ธาตุแมกนีเซี่ยม Mg

ธาตุแมกนีเซี่ยม คือธาตุอาหารรอง จากธาตุอาหารหลัก N , P , K พืชที่มีสีเขียวทุกชนิดต้องการเพื่อการเจริญเติบโต เนื่องจากแมกนีเซี่ยมมีส่วนร่วมในการสร้างเม็ดสีเขียว ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ การทำงานของระบบเอมไซม์ และยังช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัส (จากส่วนที่แก่ไปยังส่วนอื่นๆ ที่อ่อนกว่าของต้น) ช่วยในการสร้างไขมันในพืช  รวมทั้งช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อบางชนิด นอกจากนี้แล้วแมกนีเซี่ยมยังเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์โดยอยู่ในรูปของ แมกนีเซี่ยม เพคเตท

ธาตุแมกนีเซี่ยมในดินในดินแบ่งออกเป็น 2 รูป คือ
1.อินทรีย์แมกนีเซี่ยม พืชจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ซึ่งจะอยู่ในรูปของไพติน และ แมกนีเซี่ยม เพคเตต ถ้าพืชจะนำไปใช้จะต้องถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย จากอินทรีย์แมกนีเซี่ยมมาเป็นอนินทรีย์แมกนีเซี่ยม (ในรูปของ แมกนีเซี่ยม ไอออน) ก่อน
2.อนินทรีย์แมกนีเซี่ยม มาจากหินและแร่ (แร่ไบโอทิน แร่เซอร์เพนทีน และแร่โดโลไมต์) เมื่อแร่ผุพัง สลายตัวจะให้ แมกนีเซี่ยม ไอออน ลงไปในดิน (แมกนีเซี่ยมที่แลกเปลี่ยนได้) พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
ความสำคัญอื่นๆ
1.เป็นตัวนำให้เกิดปฏิกิริยาการใช้ ฟอสฟอรัส P
2.มีส่วนในการสร้างกำมะถัน โดยทำงานร่วมกับกำมะถัน S
3.มีส่วนในการสร้างองค์ประกอบทางพันธุ์กรรม
อาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซี่ยม
อาการจะเกิดกับใบแก่ส่วนล่างๆ ของลำต้น โดยบริเวณขอบใบและระหว่างเส้นใบ จะมีสีซีดๆ สีขาวใส แผ่นใบจะมีสีเหลือง (หรือสีแดงใบพืชบางชนิด) ในที่สุดจะเป็นสีน้ำตาลแล้วแห้ง เนื้อใบที่อยู่ในๆ ลึกเข้าไปจะค่อยๆ ซีด เหลือง ไปจนจรดแกนใบ เป็นมากๆ ใบจะแห้งตายทั้งใบแล้วร่วงหลุดจากต้น (อาการจะค่อยๆ ลามจากโคนต้น โคนกิ่ง ขึ้นไปหายอด)
ตัวอย่างอาการของแต่ละพืช
1.พืชพวก ธัญพืช (พืชที่มีเส้นใบขนาน เช่น ข้าวต่างๆ) อาการเหลืองหรือซีดลงของสี ปรากฎเป็นเส้นยาวๆ ขนานไปตามความยาวของใบ (ขีดเหล่านี้จะเห็นขัดเจน ถ้าเอาไปส่งดูกับแสงอาทิตย์)
2.พืชพวกแตง (แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย ฟัก แฟง) และผักพวกที่มีใบอ่อนบาง จะเกิดเป็นแผลจุดเล็กๆ ลักษณะโปร่งแสง ขึ้นแทนจุดเหล่านี้ เมื่อขยายใหญ่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจางๆ (ลักษณะคล้ายแผลที่เกิดจากโรคแอนแทรคโนส หรือโรคราน้ำค้าง)
3.มะเขือเทศ จะแสดงอาการเหลือง คล้ายขาดคลอโรฟิลล์ แต่ส่วนของเส้นใบจะมีสีเขียวเข้มขึ้น
4.พืชพวกกะกล่ำต่างๆ ใบแก่ที่อยู่ตอนบ่างๆ ของต้น จะเหลืองแล้วยังจีบย่น หรืออาจแสดงอาการเป็นดวงๆ หรือลาย ขอบใบเปลี่ยนเป็นสีขาว
5.การขาดธาตุแมกนีเซี่ยม ในพืชผักบางชนิดยังมีผลเกี่ยวโยงกับโรคที่เกิดจากเชื้อบางอย่างอีกด้วยเช่น
มะเขือเทศถ้าเป็นโรค Blight ที่เกิดจากเชื้อรา จะทำให้เกิดโรคได้ง่ายรุนแรง เป็นแผลขึ้นที่ผลด้วย (ปกติจะเป็นเฉพาะต้นและใบเท่านั้น) / พืชตระกูลถั่ว จะเกิดสีซีด แต่เส้นใยยังเขียวอยู่) / มันฝรั่ง จะทำให้เกิดโรค Potato sickness / ส้ม จะทำให้เกิดโรค Bronzing