ด้วงเต่าแตงแดง

ด้วงเต่าแตงแดง (red cucurbit leaf beetle)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aulacophora indica (Gmelin)

วงศ์ Chrysomelidae

อันดับ Coleoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

ด้วงเต่าแตงแดงจะพบเป็นปัญหาอยู่เสมอกับแตงที่เริ่มงอกยังมีใบน้อยการทำลายยอดแตงโดยแทะกัดกินใบหากการระบาดรุนแรงอาจทำให้ชะงักการทอดยอดได้ด้วงเต่าแตงแดงพบระบาดในสวนแตงที่มีวัชพืชขึ้นหนาแน่นทั้งนี้เพราะตัวอ่อนอาศัยกัดกินรากพืชจึงมักเป็นปัญหาในแหล่งปลูกแตงใหม่บริเวณรอบๆที่ไม่มีการไถพรวนและปราบวัชพืชเพียงพอพบระบาดแทบทุกฤดูโดยเฉพาะในช่วงที่แตงเริ่มแตกใบจริงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักพบเสมอๆ

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ด้วงเต่าแตงแดงเป็นแมลงปีกแข็งขนาดลำตัวยาว 0.8 ซม. ปีกคู่แรกแข็งเป็นมันสีแดงแสดลำตัวค่อนข้างยาวเคลื่อนไหวช้าจะพบเสมอเวลากลางวันแดดจ้าตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินลักษณะตัวหนอนสีขาวอาศัยกัดรากพืชในบริเวณที่เป็นอาหารอาจเป็นอันตรายต่อรากแตงในระยะต้นอ่อนด้วยตัวเต็มวัยสามารถมีอายุได้ถึง 100 วันหรือมากกว่าเพศเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเล็กๆในดินใกล้โคนต้นแตงอายุฟักไข่8-15 วันหนอนที่ออกจากไข่ใหม่ๆจะมีสีเหลืองซีดและค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มเมื่อโตเต็มที่ตัวอ่อนกัดกินรากพืชการเจริญเติบโตมี 4 ระยะอายุตัวอ่อน 18-35 วันเมื่อโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ในดินโดยสร้างเกราะป้องกันอายุดักแด้แตกต่างกันไประหว่าง 4-14 วัน

 

พืชอาหาร

พืชตระกูลแตงทุกชนิด

ศัตรูธรรมชาติ

การป้องกันกำจัด

  1. วิธีกลถ้าทำได้โดยการจับทำลายด้วยมือจะช่วยได้มากโดยหมั่นดูสวนแตงในเวลาเช้า แดดยังไม่จัดขณะเดียวกันภายหลังเก็บเกี่ยวผลเสร็จแล้วไม่ควรปล่อยต้นแตงทิ้งไว้ควรถอนทำลายมิฉะนั้นจะกลายเป็นแหล่งสะสมของด้วงเต่าแตงต่อไป
  2. ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดเช่นอิมิดาโคลพริด(คอนฟิดอร์ 100เอสแอล 10% เอสแอล) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตรหรือฟิโปรนิล (แอสเซนด์ 5% เอสซี) อัตรา 20มล./น้ำ 20 ลิตรหรือคาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร
  3. ใช้เชื้อราเมธาไรเซียม ฉีดพ่นเพื่อกำจัดตัวหนอน ทั้งพื้นดินและบนต้นผัก
  4. ใช้เชื้อราพาซิโลมัยซิส ฉีดพ่นเพื่อกำจัดไข่ของผีเสื้อ
  5. ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียกำจัดตัวแมลง