สารป้องกันแมลงศัตรูพืชที่ผลิตจาก สารเร่ง พด.7 เป็นปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้จากการย่อยสลายพืชสมุนไพร โดยกิจกรรมจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ได้ของเหลวสีน้ำตาลใส ซึ่งประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายชนิดในปริมาณสูง รวมทั้งสารออกฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ และสารไล่แมลงที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ใช้ในการป้องกันแมลงศัตรูพืช

สารเร่ง พด.7
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช

Read More

สูตรน้ำหัวผักกาด(หัวไชเท้า)คุมหญ้า/ฆ่าหญ้าในนาข้าว

คุณชวะฤทธิ์ ดอกพุดทา เกษตรกร หมู่ 6 ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยคุณลุงมีพื้นที่ทำนาทั้งสิ้น 25 ไร่ เป็นที่ดินของตนเอง เป็นนาปรัง ทำได้ 2 ครั้งต่อปี เพราะใกล้แหล่งน้ำชลประทาน สามารถทำข้าวได้ 80 ถังต่อไร่ เป็นการใช้เคมีผสมกับชีวภาพ ชีวภาพที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นน้ำหมักที่ลุงก็หมักใช้เองโดยการแนะนำจากเกษตรตำบล นอกจากนี้ยังมี สูตรน้ำหัวผักกาดคุมหญ้า/ฆ่าหญ้าในนาข้าวของคุณลุงอีกด้วย

สูตรน้ำหัวผักกาด(หัวไชเท้า)คุมหญ้า/ฆ่าหญ้าในนาข้าวของคุณลุงชวะฤทธิ์ที่ใช้อยู่

วัสดุที่ใช้มีดังนี้
น้ำหัวผักกาด (สีขาว) 1 ส่วน

ผงกลูโคส 1 ส่วน

น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ส่วน

วิธีทำ

นำส่วนผสมทั้งหมดมาหมักไว้ 1 คืน

วิธีใช้

ใช้ 7 วันครั้ง ในอัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้ในนาข้าวเมื่อข้าวยังเล็กเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของหญ้าหรือใช้ฉีดพ่นมะนาวหรือส้มโอให้ใบร่วง จากนั้นจะเริ่มออกดอกนอกฤดูกาลได้อีกด้วย

Read More

สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์

ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน

วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี

การใช้ประโยชน์
1. ปุ๋ยชีวภาพแห้ง
ส่วนผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 – 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้

Read More

สารเร่ง พด.7 หมายถึง เชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการหมักและย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากพืชสมุนไพร ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน เพื่อผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช

สรรพคุณ
ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่าง ๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก หนอนชอนใบ หนอนคืบ หนอนกระทู้ หนอนกอ ไรแดง และแมลงหวี่ เป็นต้น

วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช (จำนวน 50 ลิตร)
สมุนไพร 30 กิโลกรัม
น้ำตาล 10 กิโลกรัม
น้ำ 30 ลิตร
สารเร่ง พด.7 1 ซอง (25 กรัม)

Read More

ยืดอายุกล้วยดิบ :
ผลกล้วยแก่จัดเมื่อตัดเครือลงมาจากต้นแล้วจะเริ่มกระบวนการสุกตามธรรม
ชาติทันที หากยังไม่ต้องการให้กล้วยสุกหรือยังคงเป็นกล้วยดิบอยู่อย่างนั้นให้นำผลกล้วยดิบที่ตัดเครือลงมาจากต้นใหม่ๆ ตัดแยกเป็นหวีๆ หรือทั้งเครือ ล้างน้ำทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง แล้วหมกในข้าวสารในโอ่งจนมิดเครือ ระหว่างที่ผลกล้วยถูกกลบด้วยข้าวสารนั้นจะไม่สุก หรือยังคงเขียวอยู่อย่างนั้นได้นานนับเดือน จนเมื่อนำขึ้นจากข้าวสารแล้วบ่ม ผลกล้วยก็จะสุกตามปกติ
ยืดอายุกล้วยสุก :
กล้วยสุกที่รับประทานไม่ทัน หรือต้องการยืดอายุการเก็บให้นานขึ้น แนะนำให้นำผลกล้วยที่สุกพอดีๆแล้วตัดเป็นหวีๆ ลงแช่ในน้ำเดือดนาน 2-3 นาที แล้วนำขึ้นผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำมาเก็บ (แขวนหรือวางตามปกติ)ผลกล้วยจะหยุดสุกต่อนาน15-20 วัน จากนั้นจึงจะสุกหรือสุกงอม

