ธาตุไนโตรเจน N

ปกติจะมีอยู่ในอากาศจำนวนมาก ในรูปของก๊าซไนโตรเจน แต่พืชไม่สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ (ยกเว้นพืชตระถั่วเท่านั้นที่สามารถแปรรูปก๊าซไนโตเจนจากอากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการมาก เพราะต้องใช้ในการเจริญเติบโต สร้างกรดอะมิโน สร้างโปรตีน เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์และวิตามินในพืช แหล่งของธาตุไนโตรเจนในดินคือ อินทรีย์วัตถุ

พืชที่ได้รับไนโตรเจน อย่างเพียงพอ จะส่งผลทำให้
1.เร่งให้พืชตั้งตัวได้เร็วในระยะแรกของการเจริญเติบโต
2.กระตุ้นให้เติบโตเร็ว ใบสีเขียวสด และพืชมีความแข็งแรง
3..ส่งเสริมการเจริญเติบโตทาง ลำต้น และใบ
4.เพิ่มโปรตีน ให้กับพืช
5.ควบคุมการออกดอก เพิ่มผลผลิต ขอลผลและเมล็ดที่สมบูรณ์
พืชที่ได้รับไนโตรเจน มากเกินไป จะส่งผลทำให้
1.ทำให้พืชอวบน้ำมาก ล้มง่าย
2.ความต้านทานต่อโรคและแมลงลดน้อยลง
3.คุณภาพผลิตผล เมล็ด ลดลง (เพราะพืชจะมุ่งสร้างดอก ลำต้น กิ่ง ใบมากกว่าดอกและเมล็ด)
   (ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย , ต้นอ้อยมีรสจืด , ส้มจะมีรสเปรี้ยวมาก
4.ทำให้พืชแก่เร็ว
พืชที่ได้รับไนโตรเจน น้อยเกินไป จะส่งผลทำให้
1.พืชแคระแกรน โตช้า ลำต้นผอมสูง ผลผลิตต่ำ
2.ใบมีขนาดเล็กลง ใบและ ลำต้นเหลืองผิดปกติ (โดยเฉพาะใบล่างเหลือง ปลายใบค่อยๆ แห้ง และเหี่ยวร่วงหล่นเร็วกว่ากำหนด ทำให้ต้นโกร๋น)
3.ออกดอกออกผลจะช้า และไม่ค่อยสมบูรณ์
สภาพของดินโดยทั่วๆ ไปนั้นมักจะมีไนโตรเจน ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช การเพาะปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอก ฯลฯ และใส่ปุ๋ยเคมี ที่มี ไนโตรเจน สูงๆ เพิ่มเติมให้กับพืชด้วย