กลุ่ม 5 สปินโนซิน (Spinosyns)
สปินโนแซด (LD50 = 3,738 mg/kg…..MRLs = 2.0 ppm.)
สไปนีโทแรม (LD50 >5,000 mg/kg…..MRLs = 0.5 ppm.)
เป็นสารฯที่ได้จากการหมักเชื้อแบคทีเรียตระกูล Actinomycete …..เชื้อ Saccharopolyspora spinosa ได้สารออกฤทธิ์ สปินโนซิน (Spinosyns)

สปินโนแซด = Spinosyns A : Spinosyns D = 17:3
ได้รับการยอมรับให้ใช้ในการผลิตพืชอินทรีย์ โดย Organic Materials Review Institute (OMRI) ในชื่อการค้า เอนทรัสต์ (Entrust) .

Read More

กลุ่ม 4A นีโอนิโคตินอยด์ (Neonicotinoid) ออกฤทธิ์แบบดูดซึมทั้งกลุ่ม
กำจัดแมลงได้กว้างเช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยกระโดด แมลงหวี่ขาว หมัดกระโดด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ จิ้งหรีด ด้วง มด ปลวก เห็บ เหา
มีสารทั้งหมด 8 ชนิด มีจำหน่ายในบ้านเรา 6 ชนิด

Read More

กลุ่ม 2B เฟนนิลไพราโซล (Phenyl Pyrazole)
ฟิโพรนิล (LD50 = 97 mg/kg…..MRLs = 0.005 ppm.)
อีทริโพรล (LD50 >5,000 mg/kg…..MRLs = codex ยังไม่ได้กำหนด)
ฟิโพรนิล และอีธิโพรล พัฒนาโดย โรน์ ปูแลงค์ (ปัจจุบัน ไบเออร์) ในปี 2003 ไบเออร์ขายสิทธิ์ในการจำหน่ายฟิโพรนิลให้กับ บีเอเอฟเอส

Read More

ควรจะโหลด “สารกำจัดศัตรูพืช” มาดูประกอบจะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
กลุ่ม 1A คาร์บาเมท 1B ออแกโนฟอสฟอรัส 2A ออแกโนคลอรีน
ทั้ง 3 กลุ่ม 1A 1B 2A เราเรียกว่า สารกำจัดแมลงพื้นฐาน (ยาพื้น) commodity ใ้ช้ในสถานะการณ์ปกติ และเป็นกลุ่มที่ออกฤทธิ์แบบไม่เลือกกำจัด (Board spectrum)
กลุ่ม 1A ออกฤทธิ์แบบดูดซึม (systemic action)
อะซีเฟต (LD%) = 866 mg/kg ….. MRLs = 0.01)
ไดเมทโธเอท (LD50 = 290 mg/kg…MRLs = 0.02 ppm.)
โอเมทโธเอท (LD50 = 30 mg/kg…MRLs = 1.0 ppm. Japan)
ทั้ง 3 สารมีกลิ่นเหม็นรุนแรง

Read More

ในเรื่อง “ธาตุอาหารพืช — ปุ๋ย” ที่เราใช้ให้กับพืชตามระยะการเจริญเติบโต เดิมๆเราเน้นกันที่จะเพิ่มผลผลิตเป็นหลัก ให้ปุ๋ยไนโตรเจนเร่งกันจนเน่าเสียหาย ก็เปลี่ยนมาจัดการให้เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพแทน ประสบการณ์และความรู้ประกอบกับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทำให้มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเป็น ” อาหารเป็นยา ยาเป็นอาหาร ” สำหรับเราเองใช้ Way to Cut Back on Chemicals มาเป็นฐาน เน้นให้ใช้ Ca Mg B พร้อมจุลธาตุต่างๆ ในการสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรงและความพร้อมให้สามารถทนกับสภาวะทั้ง ร้อนแล้งฝนหนาว ทนทานต่อโรคและแมลง ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพทั้งน้ำหนักทั้งรสชาติ …….ถอดมาเป็นตัวอย่างคร่าวๆ ใครที่สนใจก็เข้าไปดูใน ” ปุ๋ย ” เพิ่มเติม

Read More

ควรจะโหลด “สารกำจัดศัตรูพืช” มาดูประกอบจะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
กลุ่ม 1A คาร์บาเมท 1B ออแกโนฟอสฟอรัส 2A ออแกโนคลอรีน
กลุุ่ม 1A ออกฤทธิ์สัมผัส — กินตาย (Contact — Stomach)
คาร์บาริล (LD50 = 850 mg/kg…..MRLs = 0.01 ppm.) พระเอกตลอดกาล
ฟีโนบูคาร์บ (LD50 = 700 mg/kg) — ไอโซโพรคาร์บ (LD50 = 400 mg/kg) กำจัดเพลี้ยในนาข้าว มีหลากหลายทั้งความเข้มข้นและสูตรผสม (concentration & combination)
เบนฟูราคาร์บ (LD50 = 138 mg/kg….MRLs = 0.02 ppm.) เป็นตัวสลับสำหรับเพลี้ยไฟ และตัวเลือกสำหรับไส้เดือนฝอย
อะลานีคาร์บ (LD50 = 440 mg/kg) ไม่มีข้อมูลครับ รู้แต่ว่าเอามาขายพ่วงกับ ฮาชิ-ฮาชิ
ฟอร์มีทาเนท LD50 = 15 mg/kg… MRLs = 0.05 ppm.) ได้ทั้งเพลี้ยไฟและไรแดง แต่หาซื้อยากหน่อย
เมทธิโอคาร์บ (LD50 = 100 mg/kg…MRLs = 0.2 ppm.) พระเอกของเพลี้ยไฟในอดีต ชาวสวนแตงโมรู้จักดีทุกคน มีฤทธิ์ข้างเคียงกับไร ไล่นก หอยทาก
ออกซามิล (LD50 = 50 mg/kg…MRLs = 0.05 ppm.) ดูปองค์ขึ้นทะเบียนใหม่ในรูป 5%G มาใช้กับไส้เดือนฝอย
โพรโพเซอร์ ทำตลาดน้อยมาก เน้นขายให้ใช้กับแมลงในบ้านเรือน

กลุ่ม 4A อิมิดาคลอพริด — ไทอามีโทแซม (สลับในกลุ่มเดียวกัน อะเซทามิพริด — ไทอะคลอพริด)……กลุ่ม 9 ไพมีโทรซิน — ฟลอนิคามิด…….กลุ่ม 16 บูโพรเฟซิน……ใช้กลุ่ม 1B คลอไพรีฟอส — อะซีเฟท + กลุ่ม 3A ไซฟลูทริน — ไซฮาโลทริน อื่นๆ เข้ามาสลับบ้าง จะได้มีสารฯเอาไว้ใช้ได้นานๆ

กลุ่ม 1A คาร์บาเมท 1B ออแกโนฟอสฟอรัส 2A ออแกโนคลอรีน

ยุคแรกคงเป็นสมัยของ 2A ออแกโนคลอรีน ดีดีที ออลดริน ดิลดริน ทอกซาฟีน เฮปตาคลอ คลอเดน แต่ด้วยพิษตกค้างที่ยาวนานมาก และผลของการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม การจำกัดการใช้และยกเลิกก็ทำให้สารกลุ่มนี้หมดไปจากตลาด ในบ้านเราเหลือเพียงตัวเดียว เอ็นโดซัลแฟน และจำกัดไว้เฉพาะสูตร CS (Capsule Suspension) เหตุเพราะชาวนาเอาไปใช้ผิดวิธี (misuses) ทำให้เกิดการปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์น้ำมากมาย

Read More

คงเป็นข้อสรุปแบบต้มจั๊บฉ่ายนะครับ เพราะเอามาจากหลายๆพืช และรวบรวมจากงานวิจัยหลายๆที่

กลุ่ม 4A…..ไทอะคลอพริด – อะแลนโต, อะเซทามิพริด – โมแลน , 
ไทอะมีโทแซม – แอคทารา , โคลไทอะนีดิน – แดนทอซ , ไดโนทีฟูแรน – สตาร์เกิล
เลือกใช้ ไทอะคลอพริด ,อะเซทามีพริด เป็นตัวเลือกแรก อื่นๆก็เอามาใช้เท่าที่จำเป็น
กลุ่ม 5…….สไปนีโทแรม – เอ็กซอล
เก็บไว้เป็นไม้เด็ดสำหรับเพลี้ยไฟดีกว่า
กลุ่ม 6…….อีมาเมคติน เบนโซเอท
จัดกลุ่ม 1A 1B 3A มาบวกใช้เป็นตัวแทรกสลับ
กลุ่ม 9B…..ไพมีโทรซิน – เพลนัม
ดีทั้งตัวอ่อน-ตัวแก่
กลุ่ม 13…..คลอร์ฟีนาเพอร์ – แรมเพจ , แฟนทอม
เก็บไว้เป็นไม้เด็ดสำหรับเพลี้ยไฟดีกว่า
กลุ่ม 16…..บูโพรเฟซิน – อะพลอด
ดีทั้งตัวอ่อน-ตัวแก่
กลุ่ม 21…..โทลเฟนไพเรด – ฮาชิ-ฮาชิ
เอาไว้เป็นตัวสลับ
กลุ่ม 23…..สไปโรมีซีเฟน – โอเบรอน , สไปโรเตตราเมท – โมเวนโต้ น่าใช้ทั้งคู่ แต่โมเวนโต้จะหาของได้หรือเปล่า
กลุ่ม 28…..คลอแรนทรานิลิโพรล – คอราเจน, ไซแอนทรานิลิโพรล – บีนีเวียร์
คลอแรนทรานิลิโพรล คงต้องใช้ตัว+ไทอะมีโทแซม %ได้ ราคารับไหว

ประมาณว่า 9B >>> 23 >>> 16 >>> 6+1B >>> 9B >>> 23 >>> 16 >>> 6+1A
ทุกครั้งที่ใช้หาสารจับใบมาใช้ร่วมด้วยนะ