กลุ่ม 1A คาร์บาเมท 1B ออแกโนฟอสฟอรัส 2A ออแกโนคลอรีน

ยุคแรกคงเป็นสมัยของ 2A ออแกโนคลอรีน ดีดีที ออลดริน ดิลดริน ทอกซาฟีน เฮปตาคลอ คลอเดน แต่ด้วยพิษตกค้างที่ยาวนานมาก และผลของการปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม การจำกัดการใช้และยกเลิกก็ทำให้สารกลุ่มนี้หมดไปจากตลาด ในบ้านเราเหลือเพียงตัวเดียว เอ็นโดซัลแฟน และจำกัดไว้เฉพาะสูตร CS (Capsule Suspension) เหตุเพราะชาวนาเอาไปใช้ผิดวิธี (misuses) ทำให้เกิดการปนเปื้อนและเป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์น้ำมากมาย

Read More

คงเป็นข้อสรุปแบบต้มจั๊บฉ่ายนะครับ เพราะเอามาจากหลายๆพืช และรวบรวมจากงานวิจัยหลายๆที่

กลุ่ม 4A…..ไทอะคลอพริด – อะแลนโต, อะเซทามิพริด – โมแลน , 
ไทอะมีโทแซม – แอคทารา , โคลไทอะนีดิน – แดนทอซ , ไดโนทีฟูแรน – สตาร์เกิล
เลือกใช้ ไทอะคลอพริด ,อะเซทามีพริด เป็นตัวเลือกแรก อื่นๆก็เอามาใช้เท่าที่จำเป็น
กลุ่ม 5…….สไปนีโทแรม – เอ็กซอล
เก็บไว้เป็นไม้เด็ดสำหรับเพลี้ยไฟดีกว่า
กลุ่ม 6…….อีมาเมคติน เบนโซเอท
จัดกลุ่ม 1A 1B 3A มาบวกใช้เป็นตัวแทรกสลับ
กลุ่ม 9B…..ไพมีโทรซิน – เพลนัม
ดีทั้งตัวอ่อน-ตัวแก่
กลุ่ม 13…..คลอร์ฟีนาเพอร์ – แรมเพจ , แฟนทอม
เก็บไว้เป็นไม้เด็ดสำหรับเพลี้ยไฟดีกว่า
กลุ่ม 16…..บูโพรเฟซิน – อะพลอด
ดีทั้งตัวอ่อน-ตัวแก่
กลุ่ม 21…..โทลเฟนไพเรด – ฮาชิ-ฮาชิ
เอาไว้เป็นตัวสลับ
กลุ่ม 23…..สไปโรมีซีเฟน – โอเบรอน , สไปโรเตตราเมท – โมเวนโต้ น่าใช้ทั้งคู่ แต่โมเวนโต้จะหาของได้หรือเปล่า
กลุ่ม 28…..คลอแรนทรานิลิโพรล – คอราเจน, ไซแอนทรานิลิโพรล – บีนีเวียร์
คลอแรนทรานิลิโพรล คงต้องใช้ตัว+ไทอะมีโทแซม %ได้ ราคารับไหว

ประมาณว่า 9B >>> 23 >>> 16 >>> 6+1B >>> 9B >>> 23 >>> 16 >>> 6+1A
ทุกครั้งที่ใช้หาสารจับใบมาใช้ร่วมด้วยนะ

…..เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของมะเขือเปราะ โดยตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ทำลายส่วนต่างๆของมะเขือเปราะ ตั้งแต่ระยะดอก โดยใช้ปากที่เป็นแท่ง เขี่ยเนื้อเยื่อพืชให้ช้ำแล้วจึงดูดน้ำเลี้ยงจากเซลล์พืชทำให้บริเวณที่ถูกดูด มีลักษณะอาการเกิดรอยด้านที่ผล รอยแผลสีน้ำตาล เมื่อผลโตขึ้นทำให้คุณภาพผลผลิตต่ำ

…..การแพร่ระบาด เพลี้ยไฟจะระบาดทำลายรุนแรงในฤดูร้อนหรือสภาพอากาศร้อนแห้งแล้ง แต่อย่างไรก็ตามในสภาพบ้านเรา การขยายพันธุ์หรือการระบาดของเพลี้ยไฟมีได้ตลอดปี