วัตถุดิบ

1. หน่อกล้วยความยาวไม่เกิน 1 เมตร      น้ำหนัก   50   กิโลกรัม

  1. กากน้ำตาล        15   ลิตร

วิธีการทำ

1. สับหน่อกล้วยให้ละเอียด

2. ผสมกากน้ำตาลกับหน่อกล้วยที่สับละเอียดแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน บรรจุลงถังที่ฝาแคบปิดให้สนิท

3. ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จะได้จุลินทรีย์หน่อกล้วย มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้ม

การนำไปใช้
     1. สำหรับพืชผักที่กินใบ ใช้จุลินทรีย์ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดหรือรดที่โคน 3-5 วันต่อครั้ง
     2. สำหรับไม้ที่กินผล ใช้จุลินทรีย์  5 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดหรือรดที่โคน 3-5 วันต่อครั้ง

Read More


ในปัจจุบันพบว่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี 17 ธาตุ คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) กำมะถัน (S) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) ไมลิมดีนัม (Mo) โบรอน (B) คลอรีน (Cl) และนิเกิล (Ni) นอกจากธาตุ C H และ O ซึ่งพืชได้รับจากอากาศและน้ำในรูป CO2 O2 และ H2O แล้วธาตุที่เหลือจำเป็นต้องมีอยู่ในสารละลายในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ ความเข้มข้นที่เหมาะสมของธาตุอาหารแต่ละธาตุขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ระยะการเจริญเติบโต และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการเจริญเติบโตต่างๆ ช่วงความเข้มข้นของสารละลายที่มีผู้รายงานว่าเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชชนิดต่างๆ จึงแปรปรวนอยู่ในช่วงกว้าง (ตารางที่ 5-1)

Read More

Stock    สูตรเคมี    ชื่อปุ๋ย    จำนวน (g)
A    CaNO3    Calcium Nitrate แคลเซียมไนเตรด               1500 g
A    Fe – DP    เหล็กคีเลต ( Fe – DP ) 7% หรือเหล็กแดง      50 g
A    H3BO3    ผงจุลธาตุโบรอน 17% กรดบอริก              10 g
A    CH4N2O    Urea-Low Biuret ยูเรีย                              10 g
B    KNO3    Potassium Nitrate โพแทสเซียมไนเตรด      300 g
B    KH2PO4    Monopotassium phosphate (MKP) โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต    200 g
B    MgSO4    แมกนีเซียมซัลเฟต                              800 g
B    MnSO4    แมงกานีสซัลเฟต  Mn 32 %                      1 g
B    ผงจุลธาตุคีเลตรวมธาตุอาหารรอง+เสริม RMX 25              30 g
B    NaCl    เกลือแกง                                                      10 g

ปริมาณธาตอาหารทั้งหมด (กรัม)    2911
ผสมน้ำ 10 ลิตร อัตราส่วน 1 ต่อ 200
ผสมน้ำ 20 ลิตร อัตราส่วน 1 ต่อ 100

สูตรที่ผมใช้นี้ยังไม่เสถียรนักจะต้องปรับแต่งหน้างานอีก
– หากสภาพอากาศเปิด (แสงเต็มที่เกิน 6 ชั่วโมง) ให้เติม Calcium Nitrate 1 กำมือต่อน้ำสารละลาย 50 ลิตร
– หากผักใบเหลืองให้เติมเหล็กเพิ่ม หรือเปลี่ยนไปเติมเหล็ก 4 % แทน
– หากผักใบเป็นจุดเล็กๆให้เติมจุลธาตุคีเลตรวมเพิ่ม

พริกมัน

พันธุ์ของพริกหนุ่ม 1. พันธุ์แทงโก้ พริกมันแดงพันธุ์ลูกผสม แตกพุ่มดี ผลดก ผลอ่อนสีเขียวเข้มเมื่อแก่สีแดงเข้ม ความยาวผล 9-12 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวครั้งแรกเมื่ออายุ 60-70 วันหลังย้ายปลูก เหมาะสำหรับบริโภคสดและส่งโรงงานอุตสาหกรรม 2. พันธุ์ 7216 พริกมันแดงพันธุ์ลูกผสม 3. พันธุ์ไวต้าเอส พริกหนุ่มเขียว 4. พันธุ์จอมทอง 2 พริกหนุ่มเขียว 5. พันธุ์สะบันงา พริกหนุ่มขาว 6. ซุปเปอร์ฮอท สีแดงเข้ม เนื้อหนา รสเผ็ด นิยมบริโภคสด

มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก มีวิตามินซี วิตามินเอ

รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). พริกขี้หนู พริกหนุ่ม พริกมัน. ค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2550 จากhttp://www.doae.go.th/LIBRARY/html/detail/paddy/A23.htm

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2550). อาหารพื้นเมืองไทย. ค้นวันที่ 20 สิงหาคม 2550 จากhttp://ittm.dtam.moph.go.th/data_articles/thai_food/thai_fd19.htm