ธาตุแมงกานีส Mn

เป็นธาตุที่พืชต้องการน้อยแต่ขาดไม่ได้ เรียกว่า”จุลธาตุ” มีความสำคัญต่อพืชคล้ายๆ ธาตุเหล็ก กล่าวคือ มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ หลายชนิด  ช่วยในขบวนการอ็อกซิเดชั่น – รีดั๊กชั่น ในขบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ (เป็นองค์ประกอบของคลอโรพลาสต์) (มีส่วนใน ขบวนการ Metabolism ของ Fe และ N)

การนำไปใช้ประโยชน์ของพืช
แมงกานีสเป็นองค์ประกอบของแร่ ไพโรลูไซค์ แร่โดโรไครไซต์ แร่โรโดไนต์ เมื่อแร่ผุพังสลายตัวก็จะปลดปล่อยแมงกานีสออกมา แมงกานีสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช จะอยู่ในรูปแมงกานีสทู ไอออน และ แมงกานีส ไตอ๊อกไซค์ ซึ่งอยู่ในสารละลายในดิน
หน้าที่สำคัญของธาตุแมงกานีส
1. ช่วยในการหายใจ (เกิดแก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซค์) /สังเคราะห์แสง (เกิดคลอโรฟิลล์) /เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมี /ช่วยสังเคราะห์โปรตีนในพืชให้เป็นแป้ง และน้ำตาล
2. เพิ่มจำนวนช่อดอก จำนวนผล ช่วยพัฒนาขนาดของผลและเมล็ด ส่งเสริมการสุกการแก่ของผล ควบคุมการคายน้ำของผล
3. สร้างความต้านทานต่อความหนาวเย็นหรือเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ
4. สร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
อาการของพืชเมื่อขาดธาตุแมงกานีส
(ปกติปริมาณความต้องการธาตุแมงกานีสในพืชแต่ละชนิดมีไม่มากนัก พืชที่ปลูกในดินธรรมดาทั่วๆไป จึงมักไม่แสดงอาการขาดให้เห็น)
1.อาการใบเหลือง แต่เส้นใบเขียว (แมงกานีสเป็นธาตุที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายถ่ายเทได้ในพืช อาการจะเริ่มจากยอดหรือส่วนบนลงมาหาโคนต้น อาการจะแสดงให้เห็นในช่วงกลางๆ ของช่วงอายุการเจริญเติบโต (4-6 สัปดาห์)
2.เนื้อใบจะมีสีซีดจางลง แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล ส่วนเส้ยใยยังคงสีเขียว ใบอาจจะม้วน หรืออาจมีอาการจุดสีเทาจุดเหลืองหรืออาการด่างลายขึ้น (โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ซึงเป็นพืชที่ไวต่อธาตุแมงกานีสมาก)
3.ในพืชผักทั่วๆไป ใบจะเหลืองทั้งใบแล้วร่วงหลุดจากต้น หรือเกิดอาการแห้งลงมาจากส่วนปลายของแขนงหรือยอดที่แตกออกมาใหม่ ต้นจะแคระแกรน ชะงักการเจริญเติบโต
4.ตาข้างของพืชจะแตกกิ่งมากมาย (Withes Broom)
5.ทำให้พืชเกิดการขาด Ca ที่ใบอ่อน