<<< การป้องกันกำจัด >>>

…..แนะนำให้เกษตรกร พ่น อิมิดาคลอพริด 70% WG อัตรา 5 กรัม หรือ อะเซทามิพริด อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucinodes orbonalis Guenee

…..ลักษณะการทำลายหนอนเจาะผลมะเขือเปราะ หนอนเจาะชนิดนี้ทำความเสียหายให้แก่ยอดมะเขือเปราะเป็นประจำ ในบริเวณพื้นที่ปลูกมะเขือเปราะทั่วๆ ไป ในระยะต้นมะเขือเปราะกำลังเจริญเติบโต จะพบว่ายอดเหี่ยวเห็นชัดเวลาแดดจัด เพราะท่อน้ำท่ออาหารของพืชถูกทำลาย และเมื่อตรวจดูจะพบรูเจาะประมาณไม่เกิน 10 ซม. จากปลายยอด หนอนจะกัดกินภายใน การทำลายต่อยอดบางครั้งสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ผลเสียคือ ทำให้ยอดที่แข็งแรงถูกทำลาย ยอดใหม่ที่แตกมามีขนาดเล็กกว่า และผลมะเขือเปราะที่เกิดมายังได้รับความเสียหาย โดยหนอนเจาะผลทำให้เสียคุณภาพ ส่งขายไม่ได้ราคาครับ

…..การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด
พบการระบาดทั่วประเทศในบริเวณที่มีการปลูกมะเขือเปราะ และพบการทำลายยอดมากในฤดูฝน ส่วนผลถูกทำลายมากในฤดูแล้ง

<<< การป้องกันกำจัด >>>

1. ก่อนปลูก ควรทำการไถพรวน และตากดิน เพื่อกำจัดดักแด้ของแมลงศัตรูที่อาจหลงเหลืออยู่
2. ฉีดพ่นป้องกัน โดย อีมาเม็กตินเบนโซเอท 5% อัตรา 10-15 กรัม หรือ แลมบ์ด้า-ไซฮาโลทริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

สารเคมีชนิดผงเป็นสารเคมีที่เราใช้อยู่เป็นประจำสำหรับสวนมะนาวยกตัวอย่างเช่น คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ ที่ใช้ในการป้องกันโรคแคงเกอร์ สารเคมีแบบนี้จะอยู่ในรูปไมโครไนซ์ ซึ่งมีอนุภาคเป็นผลึกและมีขนาดเล็กมากๆประมาณ 2-4 ไมครอน แต่สารเคมีแบบนี้ย่อมมีน้ำหนักในตัวเอง และสามารถยึดเกาะกับใบของมะนาวได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่มีเกษตรกรหลายท่านยังเข้าใจผิดและใช้สารจับใบเป็นตัวผสมเพื่อจะให้ตัวยายึดเกาะกับใบหรือต้นของมะนาว หากสังเกตดีๆแล้วจะพบว่า เมื่อใช้สารจับใบผสมตัวอยาชนิดผงจะพบว่าใบของมะนาวเปียกทั่วถึงดีมากเนื่องจากสารจับใบจะช่วยลดแรงตึงผิวลง ทำให้สามารถน้ำและสารเคมีจะกระจายตัวไปเปียกบนใบและส่วนต่างของมะนาวอย่างทั่วถึง แต่ตัวสารเคมีชนิดผงนั้นจะเป็นอนุภาคที่มีน้ำหนัก ดังนั้นจึงย่อมหนีไม่พ้นหลักการของแรงโน้มถ่วงคือ เฉพาะตัวสารเคมีร้อยละ 80 จะไหลไปกองรวมอยู่บริเวณส่วนที่ต่ำกว่าเสมอ จึงทำให้ตัวสารเคมีนั้นไม่ยึดเกาะแบบกระจายทั่วถึงแต่จะไปกองรวมกันอยู่ในส่วนที่ต่ำกว่า ลองให้เกษตกรที่ใช้สารเคมีที่เป็นชนิดผงสังเกตดูได้ หากฉีดพ่นโดยไม่ใช้สารจับใบจะพบว่าในส่วนของใบหรือลำต้นของมะนาวนั้นจะมีตัวอยากระจายติดอยู่สม่ำเสมอ สารจับใบจะใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพสูงจะสามารถใช้กับสารเคมีที่เป็นน้ำ เช่นอะบาแม๊กติน เป็นต้น เนื่องจากสารเคมีน้ำจะสามารถทำละลายกับน้ำได้เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อฉีดพ่นแล้วจะเปียกทั่วถึง

