สารเคมีชนิดผงเป็นสารเคมีที่เราใช้อยู่เป็นประจำสำหรับสวนมะนาวยกตัวอย่างเช่น คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ ที่ใช้ในการป้องกันโรคแคงเกอร์ สารเคมีแบบนี้จะอยู่ในรูปไมโครไนซ์ ซึ่งมีอนุภาคเป็นผลึกและมีขนาดเล็กมากๆประมาณ 2-4 ไมครอน แต่สารเคมีแบบนี้ย่อมมีน้ำหนักในตัวเอง และสามารถยึดเกาะกับใบของมะนาวได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่มีเกษตรกรหลายท่านยังเข้าใจผิดและใช้สารจับใบเป็นตัวผสมเพื่อจะให้ตัวยายึดเกาะกับใบหรือต้นของมะนาว หากสังเกตดีๆแล้วจะพบว่า เมื่อใช้สารจับใบผสมตัวอยาชนิดผงจะพบว่าใบของมะนาวเปียกทั่วถึงดีมากเนื่องจากสารจับใบจะช่วยลดแรงตึงผิวลง ทำให้สามารถน้ำและสารเคมีจะกระจายตัวไปเปียกบนใบและส่วนต่างของมะนาวอย่างทั่วถึง แต่ตัวสารเคมีชนิดผงนั้นจะเป็นอนุภาคที่มีน้ำหนัก ดังนั้นจึงย่อมหนีไม่พ้นหลักการของแรงโน้มถ่วงคือ เฉพาะตัวสารเคมีร้อยละ 80 จะไหลไปกองรวมอยู่บริเวณส่วนที่ต่ำกว่าเสมอ จึงทำให้ตัวสารเคมีนั้นไม่ยึดเกาะแบบกระจายทั่วถึงแต่จะไปกองรวมกันอยู่ในส่วนที่ต่ำกว่า ลองให้เกษตกรที่ใช้สารเคมีที่เป็นชนิดผงสังเกตดูได้ หากฉีดพ่นโดยไม่ใช้สารจับใบจะพบว่าในส่วนของใบหรือลำต้นของมะนาวนั้นจะมีตัวอยากระจายติดอยู่สม่ำเสมอ สารจับใบจะใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงจะสามารถใช้กับสารเคมีที่เป็นน้ำ เช่นอะบาแม๊กติน เป็นต้น เนื่องจากสารเคมีน้ำจะสามารถทำละลายกับน้ำได้เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อฉีดพ่นแล้วจะเปียกทั่วถึง

ดังนั้นสารจับใบควรเลือกใช้กับสารเคมีในรูปแบบและชนิดที่เหมาะสมเท่านั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงมา การใช้สารจับใบควรใช้ในบริมาณที่กำหนดตามฉลาก อย่าใช้มากเกินไปเนื่องจากอาจทำให้ใบมะนาวอ่อนๆเกิดอาการแพ้ได้และทำให้ใบใหม้หรือหงิกงอได้

ปัจจุบัน พฤติกรรมในการบริโภคแตงกวาของคนไทย จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ “แตงกวาผลสั้น” ซึ่งจะมีความยาวของผลเฉลี่ยจากหัวถึงท้าย ประมาณ 10-12 เซนติเมตร อีกกลุ่มหนึ่งคือ “แตงกวาผลยาว” จะมีความยาวของผล ตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ขึ้นไป เช่น แตงร้าน เป็นต้น ภาพรวมของสายพันธุ์แตงกวาที่ดี ว่า “มีเนื้อแน่น เมล็ดลีบ รสชาติอร่อย วางขายอยู่ในตลาดได้นานในสภาพอุณหภูมิปกติ เป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรค และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี” งานพัฒนาสายพันธุ์แตงกวาในบ้านเรามีความก้าวหน้าไปมาก และเมล็ดพันธุ์แตงกวาที่วางขายในท้องตลาด ซึ่งเกือบทั้งหมดผลิตโดยภาคเอกชนจะเป็นลูกผสมทั้งหมด ซึ่งจะมีความแน่นอนในเรื่องของผลผลิต ไม่เกิดความแปรปรวนเหมือนกับพันธุ์ผสมเปิด

ปลูกแตงกวาอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

Read More

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชเกือบทั้งหมด เป็นสารอินทรีย์เคมีซึ่งได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมา ส่วนสารอนินทรีย์ที่ยังหลงเหลืออนุญาตให้ใช้ไปป้องกันกำจัดศัตรูพืช คือ สารองค์ประกอบของคอปเปอร์(ทองแดง) และซัลเฟอร์(กำมะถัน) เนื่องจากเป็นสารอนินทรีย์ที่ไม่คงทนละลายน้ำได้ และเป็นธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ในขบวนการเจริญเติบโตของพืชได้ ดังนั้นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หลังจากพ่นไปตกบนต้นพืชแล้ว จะมีการสลายตัวขององค์ประกอบทางเคมี และลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการสลายตัวของสารมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

Read More

คึ่นฉ่ายจัดอยู่ในประเภทผักปรุงรสรับประทานได้ทั้งสุกและดิบ (สด) ในประเทศไทยปัจจุบันที่นิยมปลูกมีอยู่กันสองชนิด คือ ชนิดต้นเล็ก ซึ่งปลูกกันมาดั้งเดิมเป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งนำเข้ามาจากประเทศจีนเรียกว่าคึ่นฉ่ายจีน หรือคึ่นฉ่ายเฉยๆ รับประทานได้ทั้งต้นและใบมีกลิ่น รส หอม ฉุน ส่วนอีกชนิดหนึ่งมีขนาดของต้นสูงใหญ่กว่า ก้านใบยาวแข็ง เรียกว่าคึ่นฉ่ายเทศหรือคึ่นฉ่ายฝรั่ง เพิ่งนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ เข้าใจว่าจะเป็นระหว่างสงครามเวียดนาม เนื่องจากระยะนั้นมีทหารต่างชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความต้องการใน บริโภคสูงขึ้น ขณะนั้นยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งต้นทำให้มีราคาค่อนข้างสูง ต่อมาจึงได้มีผู้นำเอาเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกในแถบจังหวัดภาคเหนือ เช่น เพชรบูรณ์ และเชียงใหม่ ปรากฏว่าได้ผลดี จึงทำการปลูกติดต่อกันมาจนปัจจุบัน พวกนี้มีรส กลิ่นอ่อนกว่าชนิดแรก นิยมรับประทานเฉพาะส่วนที่เป็นก้านใบเท่านั้น อย่างไรก็ดีทั้งสองชนิดทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ต่างก็อยู่ใน species เดียวกันคือ Apium teolens var. dulce พวกต้นใหญ่เข้าใจว่าจะเป็นพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาจากพวกที่มีต้นเล็กนั้นเอง ทำให้มีขนาดรูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม

สำหรับโรคของผักคึ่นฉ่ายทั้งสองชนิดก็คล้ายๆ กันคือมีทั้งโรคของต้น ใบ และราก แต่ที่สำคัญและจะกล่าวถึงก็ได้แก่

Read More

สารเคมีสำหรับป้องกัน และ กำจัดเชื้อรา  มีหลากหลายชนิด  และมีคุณสมบัติรวมถึงการใช้งานแตกต่างกันไป

โดยในส่วนที่รวบรวมมานี้   ท่านสามารถเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสม

ทั้งเป็นการป้องกัน ก่อนเกิดโรค  หรือ  เมื่อพบอาการที่เกิดขึ้นแล้ว

1. Carbendazim  50%  (คาร์เบนดาซิม 50%)

เป็นยาประเภทดูดซึม  ใช้ในปริมาณน้อยมาก เพียง  10 กรัม / น้ำ 20 ลิตร

รักษาโรครา  — ใบแห้งขีดสีน้ำตาล ,ใบจุด ,ใบไหม้ และ โรคแอนแทรคโนส

Read More

สารป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicide) แยกตามการทำงานได้ 4 แบบ
— แบบสัมผัส (Contact) จะเกาะอยู่บนพืชในส่วนที่เราฉีดพ่นไปถูกเท่านั้น ใช้เป็นการป้องกัน (Preventive) ส่วนของพืชที่เจริญขึ้นมาใหม่ จะไม่ได้รับการคุ้มครอง ตย.
สารกลุ่ม M ออกฤทธิ์หลายจุด เช่น สารประกอบทองแดง กำมะถัน แมนโคเซป โพรพิเนป แคปแทน คลอโรทาโลนิล เป็นต้น
— แบบแทรกซึม (Translamina หรือ Penetrant) เมื่อฉีดพ่นบนด้านหน้าใบ สารจะแทรกซึมลงไปถึงด้านใต้ใบ ตย.
กลุ่ม E3 ไอโพรไดโอน โพรไซมิโดน
กลุ่ม C3 คริโซซิม-เมทิล ไตรฟลอกซีสโตรบิน
กลุ่ม H5 ไดเมทโทมอร์ป เป็นต้น

Read More

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronospora sparsa Berk. อาการเริ่มแรกจะเป็นแผลจุดช้ำสีเหลืองที่ผิวด้านบนของใบอ่อน ต่อมาแผลขยายขนาดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล สีม่วงอ่อนๆ จนถึงสีดำ ลักษณะแผลถ้าไม่ใช่โรคใบจุด หรือโรคแอนแทรกโนสให้มองไว้ได้เลยว่าคือราน้ำค้าง ขอบแผลสีเหลืองช่วงที่ความชื้นสูงอาจพบกลุ่มของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราบริเวณแผลส่วนใต้ใบ อาการรุนแรงเกิดแผลจำนวนมาก แผลลุกลามสู่ใบล่างและกระจายทั่วต้น ใบเกิดอาการบิดเบี้ยว ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต ใบยอดม้วนงอ เหี่ยวเหลือง และร่วงในที่สุด โรคเกิดเร็วมาก ภายในไม่กี่วันใบอาจจะร่วงได้ อาจพบอาการแผลสีน้ำตาลที่กิ่งและยอดอ่อน เชื้อราสาเหตุนี้ จะแพร่ระบาดโดยสปอร์พัดปลิวไปตามลม น้ำ แมลง และสามารถอยู่ได้เป็นเดือนในใบที่ร่วงหล่นอยู่ที่พื้นดินโดยสร้างเส้นใยและสปอร์ผนังหนาอยู่ในชิ้นส่วนที่เป็นโรค สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คืออุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง แต่ถ้าอากาศแห้งเชื้อก็จะตายไปด้วย โดยจะไม่พบการแพร่ระบาดเมื่อความชื้นลดลงต่ำกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส

Read More

การผสมได้หรือไม่ได้ ระหว่างสาร
ไตรโคเดอร์มา
บิวเวอร์เรีย
เมธาไรเซียม
พาซิโลมัยซิส
บาซิลลัส ซับทีลิส

1. ไตรโค + บาซิลลัสได้
2. ห้ามใช้ไตรโคร่วมกับเชื้อราทุกเชื้อ (บิวเวอเรีย/เมธา/พาซิโล)
3. ห้ามใช้บิวเวอเรีย + เมธา + พาซิโล
4. บิวเวอเรีย หรือ เมธา หรือ พาซิโล + บาซิลลัสได้
5. เชื้อทุกชนิดใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีทางใบได้ครับ

