล็กจะไปตรึงธาตุฟอสฟอรัสในดินไว้ จนพืชนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ แก้ไขโดยการฉีดพ่นให้อาหารเสริมทางใบ)
3.จำเป็นในการสังเคราะห์โปรตีนและคลอโรฟิลล์
4.เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญของพืช
5.เป็นองค์ประกอบของ Cytochrome ซึ่งสำคัญต่อกระบวนการหายใจของพืช
อาการของพืชที่ขาดธาตุเหล็ก
1.เกิดอาการขาวซีดที่ใบอ่อน และจะตายจากยอดลงมา โดยที่ใบล่างยังเขียวอยู่ (แสดงอาการการขาดสารคลอโรฟิลล์ คือไม่เขียว)
2.ระบบรากของพืชไม่พัฒนา พืชเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
3.พืชได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป มักจะเกิดกับ ข้าวที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัด (เป็นกรด) จะทำให้ใบมีสีเขียวปนน้ำเงิน ต่อมาใบจะแห้งอย่างรวดเร็ว ต้นและรากเจริญเติบโตลดน้อยลง รากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
การแก้ไขเมื่อพืชขาดธาตุเหล็ก
1.เอาสารประกอบเหล็ก เช่น เฟอรัส ซัลเฟต , เฟอริค ซัลเฟต หรือเฟอริค ซิเตรต ฉีดพ่นให้กับพืชโดยตรงหรือรดรอบๆต้นพืช (วิธีการฉีดพ่น จะให้ผลดีกว่าการให้ทางดิน เพราะพืชเอาไปใช้ประโยชน์ได้เลย และไม่ต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นกรดด่างของดิน หรือโลหะหนักต่างๆ ตรึงธาตุเหล็กไว้)
2.นำสารประกอบอินทรีย์พวกคีเลท (Fe EDTA) ฉีดพ่น หรือใส่ทางดิน
3.การปรับสภาพดินให้เป็นด่าง (เล็กน้อย) โดยการใส่ปูนขาว จะช่วยให้ธาตุเหล็กในดิน ถูกพืชนำไปใช้ได้