ดังนั้นสารจับใบควรเลือกใช้กับสารเคมีในรูปแบบและชนิดที่เหมาะสมเท่านั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุดและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงมา การใช้สารจับใบควรใช้ในบริมาณที่กำหนดตามฉลาก อย่าใช้มากเกินไปเนื่องจากอาจทำให้ใบมะนาวอ่อนๆเกิดอาการแพ้ได้และทำให้ใบใหม้หรือหงิกงอได้

การค้นพบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins)จากดอกไพรีทรัม Chrysanthemum cinerariaefolium ซึ่งประเทศจีนและยุโรปมีการใช้กันมานาน จนกระทั่งปี 2458 ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ผลิตเป็นการค้า หลังจากนั้นปี 2492 ได้ผลิตสารเลียนแบบสูตรโครงสร้างของสารไพรีทรินส์ จึงเรียกว่าไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น อัลเลอร์ทริน ไบโอเรสเมทริน เตตราเมทริน และไบโออัลเลอร์ทริน แต่ยังไม่คงทนในสภาพแวดล้อม ต่อมาสามารถสังเคราะห์ เพอร์เมทรินที่มีความคงทนต่อแสงแดดและมีพิษต่อสัตว์เลือดอุ่นน้อยลง

Read More

ด้วงเต่าแตงแดง (red cucurbit leaf beetle)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulacophora indica (Gmelin)

วงศ์ Chrysomelidae

อันดับ Coleoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

ด้วงเต่าแตงแดงจะพบเป็นปัญหาอยู่เสมอกับแตงที่เริ่มงอกยังมีใบน้อยการทำลายยอดแตงโดยแทะกัดกินใบหากการระบาดรุนแรงอาจทำให้ชะงักการทอดยอดได้ด้วงเต่าแตงแดงพบระบาดในสวนแตงที่มีวัชพืชขึ้นหนาแน่นทั้งนี้เพราะตัวอ่อนอาศัยกัดกินรากพืชจึงมักเป็นปัญหาในแหล่งปลูกแตงใหม่บริเวณรอบๆที่ไม่มีการไถพรวนและปราบวัชพืชเพียงพอพบระบาดแทบทุกฤดูโดยเฉพาะในช่วงที่แตงเริ่มแตกใบจริงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักพบเสมอๆ

Read More

ปัจจุบัน พฤติกรรมในการบริโภคแตงกวาของคนไทย จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ “แตงกวาผลสั้น” ซึ่งจะมีความยาวของผลเฉลี่ยจากหัวถึงท้าย ประมาณ 10-12 เซนติเมตร อีกกลุ่มหนึ่งคือ “แตงกวาผลยาว” จะมีความยาวของผล ตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ขึ้นไป เช่น แตงร้าน เป็นต้น ภาพรวมของสายพันธุ์แตงกวาที่ดี ว่า “มีเนื้อแน่น เมล็ดลีบ รสชาติอร่อย วางขายอยู่ในตลาดได้นานในสภาพอุณหภูมิปกติ เป็นสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรค และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี” งานพัฒนาสายพันธุ์แตงกวาในบ้านเรามีความก้าวหน้าไปมาก และเมล็ดพันธุ์แตงกวาที่วางขายในท้องตลาด ซึ่งเกือบทั้งหมดผลิตโดยภาคเอกชนจะเป็นลูกผสมทั้งหมด ซึ่งจะมีความแน่นอนในเรื่องของผลผลิต ไม่เกิดความแปรปรวนเหมือนกับพันธุ์ผสมเปิด

ปลูกแตงกวาอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

Read More