สารฯกลุ่มที่เราใช้ในการป้องกันกำจัด เชื้อราไฟทอฟทอรา หลักๆ คือ
…..กลุ่ม A1 เฟนนิลเอไมด์ เป็นสารออกฤทธิ์ดูดซึมและมีการต้านทานสารฯข้ามกลุ่ม เมื่อใช้เป็นประจำ…..เมทาแลกซิล – ริดโดมิลเป็นตัวหลักที่เราใช้ ส่วนใหญ่เป็นสารฯที่นำเข้ามาจากจีน มีราคาถูกทำให้มีการใช้พร่ำเพรื่อ จนเชื้อต้านทานต้องใช้อัตราสูงขึ้น ใช้ ริดโดมิล-เอ็ม(+แมนโคเซป)หรือจะเลือกสูตรใหม่ที่เค้าเปลี่ยนโครงสร้าง ริดโดมิล-โกลด์ ส่วนเบนาแลกซิล – กัลเบน,….. ออกซาไดซิล -แซนโดแฟน ที่มีจำหน่ายเป็นสูตร+แมนโคเซป ในบางพื้นที่หาซื้อมาใช้ยาก
…..กลุ่มสารฯที่แนะนำให้ใช้สลับ กลุ่ม H5 คาร์บอกซิลิกแอซิดเอไมด์…..ไดเมทโธมอร์ป – ฟอรัม , อะโกรแบท(+แมนโคเซป)…..ไอโพรวาลิคาร์บ – อินเวนโต(+โพรพิเนป) ผู้ผลิตบอกว่าถ้าเชื้อราต้านทานกลุ่ม A1 ให้ใช้กลุ่มนี้สลับ มีสารใหม่ในกลุ่มนี้ขึ้นทะเบียนผ่านแล้ว แมนดิโปรปามิด – รีวุส( + แมนโคเซป) วาลิฟีนาเลท – เอสโตเคด ( + แมนโคเซป)
…..การใช้สารฯกลุ่มสัมผัสเข้ามาแทรกก็เป็นทางเลือกที่ดีและช่วยยืดเรื่องความต้านทาน กลุ่ม M ออกฤทธิ์หลายจุดแบบสัมผัส แมนโคเซป – ไดเทน เอ็ม,…..แมนเซท ดี…..เพนโคเซป,….. โพรพิเนป – แอนทราโคล,…..โฟลเพท – โกลด์ทอป ชื่อการค้าที่แนะนำไว้คือสารฯมาตรฐานคุณภาพดี แต่ราคาจะแพงหน่อย
…..หรือ กลุ่ม U ยังไม่ทราบการออกฤทธิ์ ไซมอคซานิล – เคอร์เซท เอ็ม(+แมนโคเซป)
มีสารในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้ เพราะออกฤทธิ์ดูดซึมทั้งขึ้นบนและลงล่าง คือ U33 ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม – อาลีเอท เมื่อเปิดใช้แล้วจะต้องปิดปากถุงให้สนิท เพราะสารดูดความชื้นได้เร็ว กลายเป็นก้อนสีดำไม่ละลายน้ำ และ ฟอสฟอรัสแอซิด – คิวโปรฟอส, โฟลิ-อาร์-ฟอส, ทั้ง 2 ชนิดเป็นปุ๋ยในรูปฟอสไฟต์ (PO3-) ห้ามใช้พร้อมกับปุ๋ย เพราะธาตุโลหะที่มีประจุ +2 ในปุ๋ยจะทำปฏิกิริยาทำให้สูญเสียประสิทธิภาพ สารกลุ่มนี้ใช้กระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทาน (phytoalexin)และยับยั้งการงอกของเส้นใยเชื้อรา (mycelia) ระงับการเจริญของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
…..ถ้าปัญหาหนักหนามากก็คงต้องใช้บริการกลุ่ม C ยับยั้งระบบหายใจ C 3 อะซอคซีสโตรบิน – อมิสตา,…..ไพราโคลสโตรบิน -เฮดไลน์,….. คริโซซิมเมทธิล – สโตรบี้,…..ไตรฟลอกซีสโตรบิน – ฟลิ้น,….. ฟาโมซาโดน – อิเควชั่น(+ไซมอกซานิล),…..ฟีนามีโดน- ซีเคียว(+แมนโคเซป) ข้อจำกัดเหมือนกลุ่ม A 1 เลือกใช้สารใดสารหนึ่งและไม่ใช้ซ้ำในกลุ่มเดียวกัน ไม่ใช้ซ้ำต่อเนื่องกันเกิน 2 ครั้ง
กลุ่ม B ยับยั้งไมโตซีสและการแบ่งเซล …..B3 อีทาบอกแซม – ทาบอก
สารกลุ่มใหม่ล่าสุดที่ใช้ป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่มนี้ กลุ่ม B5 + U33 ฟลูโอพิโคไลด์ + ฟอสอีทิล – อะลูมีเนียม – โปรไฟเลอร์