ธาตุกำมะถัน S

เป็นธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K  พืชต้องการในปริมาณที่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก แต่มีความจำเป็นต่อพืชมาก เพราะธาตุกำมะถันเป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโน และโปรตีน และวิตามินบางชนิด และยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของสารระเหยในพืช (ทำให่พืชมีกลิ่นเฉพาะตัว) เช่น กระเทียม หัวหอม ทุเรียน ฯลฯ

แหล่งที่มาของกำมะถัน
– องค์ประกอบส่วนใหญ่ของกำมะถันจะเป็นส่วนประกอบของหินอัคนีที่ผุพังสลายตัวในรูปของโลหะซัลไฟด์ (แร่ไฟไรท์ ,ยิปซั่ม ฯลฯ) เมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสมจะถูกออกซิไดซ์ให้มาอยู่ในรูปของซัลเฟต (เช่นเกลือซัลเฟต) ส่วนใหญ่จะพบในดินที่แห้งแล้ง หรือกึ่งแห้งแล้ง
– ได้จากซากพืชซากสัตว์ซึ่งสะสมอยู่ในดิน ในรูปอินทรีย์กำมะถัน
– ได้จากการละลายมากับน้ำฝนของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์ ที่ตกลงมาสู่ดิน แล้วเปลี่ยนรูปจาก อนุมูลซัลเฟต ไปอยู่ในรูปของซัลไฟด์ด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์
– ได้จากการใส่ปุ๋ยกำมะถันลงไปในดิน

ประโยชน์ของธาตุกำมะกัน
1.จำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและกรดอะมิโน
2.เป็นองค์ประกอบของวิตามิน B1 ,Co enzyme A,Glutathione และ เอ็มไซม์อื่นๆ
3.มีส่วนร่วมในการสร้างคลอโรฟิลล์ในพืช ในการจับไนรโตรเจนจากอากาศมาสร้างโปรตีนของแบคทีเรียพวก Rhizobium sp. ที่ปมรากของพืชตระกูลถั่ว
4.เพิ่มปริมาณน้ำมันในพืช เช่น ถั่วเหลือง

อาการที่พืชขาดธาตุกำมะถัน
1.ใบพืชมีสีเขียวอ่อนหรือสีเหลือง (คล้ายขาดธาตุ ไนโตรเจน) แต่การขาดกำมะถันจะเป็นที่ยอด
2.ใบพืชจะเล็กลง ยอดพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ถ้าเป็นรุนแรง ใบเหี่ยวย่น
3.ลำต้นเล็กแคระแกรน เนื้อไม้แข็ง
4.รากยาวผิดปกติ พืชตระกูลถั่วจะมีปมที่รากน้อยกว่าปกติ

ความต้องการธาตุกำมะถันของพืชแต่ละชนิด
1.พืชที่ต้องการกำมะถันมาก เช่น พืชตระกูลถั่ว หอม กะกล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม ดอกไม้บางชนิด
2.พืชที่ต้องการกำมะถันรองลงมา เช่น ฝ้าย ยาสูบ มันฝรั่ง
3.พืชที่ต้องการกำมะถันน้อย เช่น หญ้าต่างๆ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฯลฯ