ชื่ออื่นๆ : –
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ : Common Cucumber
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucumis sativus L.
1.พันธุ์ :พันธุ์แตงกวาเกษตรกรต้องปลูกตามความต้องการของตลาด ตลาดต้องการลูกสีเขียวยาว หรือขาวยาว หรือใหญ่ป้อม จึงเป็นลูกผสมของแต่ละบริษัทที่เกษตรกรจะเลือกปลูก เป็นของตราศรแดง บ.เจียไต๋ และบริษัทอื่นๆ
2. การเตรียมดิน ต้องไถดินตามประมาณ 10 วัน จากนั้น พรวนดินให้ร่วน เรียบและสม่ำเสมอ ไม่มีน้ำท่วมขัง ปลูกโดยการยกร่อง หรือพื้นเรียบ
3. วิธีการปลูก หลังจากเตรียมดิน ทำการขึงเชือก ตีหลุมระยะปลูก 1 x1.2 เมตร ปลูกแบบพื้นเรียบ และไม่ต้องทำค้าง หากทำค้างระยะปลูกประมาณ 1 x1.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หยอดเมล็ด 3-4 เมล็ด ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา และสารเคมี (เมทาแลคซิล และคาร์โบซัลแฟน)
4. การปักค้าง กรณีทำค้าง ใช้ไม้ลวกปักแต่ละหลุม แล้วใช้ปลายค้างเอียงเข้าหากัน หรือปักตรงแต่ละหลุม และขึงตาข่ายมัดติดกับหลักให้เถาว์แตงกวาเลื้อยขึ้นไป จะสามารถเก็บผลผลิตได้ง่าย
5. การให้น้ำ แตงกวาระบบรากตื้น จึงต้องให้น้ำมาก และควรให้น้ำสม่ำเสมอด้วย ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เพราะจะทำให้เกิดโรคทางใบได้ง่าย
6. การใส่ปุ๋ย ในขณะเตรียมดิน ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วย และเมื่อแตงกวาอายุ 10 วัน มีแรกประมาณ 2-3 คู่ ก็ใส่ปุ๋ย 46-0-0 ได้บางๆ รดน้ำให้ทั่วถึง
7. การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 30-40 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยเลือกเก็บเฉพาะระยะส่งตลาด ไม่อ่อนหรือแก่มาก นำมาคัดแยกบรรจุถุงส่งตลาด
8. โรค ที่สำคัญ คือ โรคราน้ำค้าง โรคเหี่ยว และแอนแทรคโนส ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดเมทโทม็อบ เมทาแลคซิล คาเบนตาซิม หรือโพรคลอราช ตัวใดตัวหนึ่งสลับกัน
9. แมลงศัตรู ที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟ เต่าแตง แมลงวันผลไม้เจาะผล เพลี้ยจั๊กจั่น และหนอนคืบ ควรพ่นด้วยสารเคมีอิมิดาโดลพริด เซฟวิน อะมาเม็กติน
การใช้ฮอร์โมน
1.กรดจิบเบอเรลลิก เพื่อเปลี่ยนเพศเมียเป็นเพศผู้ในแตงกวากรดจิบเบอเรลลิก (หรือ Gibberellin A3, GA, และ (GA3) เป็นฮอร์โมนพืชกลุ่มจิบเบอเรลลิน สูตรโครงสร้างคือ C19H22O6 ในรูปบริสุทธิ์เป็นผงสีขาวหรือเหลืองละลายในเอทานอลและละลายในน้ำได้เล็กน้อย ใช้ฉีดพ่น อัตรา 300 ppm.เริ่มพ่นเมื่อแตงกวามีใบจริง 2 ใบ พ่นซ้ำทุก 4 วัน จำนวน 10 ครั้ง เก็บดอกตัวผู้และตัวเมียเพื่อหาอัตราส่วนการเกิดดอก ใช้ต้นเก็บข้อมูล 10 ต้น มีต้นเป็นแนวป้องกันรอบพื้นที่การเก็บข้อมูล ประมาณ 4-5 แถว แถวละ 12 ต้น ในการทดสอบว่าแตงกวาความสามารถของเพศผู้ว่าผสมติดหรือไม่ ให้เก็บดอกเพศผู้มาผสมในช่วงเช้า 7.00-9.00 น. กับดอกเพศเมียบริเวณต้นที่อยู่หัวและท้ายแปลงทั้ง 4 ต้น จำนวนต้นละ 4 ดอก โดยให้ป้องกันการผสมเกสรดจากดอกอื่นในแต่ละครั้งการผสมพันธุ์
2. NAA การเปลี่ยนดอกเพศผู้เป็นเพศเมียให้ใช้ NAA อัตรา 50-100 ppm. ฉีดพ่นจะช่วยในการเกิดเพศเมียได้มากขึ้น
ภาพแปลงแตงกวาทดสอบประสิทธิภาพฮอร์โมนกรดจิบเบอเรลลิกเพื่อเปลี่ยนเพศเมียเป็นเพศผู้ในแตงกวา
แปลงแตงกวาไม่ค่อยเจริญเติบโต ต้นมีอาการสตั้น ใบไหม้ เกิดจาการใช้ยากำจัดวัชพืชพ่นควบคุมหญ้าก่อนปลูก เมื่อปลูกแล้วใบเลี้ยงงอกออกมาจากเมล็ดจะสัมผัสกับยากำจัดวัชพืชจะแสดงอาการ ให้เห็นดังภาพ