เป็นจุลธาตุ ที่ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์ (ทำให้การทำงานของไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น) และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน ธาตุโมลิดินั่ม จะเป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์ซึ่งจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนไนเตรต ไปเป็น ไนไตรต์ (หน้าที่การควบคุมไนเตรตในพืช) เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยอย่างยิ่งในพืชตระกูลถั่ว (การตรึงไนโตรเจน) และธาตุโมลิดินั่มยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ผลไม้แก่เร็ว สุกเร็วขึ้น ในผลไม้ที่มีสารไนเตรตสูง จะทำหน้าที่เปลี่ยนเป็นไนเตรตให้เป็นกรดอะมิโน เป็นโปรตีน และเป็นน้ำตาล ทำให้ผลไม้มีรสหวาน

ดินที่มีปุ๋ยคอก (มูลสัตว์ต่างๆ) หรือดินที่มีการปลูกพืชคลุมอยู่หนามากๆ มักจะมีธาตุโมลิดินั่มอย่างพอเพียงและอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตได้ ความต้องการธาตุโมลิดินั่มในพืชแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น พืชตระกูลถั่ว ธัญพืช และพวกหญ้าต่างๆ เป็นพืชที่มีโมลิดินั่มประกอบอยู่สูง เมื่อเทียบกับพืชอย่างอื่นพวกวัชพืชต่างๆ จะมีปานกลาง ที่มีต่ำสุดได้แก่ พวกผักกาดต่างๆ (ในบรรดาผักทั้งหมด ปรากฎว่ากะหล่ำดอกเป็นผักที่ไวต่อการขาดธาตุโมลิดินั่ม มากที่สุด)

Read More

ธาตุคลอรีน จะมีทั่วๆไปในดิน เกลือ และในอากาศ ซึ่งจะละลานน้ำได้ดี พอๆ กับเกลือไนเตรต คลอรีนในอากาศจะอยู่ในรูปของก๊าซ เช่นเดียวกับ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และอ๊อกซิเจน

หน้าที่ความสำคัญของธาตุคลอรีน
หน้าที่ที่แท้จริงของธาตุคลอรีนในพืชนั้น ยังไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน แต่นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ลงความเห็นว่า ธาตุคลอรีนมีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสง และช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น (มีบทบาทบางประการเกี่ยวกับฮอร์โมนในพืช)

อาการของพืชเมื่อขาดธาตุคลอรีน
พืชมักจะไม่แสดงอาการ การขาดธาตุคลอรีนมากนัก เพราะในดินมีปริมาณที่เพียงพอ นอกจากนี้ปุ๋ย โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ (KCl) ที่เรานิยมใช้อยู่ก็มีองค์ประกอบของธาตุคลอรีนรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก จากการทดลองพบว่าพืชที่ได้รับธาตุคลอรีนไม่เพียงพอ จะแสดงอาการ ใบเหี่ยวด่างลาย แผลจุด และมีสีบรอนซ์
– พบว่า ผักกาดหอมห่อ และซูการ์บีท จะมีความไวต่อการขากธาตุคลอรีนมากที่สุด (ตามลำดับ) โดยถ้าขาดจะแสดงอาการที่เนื้อใบอ่อนที่อยู่กลางๆ ของต้น สีจะซีดจางลงและด่างลายเป็นร่างแห

ธาตุโบรอน เป็นธาตุอาหารพืชที่พืชต้องการน้อยมาก แต่ก็จำเป็นในพืชผักทุกชนิด ในการเจริญเติบโต พืชแต่ละชนิด ต้องการธาตุโบรอนในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป แร่ที่มีธาตุโบรอนเป็นองค์ประกอบได้แก่ บอแรกซ์ ทัวร์มาลีน ซึงพบว่ามีธาตุโบรอนอยู่มาก และเป็นสารที่ละลายน้ำได้ยาก และทนต่อการกัดกร่อน จึงทำให้การปลดปล่อยธาตุโบรอนจากต้นกำเนิด ค่อนข้างยากและช้า ทำให้ดินขาดธาตุโบรอนมากขึ้น เมื่อมีการปลูกพืชอย่างต่อเนื่องโดยไม่ปล่อยให้ดินพักตัว

หน้าที่ความสำคัญของธาตุโบรอนในพืช
ธาตุโบรอนแม้ว่าพืชต้องการน้อยมาก แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ธาตุอาหารหลักของพืช เนื่องจากโบรอน ช่วยในขบวนการสังเคราะห์โปรตีนและลิกนิน ควบคุมการสร้างการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรท และการแบ่งเซลล์ และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำคัญในพืช  การยึดตัวของรากพืชบางชนิดและมีความสำคัญในการสร้างปมรากพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ธาตุโบรอนยังมีความเกี่ยวพันกับธาตุอาหารอย่างอื่นด้วย เช่น
– เมื่อขาดธาตุโบรอน จะทำให้พืชดูดซึมธาตุ โปแตสเซี่ยม ขึ้นมาจากดินมากเกิความต้องการของพืช จนอาจเกิดอันตรายหรือเป็นพิษต่อพืชได้
– เป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของธาตุแคลเซี่ยม ให้เกิดอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (หากพืชพืชได้รับธาตุแคลเซี่ยมน้อยไม่สมดุลย์กับธาตุโบรอน ก็จะทำให้พืชแสดงอาการโบรอนเป็นพิษ)
– ช่วยลดการเป็นพิษ อันเกิดจากการที่มีธาตุเหล็กมากเกินไป

Read More