สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรมีการผลิตขึ้นมาหลายรูปเพื่อความสะดวกในการใช้ตามจุดประสงค์ต่างๆ กัน สารเหล่านี้ไม่ใช่สารบริสุทธิ์ แต่จะมีองค์ประกอบหลัก 2-3 อย่างที่สำคัญคือ

1. สารออกฤทธิ์ (active ingredient หรือ a.i.) หมายถึงเนื้อสารจริงๆ ที่จะแสดงผลต่อพืช ได้ตามคุณสมบัติที่สารนั้นมีอยู่ มักจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ของสารออกฤทธิ์ในสารผสมทั้งหมด หรือแสดงหน่วยนํ้าหนักต่อปริมาตร (เช่นกรัมต่อลิตร) เช่น Planofix® ระบุว่ามี NAA 4.5% เป็นสารออกฤทธิ์ หมายความว่าสาร Planofix® 1 ขวด ปริมาตร 100 มล. มีเนื้อสาร NAA ผสมอยู่ 4.5 กรัม อย่างไรก็ตามมี PGRC หลายชนิดที่จำหน่ายในประเทศไทยขณะนี้โดยได้ระบุชนิดและปริมาณของสารออกฤทธิ์ที่ผสมอยู่

2. สารทำให้เจือจาง (diluent) หมายถึงสารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ที่ใช้ผสมกับสารออกฤทธิ์ เพื่อให้ความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ลดลงมาอยู่ในระดับเหมาะสม เพื่อสะดวกในการใช้ สารทำให้เจือจางที่ผสมอยู่ในส่วนผสมจะต้องไม่ทำปฏิกริยาเคมีกับสารออกฤทธิ์และต้องไม่เกิดผลเสียต่อพืช สารทำให้เจือจางอาจเป็นอะไรก็ได้ เช่น นํ้า แอลกอฮอล์ ดิน แป้ง หรืออากาศ ยกตัวอย่างสาร Planofix® 1 ขวด ปริมาณ 100 มล ซึ่งมีเนื้อสาร NAA ผสมอยู่ 4.5 กรัม แสดงว่าส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมด (ประมาณ 95%) เป็นสารทำให้เจือจาง

Read More

กลุ่มที่ 1 ยับยั้งเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase Inhibitors )
สารในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กับระบบประสาท (Nerve action) ยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase: AChE) ก่อให้เกิดการสะสมสารสื่อกระแสประสาท Acetylcholine ที่จุดต่อระหว่างเซลล์ประสาท (Synaptic transmission) สารที่ออกฤทธิ์ในกลุ่มนี้มี 2 กลุ่มย่อยทางเคมีคือ
กลุ่ม 1A คาร์บาเมท(Carbamates) ได้แก่ สารที่เป็นอนุพันธ์ที่สังเคราะห์เลียนแบบสารไฟโตสติกนิน (phytostignin) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ ที่มีในถั่วคาราบา (caraba bean, Phytostigma venonesum )แม้ว่า phytostignin สามารถฆ่าแมลงได้ แต่คุณสมบัติยังไม่เหมาะสม เนื่องจากไม่ละลายในไขมัน ทำให้ไม่สามารถละลายผนังลำตัวของแมลงได้ ต่อมาจึงมีการค้นพบ dimetan, pyrolan และisolan และมีการพัฒนาสารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดแมลงได้ดีขึ้น
นอกจากนี้สารกำจัดแมลงในกลุ่มคาร์บาเมท ยังแบ่งกลุ่มย่อยตามองค์ประกอบทางเคมี เป็น 3 กลุ่มย่อยดังนี้
 กลุ่มย่อยเบนโซฟูรานิลเมทิลคาร์บาเมท ที่เคยขึ้นทะเบียนในบ้านเรา ได้แก่ เบนฟูราคาร์บ คาร์โบฟูแรน คาร์โบซัลแฟน
 กลุ่มย่อยออกไซม์คาร์บาเมท ได้แก่ อัลดิคาร์บ เมโทมิล ออกซามิล และไทโอไดคาร์บ
 กลุ่มย่อยฟีนิลเมทิลคาร์บาเมท ได้แก่ ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโพรคาร์บ และโพรโพซัวร์
 กลุ่มย่อยอื่นๆ เช่น คาร์บาริล ฟอร์มีทาเนต

Read More

กลุ่มสารเคมีที่มีกลไกออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ (Nerve & Muscle) ของแมลง
กลุ่มที่ 1 ยับยั้งเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase Inhibitors ) สารในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กับระบบประสาท (Nerve action) มี มีสารกลุ่มทางเคมี 2 กลุ่มย่อย คือ
กลุ่ม 1A คาร์บาเมท(Carbamates) ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในไทย ได้แก่ ไดมีแทน ไพโรแรน ไอโซแลน อะลานีคาร์บ เบนไดโอคาร์บ บูทอกซี่คาร์บอกซิม อีไทโอเฟนคาร์บ ฟูราไทโอคาร์บ เมไทโอคาร์บ เมโทลคาร์บ พิริมิคาร์บ ไทโอฟาน็อก ไตรอะซาเมท ไตรเมทาคาร์บ และไซลิลคาร์บ ที่มีขึ้นทะเบียนในไทย ได้แก่ เบนฟูราคาร์บ คาร์บาริล คาร์โบซัลแฟน ฟีโนบูคาร์บ ไอโซโพรคาร์บ โพรพาซัวร์ ไทโอไดคาร์บ
สารที่เฝ้าระวัง(เนื่องจากมีพิษร้ายแรงถึงร้ายแรงมาก) ได้แก่ อัลดิคาร์บ คาร์โบฟูแรน ฟอร์มีทาเนต เมโทมิล ออกซามิล
สารที่ถูกห้ามใช้ (เนื่องจากมีพิษร้ายแรงมาก) คือ อะมิโนคาร์บ

Read More


สารกลุ่มขัดขวางช่องเปิดคลอไรด์ 

ตอนที่แล้วได้กล่าวถึงสารกลุ่มที่ 1 ซึ่งแยกเป็น 1A คาร์บาเมต และ 1B ออร์กาโนฟอสเฟต สาเหตุที่แยกเป็น 1A และ 1B เพราะองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์หรือจุดทำลายแมลงแตกต่างกัน ถ้าแมลงสร้างความต้านทานหรือดื้อยาในกลไกนี้ได้ จะดื้อต่อสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์นี้ทั้งหมด เรียกว่า การต้านทานข้าม (Cross resistance) ดังนั้น การที่มีหลายคนถามมาว่าจะใช้สารกลุ่ม 1A และ 1B สลับกันได้ไหม ? คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะยิ่งทำให้อัตราการดื้อยาเพิ่มมากขึ้น หรือทวีความรุนแรงมากขึ้น ในที่สุด สารทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะไม่สามารถใช้ได้ในพื้นที่นั้น ๆ วิธีการสลับสารเคมีต้องมีการหมุนเวียนตามกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน รายละเอียดจะกล่าวภายหลังที่ได้ให้ข้อมูลครบทุกกลุ่มก่อน คอยติดตามนะครับ ในฉบับนี้มาพบกับสารกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มต่อไป ซึ่งยังเป็นจุดทำลายตรงระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

Read More

สารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (plant growth retardants) สารกลุ่มนี้ไม่จัดเป็นฮอร์โมนพืช แต่เป็นสารสังเคราะห์ทั้งหมด มีคุณสมบัติสำคัญคือ ยับยั้งการสร้างหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในพืช จึงมีผลลดการยืดตัวของเซลล์ ทำให้ปล้องสั้น ใบหนา เขียวเข้ม กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และมีคุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่ ทำให้พืชทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนจัด เย็นจัด ดินแห้ง ดินเกลือ เพิ่มผลผลิตพืชบางชนิด เพิ่มการติดผลของพืชบางชนิด สารชะลอการเจริญเติบโตที่สำคัญได้แก่
แอนซิมิดอล (ancymidol)
คลอมีควอท (chlormequat)
แดมิโนไซด์ (daminozide)
พาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol)

Read More

สารเร่งเนื้อ เร่งสี เร่งห่อ เร่งหัว เร่งการเก็บเกี่ยว เพิ่มน้ำหนัก
เพิ่มปริมาณหัวและผล เพิ่มเปอร์เซนต์แป้ง

อัตราการใช้ : ใช้อัตรา 20 ~ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

Compositions (N6%,P0%,K-, S4%, Mg1%, Ca10%
Zn1%, NAA1%, EDTA1%, MeC5%)

Compositions ( ส่วนประกอบของธาตุอาหาร)
ธาตุอาหารหลัก : ไนโตรเจน , ฟอสฟอรัส , โปแตสเซี่ยม
ธาตุอาหารรอง : แคลเซียม , แมกนิเซี่ยม , กำมะถัน , เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , ทองแดง
3. ธาตุอาหารเสริม : โมลิบดินั่ม , โบรอน , ซิลิกอน , ซัลเฟอร์ , โซเดียม , ซิลเวอร์ , อะลูมินั่ม

สารสำคัญ : สารเร่งห่อ
เมพิควอต+แคลเซี่ยม+อะมิโน แอซิด

ประโยชน์ : สารเร่งห่อกะหล่ำ-ลุ้ย

อัตราการใช้ : 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
ขนาดบรรจุ : 12×500 ซีซี. 12×1 ลิตร